มหาเศรษฐีหลายรายมั่นใจลงทุนคริปโตดีกว่าเงินสด
นักลงทุนที่เคยออกมาต่อต้านคริปโตเริ่มเปลี่ยนใจหันมาถือ Bitcoin และ เหรียญดิจิทัลสกุลอื่นเพิ่มมากขึ้น เนื่องจากพวกเขาเชื่อว่าการลงทุนคริปโตดีกว่าเงินสด
นักลงทุนที่เคยออกมาต่อต้านคริปโตเริ่มเปลี่ยนใจหันมาถือ Bitcoin และ เหรียญดิจิทัลสกุลอื่นเพิ่มมากขึ้น เนื่องจากพวกเขาเชื่อว่าการลงทุนคริปโตดีกว่าเงินสด
หนึ่งในตัวอย่างที่เห็นได้ชัดเจนที่สุดคงจะหนีไม่พ้น Thomas Peterffy มหาเศรษฐีชาวฮังการีได้ออกมากล่าวผ่านสำนักข่าว Bloomberg เมื่อวันเสาร์ที่ 1 มกราคม ระบุว่านักลงทุนควรหันมาถือสินทรัพย์ดิจิทัลไว้ในพอร์ตโฟลิโอของพวกเขาประมาณ 2%-3% เผื่อการลงทุนด้วยเงินสดนั้นเลวร้ายกว่าที่คิด ซึ่งเขาเองก็ได้ถือครองสินทรัพย์ดังกล่าวเอาไว้ในมูลค่ากว่า 2.5 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐเช่นเดียวกัน โดยเขาได้กล่าวเสริมว่าการลงทุนคริปโตดีกว่าเงินสดตรงที่สามารถมอบผลตอบแทนที่น่าทึ่งให้แก่นักลงทุนได้อย่างแน่นอน แม้ว่าในสกุลเงินบางสกุลเงินบางสกุลอาจมีมูลค่าร่วงลงไปถึงระดับต่ำสุดก็ตาม แต่เขาก็ยังคิดว่าสินทรัพย์ประเภทนี้สามารถสร้างเงินล้านดอลลาร์ได้เช่นเดียวกัน
ยิ่งไปกว่านั้น Interactive Brokers Group Inc. บริษัทของ Peterffy ได้ออกมาประกาศว่าทางองค์กรพร้อมให้บริการซื้อขายคริปโตแก่ลูกค้าของเขาเมื่อกลางปี 2020 ตามกระแสความต้องการในตลาดที่เพิ่มขึ้น ปัจจุบันบริษัทได้รองรับ Bitcoin (BTC), Ether (ETH), Litecoin (LTC) และ Bitcoin Cash (BCH) ไปเป็นที่เรียบร้อยแล้ว และ กำลังเตรียมรองรับสกุลเงินอื่น ๆ เพิ่มเติมอีกกว่า 5 – 10 เหรียญภายในเดือนนี้
เศรษฐีชื่อดังต่างเชื่อมั่นว่าการลงทุนคริปโตดีกว่าเงินสด
Ray Dalio ผู้ก่อตั้ง Bridgewater Associates ก็เป็นมหาเศรษฐีชื่อดังอีกรายหนึ่งที่เผยว่าพอร์ตโฟลิโอของเขานั้นได้รวบรวม Bitcoin และ Ether มาตั้งแต่ปี 2021 ซึ่งไม่กี่เดือนก่อนหน้านี้เขาเพิ่งจะออกมาแสดงความกังวลใจถึงคุณสมบัติของคริปโตในฐานะสินทรัพย์ที่สามารถกักเก็บมูลค่าได้ โดยในปัจจุบัน Dalio ได้เปลี่ยนจุดยืน และ เริ่มมองว่าลงทุนคริปโตเป็นอีกหนึ่งทางเลือกในการสร้างรายได้บนโลกที่เงินสดกลายเป็นขยะที่มาพร้อมกับอัตราเงินเฟ้อ ทั้งนี้ในช่วงปลายเดือนธันวาคม เขาได้ออกมาแสดงความคิดเห็นถึงความประทับใจที่คริปโตยังสามารถยืนหยัดได้ในช่วงที่ผ่านมา
