General

รับมือพายุตัวร้ายและลดความเสียหายด้วย Big Data

Photo 1581059729226 C493d3086748.jpg

การผสานฐานข้อมูลขนาดใหญ่เข้ากับอังกอริธึมทำให้เราสามารถพยากรณ์รูปแบบของเหล่าพายุที่อันตรายได้ไม่ยาก และมีแนวทางในการรับการเยียวยาอย่างทันท่วงที

เป็นที่รู้กันดีว่าในแต่ละปีผู้คนชาวอเมริกันนั้นประสบพบเจอกับพายุที่มีความรุนแรงระดับ 5 อย่างเฮอร์ริเคนอยู่เป็นจำนวนมาก ซึ่งปัญหาที่มักจะตามมาหลังจากภัยพิบัติเหล่านี้ผ่านพ้นไปคือความเสียหายต่อทรัพย์สิน ซ้ำร้ายไปกว่านั้น เหล่าบริษัทประกันหัวหมอยังหาทางหลีกเลี่ยงการชดเชยค่าเสียหายที่เกิดขึ้นจากเหตุการณ์ดังกล่าวด้วยการเบี่ยงประเด็นว่าต้นเหตุของเจ้าพายุร้ายเหล่านี้ถือเป็นความเสียหายอันเกิดจากลมหรือความเสียหายอันเกิดจากน้ำกันแน่

จากปัญหาและอุปสรรคดังกล่าวจึงเป็นสาเหตุที่ WorldWinds Inc. ทำการสร้าง “Storm Profile” หรือข้อมูลด้านพายุขึ้นมา โดยผนวกโมเดลสนามลม (โมเดลแสดงทิศทางและความเร็วของลม) และข้อมูลด้านภูมิประเทศเข้าด้วยกันเพื่อทำการวิเคราะห์ถึงสาเหตุที่แท้จริงในการเกิดภัยพิบัติระดับ 5 เหล่านี้ ซึ่งได้รับการช่วยเหลืออย่างดีจากองค์กรชั้นนำด้านเทคโนโลยีอย่าง NASA

ทำไม? NASA ถึงมีบทบาทอย่างมากในเทคโนโลยีชนิดนี้

การพยากรณ์การเคลื่อนไหวของพายุล่วงหน้าผ่านการพัฒนาโมเดลสนามลมและข้อมูลภูมิประเทศของ WorldWinds นั้นจำเป็นต้องสร้างอัลกอริทึมที่มีแหล่งข้อมูลของลมที่น่าเชื่อถือ ทั้งจากการถ่ายภาพดาวเทียมภาคพื้นดินและเครื่องตรวจจับความเปลี่ยนแปลงบนพื้วผิวโลกชนิดอื่นๆซึ่ง NASA มีสิ่งเหล่านี้อยู่ล้นมือ

Quick Scatterometer 1024x712.jpg
ภาพจำลองดาวเทียม Quick Scatterometer

หนึ่งในตัวการสำคัญของการได้มาซึ่งชุดข้อมูลลอันล้ำค่านี้คือ ดาวเทียม Quick Scatterometer (QuikSCAT) ที่ถูกเปิดตัวโดย NASA ตั้งแต่ปี 1999 โดยเป็นดาวเทียมที่ทำเพื่อจัดเก็บข้อมูลเกี่ยวกับพายุโดยเฉพาะด้วยการใช้คลื่นเรดาร์กระทบกับพื้นผิวของมหาสมุทรก่อนจะย้อนกลับไปยังเสาอากาศ

จากข้อมูลเหล่านี้ช่วยให้เหล่านักวิทยาศาสตร์สามารถคำนวณความเร็วและทิศทางของลมที่หมุนวนอยู่เหนือมหาสมุทรของโลกได้ นอกจากนี้ยังสามารถทำการวัดค่าต่างๆได้อย่างต่อเนื่องโดยไม่ต้องคำนึงถึงสภาพอากาศ

