Blockchain

Ethereum มีการทำธุรกรรมมูลค่ามากถึง 6.2 ล้านล้านดอลลาร์ในช่วง 12 เดือนที่ผ่านมา

Ethereum.jpg

Ethereum ยังคงมีความแข็งแกร่งในช่วง 12 เดือนที่ผ่านมา แม้ว่าจะเจอกับข้อจำกัดจากการอัปเกรดลอนดอน และศึกสัญญาอัจฉริยะ (smart contract) จากคู่แข่งมากมายก็ตาม

สกุลเงินดิจิทัลที่มีขนาดใหญ่ที่สุดอันดับสองของโลกอย่าง Ethereum (ETH) ยังคงมีความแข็งแกร่งในช่วง 12 เดือนที่ผ่านมา แม้ว่าจะเจอกับข้อจำกัดจากการอัปเกรดลอนดอน และศึกสัญญาอัจฉริยะ (smart contract) จากคู่แข่งมากมายก็ตาม

ข้อมูลจาก Messari แสดงให้เห็นว่า Ethereum มีการทำธุรกรรมมากถึง 6.2 ล้านล้านดอลลาห์ในช่วง 12 เดือนที่ผ่านมา ซึ่งเพิ่มขึ้นจากปีที่แล้วถึง 350 เปอร์เซ็นต์เลยทีเดียว

https://twitter.com/RyanWatkins_/status/1445020156984537092?s=20

แม้ว่าเดือนกันยายนที่ผ่านมาจะเป็นเดือนที่ยากลำบากของ Ethereum ราคา ETH ได้ร่วงลงมากเกือบ 27% ตั้งแต่ช่วงต้นเดือนจนถึงปลายเดือนและเจอกับแนวรับที่ 2,750 ดอลลาห์ อย่างไรก็ตามการดิ่งลงของราคาที่เกิดขึ้นได้กลายเป็นโอกาสซื้อเมื่อราคาย่อตัว (dip-buying) ของนักลงทุนจำนวนมาก ในที่สุดราคา ETH ก็สามารถปรับตัวขึ้นมาได้ในเดือนตุลาคม โดยขณะที่เขียน ETH/USDT มีการซื้อขายอยู่ที่ 3,402 ดอลลาห์ต่อเหรียญ

สกุลเงินดิจิทัลอันดับสองยังเจอกับปัญหาบางอย่างจากการอัปเกรดลอนดอนอีกด้วย การอัปเกรดดังกล่าวซึ่งเริ่มใช้จริงในวันที่ 5 สิงหาคม ควรจะช่วยในเรื่องค่าธรรมเนียมการทำธุรกรรม แต่ค่าธรรมเนียมที่เพิ่มขึ้นในเดือนกันยายนแสดงให้เห็นว่าการอัปเกรดยังคงไม่เป็นไปตามวัตถุประสงค์

นอกจากนี้ เมื่อเดือนที่แล้ว Cardano ได้เปิดตัว Alonzo ซึ่งมีการนำฟังก์ชันสัญญาอัจฉริยะ (smart contract) มาสู่ห่วงโซ่ แม้ว่าจะยังเพิ่งเริ่มต้นในแง่ของการสร้างระบบนิเวศ แต่ก็ทำให้เกิดความกลัวว่าสิ่งนี้อาจส่งผลต่อ Ethereum มากขึ้นเรื่อย ๆ ในอนาคต

Screenshot 2021 10 06 at 12.45.46 1024x461.png

สิ่งที่ได้รับการจับตามองในเดือนนี้ก็คือ การอัปเกรด Altair ซึ่งถือว่าเป็นการอัปเกรดครั้งแรกที่ดำเนินการบน Beacon Chain และจะมีขึ้นในวันที่ 27 ตุลาคมนี้ เวลา 10:56:23 น. UTC

การอัปเกรดนี้จะช่วย Ethereum ในการเปลี่ยนผ่านจากระบบ Proof of Work (PoW) ไปเป็น Proof of Stake (PoS) นั่นเอง โดยคาดว่าการอัปเกรดขั้นสุดท้ายจะเสร็จสมบูรณ์ในปี 2022

ข้อเสียของ Ethereum คือเรื่อง Scalability หรือปัญหาเรื่องความแออัดจากการที่จำนวนธุรกรรมในเครือข่ายเพิ่มสูงขึ้นนั่นเอง นอกจากนี้ความนิยมที่เพิ่มขึ้นของ DeFi ทำให้ค่าธรรมเนียมการทำธุรกรรมหรือที่เรียกว่าค่าแก๊ส เพิ่มสูงขึ้นตามความต้องการของเครือข่ายอีกด้วย ด้วยเหตุนี้ ETH 2.0 จึงอาจเข้ามาแก้ไขจุดอ่อนดังกล่าวได้

ต้องจับตาดูกันต่อไปว่า Ethereum จะสามารถแก้ไขปัญหาเหล่านี้ได้หรือไม่ ไม่เช่นนั้นคู่แข่ง smart contract หลายรายที่ขึ้นชื่อว่าเป็นนักฆ่า Ethereum อย่าง Cardano, Solona, Polkadot อาจเข้ามาแย่งส่วนแบ่งการตลาดไปได้ในอนาคต

ติดตาม CryptoSiam
เพื่อให้ไม่พลาด ทุกข่าวสาร วงการคริปโต
ข่าวต่อไป

บทความที่เกี่ยวข้อง

คาดการณ์ราคา Bitcoin หลังช่วง Halving! พร้อมเผยเป้าหมาย ที่เหรียญอาจทำราคาพุ่งไปถึง
98% ของธนาคารกลางทั่วโลก กำลังเตรียมใช้ CBDC
วาฬในเครือข่าย Solana ใช้เงินกว่า 4.9 ล้านดอลลาร์ ในการเข้าซื้อเหรียญมีม PUPS
Coinbase ประกาศลิสต์ 1 เหรียญ Altcoin จากโครงการ AI เข้ากระดานเทรด