สภาเศรษฐกิจโลกหวังปราบคอนเทนต์คุกคามทางเพศบนอินเทอร์เน็ตด้วย Blockchain
ด้วยการที่เนื้อหาอันไม่พึงประสงค์อย่างการคุกคามทางเพศบนอินเทอร์เน็ตนั้นเพิ่มสูงขึ้นจนน่าตกใจและดูท่าทีว่าจะไม่ได้หยุดได้โดยง่าย ทางสภาเศรษฐกิจโลกจึงหวังใช้เทคโนโลยีสุดล้ำอย่าง Blockchain กำราบคอนเทนต์เหล่านี้
ด้วยการที่เนื้อหาอันไม่พึงประสงค์อย่างการคุกคามทางเพศบนอินเทอร์เน็ตนั้นเพิ่มสูงขึ้นจนน่าตกใจและดูท่าทีว่าจะไม่ได้หยุดได้โดยง่าย ทางสภาเศรษฐกิจโลกจึงหวังใช้เทคโนโลยีสุดล้ำอย่าง Blockchain กำราบคอนเทนต์เหล่านี้
สภาเศรษฐกิจโลก หรือ The World Economic Forum (WEF) เล็งเห็นว่าเทคโนโลยี Blockchain จะเป็นจุดเปลี่ยนในการเข้าจัดการกับปัญหาคอนเทนต์ผิดกฎหมายบนอินเทอร์เน็ตที่มีความเกี่ยวข้องกับการคุกคามทางรูปภาพ หรือการละเมิดสิทธิโดยการนำรูปผู้อื่นมาเผยแพร่โดยไม่ได้รับอนุญาต (Abusive Imagery) ร่วมกับปัญหาที่เกิดขึ้นในสังคมออนไลน์ เช่น การแสวงหาประโยชน์ทางเพศ (Sexual Exploitation) และความรุนแรงในรูปแบบต่าง ๆ
สถิติที่น่ากังวล
ตามข้อมูลการวิจัยโดยศูนย์เพื่อเด็กหายและถูกฉวยผลประโยชน์แห่งชาติ (the National Center for Missing and Exploited Children) ระบุว่าอัตราการเติบโตของภาพการล่วงละเมิดทางเพศเด็กบนอินเทอร์เน็ตนั้นเป็นที่น่าตกใจ โดยมีจำนวนเด็กที่ถูกล่วงละเมิดเพิ่มขึ้นอย่างมากจากจำนวน 3,000 รายในปี 1998 เป็น 18.4 ล้านรายในปี 2018
ถึงเวลาที่ฮีโร่อย่างเทคโนโลยี Blockchain ต้องออกโรง
เหยื่อที่ถูกคุกคามด้วยการนำรูปภาพของพวกเขามาเผยแพร่โดยไม่ได้รับความยินยอมมักมีจุดจบที่ไม่ดีเท่าไหร่นัก เนื่องจากผู้เคราะห์ร้ายหลายรายมักถูกแบล็กเมล์โดยคนร้ายเพื่อเป็นการปิดปากของพวกเขา ซึ่งการจัดการเกี่ยวกับรูปภาพ และวิดีโอที่ถูกจัดเก็บอยู่บนเครือข่าย Social Media หรือแม้แต่แพลตฟอร์มจัดเก็บข้อมูลบน Cloud นั้นยังไม่มีประสิทธิภาพมากพอในการแก้ไขปัญหาดังกล่าว ด้วยสาเหตุที่เครือข่ายเหล่านี้ต้องเคารพความเป็นส่วนตัวของผู้ใช้งานทุกคน
อย่างไรก็ตามหนทางที่จะแก้ไขปัญหาการคุกคามเหล่านี้นั้นยังไม่หมดไป เนื่องจากมีผู้พัฒนาหัวใสจากมหาวิทยาลัย Dartmouth College นำ Blockchain มาผสานพลังกับเทคโนโลยีอีกแขนงหนึ่งที่เรียกว่า PhotoDNA เพื่อช่วยให้เครือข่าย Social Media และแพลตฟอร์มจัดเก็บข้อมูลบน Cloud สามารถลบรูปภาพที่ไม่เหมาะสม และผิดกฎหมายทั้งหมดออกไปจากฐานข้อมูลได้