ข้อมูลที่ชัดเจนทำให้บริษัทประกันต้องยอมแพ้

Hurricane Katrina 794x1024.jpg
ภาพถ่ายดาวเทียมพายุเฮอริเคนแคทรีนาโดย NASA

การรวบรวมข้อมูลด้านพายุโดยบริษัท WorldWinds หรือที่ถูกตั้งชื่อว่า “Wind vs. Water” เป็นบริการที่มอบให้แก่เจ้าของบ้านที่อาศัยอยู่ตามอ่าว โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใดๆซึ่งผู้คนเหล่านั้นเป็นผู้ได้รับความเสียหายจากเหตุการณ์พายุเฮอริเคนแคทรีนาในปี 2005 รวมไปถึงพายุขนาดใหญ่ลูกอื่นๆ ซึ่ง Elizabeth Valenti ผู้ก่อตั้งและเจ้าของบริษัทกล่าวว่าการให้บริการเหล่านี้ได้รับการยอมรับ 100 เปอร์เซ็นต์โดยบริษัทประกันภัยในการชำระค่าสินไหมทดแทนของเจ้าของบ้าน

Elizabeth Valenti.jpg
Elizabeth Valenti (ขวา) ผู้ก่อตั้ง และเจ้าของ WorldWinds Inc.

“ในพายุที่แท้จริง ลมจะแปรเปลี่ยนไปตามสถานที่ตั้งภายในพายุนั้น” Valenti อธิบาย “การอาศัยอยู่ท่ามกลางพายุหลายลูกบนอ่าวทำให้พวกเรารู้ว่าจุดที่แข็งแกร่งที่สุดของพายุคือจุดศูนย์กลางของมันที่เรียกว่า The eye และบริเวณทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งโดยปกติจะมีลมแรงมากกว่าส่วนอื่นจึงจำเป็นต้องใส่ใจรายละเอียดเล็กๆเหล่านั้นด้วย”

พัฒนาอย่างต่อเนื่องเพื่อผลลัพธ์ที่ดีที่สุด

WorldWinds ได้ตระหนักรู้ว่าภูมิประเทศเองก็ส่งผลกระทบต่อการเกิดคลื่นพายุเช่นกัน จึงศึกษาเพิ่มเติมด้วยรูปตัดแผนภาพภูมิประเทศของโลก ซึ่งช่วยพัฒนาการรวบรวมข้อมูลของลมและน้ำ ทำให้ WorldWinds สามารถคำนวณข้อมูลได้ซับซ้อนมากยิ่งขึ้น

และจากการประสบความสำเร็จในการทดสอบอังกอริธึมดังกล่าว ทำให้บริษัท WorldWinds ได้ประกาศผลิตภัณฑ์ใหม่ที่เรียกว่า StormWinds ซึ่งสามาติดตามพายุได้ล่วงหน้าก่อนที่ขึ้นฝั่ง เพื่อทำการพยากรณ์และหาสาเหตุหลังจากพายุสงบลงเพื่อระบุความเสียหายว่าเกิดจากลมหรือน้ำกันแน่ ซึ่งตัวโปรแกรมสามารถสร้างภาพจำลองของคลื่นพายุที่แม่นยำมากเสียจนบริษัทประกันภัยไม่กล้าที่จะท้าทายข้อมูลของพวกเขาและนอกจากประโยชน์ด้านการระบุสาเหตุแล้ว ชุดข้อมูลเหล่านี้ยังสามารถใช้เพื่อช่วยในการวางแผนรับมือกับภัยพิบัติได้อีกด้วย ซึ่งช่วยเหลือผู้คนมาแล้วนับไม่ถ้วน

ติดตาม CryptoSiam
เพื่อให้ไม่พลาด ทุกข่าวสาร วงการคริปโต
แท็ก:
ข่าวต่อไป

บทความที่เกี่ยวข้อง

รายงาน ก.ล.ต. สรุปภาพรวมบัญชีซื้อขายที่ Active ในช่วงต้นเดือน 'เมษายน' ปี 2567
พบผู้ถือ Memecoin เกินกว่าครึ่ง ไม่ได้รับผลกระทบ จากการปรับตัวของตลาด
ซีอีโอ Crypto.com ชี้! Bitcoin กำลังอยู่ในจุดเริ่มต้น ของการเข้าสู่ช่วงขาขึ้น
 วาฬหน้าใหม่ ครอบครอง Bitcoin รวมกันไปแล้วถึง 1.8 ล้าน BTC