“เงินสดที่นักลงทุนส่วนใหญ่คิดว่าเป็นทางเลือกในการลงทุนที่ปลอดภัยที่สุดนั้น ผมกลับคิดว่าเงินสดเป็นการลงทุนที่แย่ที่สุด”
นอกจากนี้ Paul Tudor Jones ผู้จัดการกองทุนทางเลือก Hedge Fund ก็ได้ตัดสินใจซื้อ Bitcoin เมื่อปีที่แล้วเช่นเดียวกัน โดยระบุว่าสาเหตุที่เขาเลือกคริปโตก็เพื่อต้องการป้องกันความเสี่ยงจากเงินเฟ้อนั่นเอง
การระบาดของ COVID -19 กระตุ้นให้เกิดการยอมรับคริปโต
แผนการกระตุ้นเศรษฐกิจจากผลกระทบของการระบาด COVID-19 ก่อให้เกิดความวุ่นวายในระบบเศรษฐกิจทั่วโลก ซึ่งผลกระทบที่ตามมานั้นอาจคงอยู่ไปอีกนานหลายทศวรรษ จะเห็นได้จากประเทศมหาอำนาจอย่างสหรัฐอเมริกาที่มีอัตราเงินเฟ้ออยู่ที่ 6.8% ซึ่งถือว่าเป็นตัวเลขที่สูงที่สุดในรอบ 4 ทศวรรษ ส่งผลให้ดัชนีราคาผู้บริโภค (Consumer Price Index - CPI) พุ่งขึ้นสูงเนื่องจากต้นทุนในการผลิตสินค้ารายวันก็ได้เพิ่มมากขึ้นด้วยเช่นเดียวกัน
เหล่ามหาเศรษฐีต่างก็ได้เห็นสัญญาณอันตรายจากเงินสด และ การเข้าแทรกแซงของธนาคารกลาง จึงทำให้พวกเขาตัดสินใจที่จะเปลี่ยนมาลงทุนในสินทรัพย์คริปโตมากขึ้นเรื่อย ๆ ซึ่งหากแนวโน้มดังกล่าวยังคงดำเนินต่อไป ในปี 2022 นี้เราอาจได้เห็นนักลงทุนที่ร่ำรวยจำนวนมากก้าวเข้ามาลงทุนในอุตสาหกรรมนี้เพิ่มขึ้นก็เป็นได้
ธนาคารกลางหลายประเทศยังคงมองว่าคริปโตนั้นมีความเสี่ยงสูง
แม้ว่าปี 2021 จะเป็นปีที่คริปโตนั้นเติบโต และ ได้รับการยอมรับจากนักลงทุน และ องค์กรจำนวนมากก็ตาม แต่ทว่าหน่วยงานกำกับดูแลด้านการเงินที่แบนคริปโตกลับเพิ่มจำนวนขึ้นเป็น 2 เท่าตัวนับตั้งแต่ปี 2018 เนื่องจากพวกเขายังคงมองว่าราคาของคริปโตนั้นมีความผันผวน และ อาจสร้างความเสี่ยงให้กับผู้บริโภคได้สูง จะเห็นได้จากกรณีตัวอย่างที่ได้รับความสนใจมากที่สุดในปีที่ผ่านมาอย่างประเทศจีนที่ทางรัฐบาลได้ออกมาประกาศแบนสินทรัพย์ดิจิทัลอย่างจริงจังในเดือนกันยายน ปี 2021 ส่งผลให้องค์กร และ ผู้ประกอบกิจการที่เกี่ยวข้องกับสินทรัพย์ประเภทนี้จำเป็นต้องย้ายไปประกอบกิจการในประเทศอื่น
แน่นอนว่าประเทศไทยก็ยังเป็นอีกประเทศหนึ่งที่ทางหน่วยงานรัฐยังไม่ได้ให้การยอมรับในตัวคริปโตมากนัก โดยในปีที่ผ่านมาทางธนาคารกลางได้ออกมาเผยถึงการเตรียมวางแผนออกนโยบายตีกรอบคุมคริปโตอย่างจริงจัง พร้อมทั้งสั่งห้ามไม่ให้ธนาคารพาณิชย์ในประเทศทำการซื้อขาย หรือ มีส่วนเกี่ยวข้องกับคริปโตด้วยเช่นเดียวกัน