PhotoDNA คือแนวคิดในการสร้างลายนิ้วมือดิจิทัลที่เป็นเอกลักษณ์ให้กับวิดีโอ หรือรูปภาพดิจิทัล และลายนิ้วมือดังกล่าวจะไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้ แม้ว่าจะถูกปรับแต่ง, ปรับขนาด หรือตัดแต่งรูปภาพมาก็ตาม นอกเหนือจากการนำกระบวนการวิศวกรรมย้อนกลับ (Reverse Engineering) ซึ่งเป็นกระบวนการค้นหาโครงสร้างการทำงานของอุปกรณ์เดิมเพื่อนำมาสร้างโปรแกรมใหม่ที่ทำงานได้เหมือนเดิม
แต่ทว่าการสร้างลายนิ้วมือดิจิทัลกับรูปภาพผ่าน PhotoDNA นั้นยังไม่สามารถทำได้จริงในตอนนี้ ดังนั้นจึงเป็นหน้าที่ของเทคโนโลยี Blockchain ที่ถูกนำมาใช้เพื่อนำเสนอพื้นที่จัดเก็บข้อมูลโดยไม่สามารถแก้ไขเปลี่ยนแปลงข้อมูลดังกล่าวได้
การนำเทคโนโลยี Blockchain มาใช้ถือว่าเป็นจุดเปลี่ยนในการแก้ไขปัญหาทั้งหมด เนื่องจากแนวทางดังกล่าวจะช่วยกำจัดภาพที่จะนำไปใช้เพื่อแสวงหาประโยชน์ทางเพศ ซึ่งลายนิ้วมือดิจิทัลเหล่านี้จะสามารถเข้าควบคุมการเผยแพร่รูปภาพที่ไม่เหมาะสม จากนั้นรูปภาพดังกล่าวจะถูกกำจัดไปอย่างลับ ๆ โดยแทบไม่มีใครรู้ตัวเลยทีเดียว
ฐานข้อมูลที่ทำงานร่วมกันทั่วโลก
สภาเศรษฐกิจโลก ยอมรับว่าการที่โครงการดังกล่าจะสำเร็จได้ ทางหน่วยงานด้านกฎหมายต้องได้ใช้ฐานข้อมูลของรูปภาพที่จะถูกนำไปใช้ในการแสวงหาประโยชน์ทางเพศร่วมกับลายนิ้วมือดิจิทัลขององค์กร ซึ่งสาเหตุที่ทำให้ปัญหาดังกล่าวเกิดขึ้นเป็นเพราะทางองค์กรไม่ได้เผยแพร่ข้อมูลต่าง ๆ ให้กับผู้อื่นได้รับรู้เนื่องจากต้องเคารพความเป็นส่วนตัวของผู้ใช้งานทุกคนนั่นเอง
แต่ปัญหาเหล่านี้จะหมดไป เพราะเทคโนโลยี Blockchain ได้พัฒนาให้ฐานข้อมูลต่าง ๆ สามารถทำงานร่วมกันได้ทั่วโลก โดยไม่มีผู้ใดเป็นเจ้าของ และทุกคนสามารถเข้าถึงได้เพื่อขจัดรูปภาพที่ไม่เหมาะสมโดยไม่ต้องคำนึงถึงเขตอำนาจการปกครองของแต่ละประเทศ โดยทางด้านหน่วยงานที่เกี่ยวข้องสามารถใช้เทคโนโลยีทั้งสองเพื่อแบ่งปันลายนิ้วมือที่ถูกรวบรวมไว้ให้กับหน่วยงานอื่น ๆ เพื่อเป็นส่วนหนึ่งในการช่วยกันแก้ไขปัญหาทั่วโลก
สภาเศรษฐกิจโลกยอมรับว่า
“การนำเทคโนโลยี Blockchain มาใช้ช่วยให้ฐานข้อมูลมีความปลอดภัยที่สูงยิ่งขึ้นไปโดยปริยาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกรณีของเรา และนั่นจะไม่มีแรงจูงใจใด ๆ ให้เหล่าแฮกเกอร์โจมตีรูปภาพไม่เหมาะสมเหล่านั้นอีกแล้ว เพราะว่าฐานข้อมูลของเราจะไม่จัดเก็บภาพเหล่านั้นไว้ จะมีเพียงแค่ลายนิ้วมือของรูปภาพเท่านั้น”
ทาง WEF ถือว่า Blockchain และ PhotoDNA เป็นการเริ่มต้นใหม่ที่จำเป็นต้องทำในการแก้ไขปัญหาเหล่านี้ โดยล่าสุดองค์กรได้เปิดตัวมาตรฐาน Blockchain ฉบับแรกของโลกที่เรียกว่า Global Standards Mapping Initiative (GSMI) โดยมีจุดประสงค์เพื่อเป็นทรัพยากรในการผลักดันอุตสาหกรรม Blockchain ให้ก้าวไปข้างหน้าอย่างก้าวกระโดด