ตองกา ประเทศต่อไปที่จะประกาศให้บิทคอยน์เป็นสกุลเงินที่ถูกกฎหมายภายในเดือน พ.ย.นี้
ท่ามกลางความนิยมของสกุลเงินดิจิทัลที่แพร่หลายมากขึ้น ตอนนี้หลายประเทศกำลังพิจารณาให้บิทคอยน์เป็นสกุลเงินที่ถูกต้องตามกฎหมาย และตองกาอาจเป็นประเทศต่อไป
ท่ามกลางความนิยมของสกุลเงินดิจิทัลที่แพร่หลายมากขึ้น ตอนนี้หลายประเทศกำลังพิจารณาให้บิทคอยน์เป็นสกุลเงินที่ถูกต้องตามกฎหมาย และตองกาอาจเป็นประเทศต่อไป
ท่ามกลางความนิยมของสกุลเงินดิจิทัลที่แพร่หลายมากขึ้น ตอนนี้หลายประเทศกำลังพิจารณาให้บิทคอยน์เป็นสกุลเงินที่ถูกต้องตามกฎหมาย และตองกาอาจเป็นประเทศต่อไป
Lord Fusitu'a อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแห่งตองกาเปิดเผยว่า ร่างกฎหมายสำหรับบิทคอยน์ของประเทศนั้นได้ถูกสร้างขึ้นแล้ว" และมีความคล้ายคลึงกับประเทศเอลซัลวาดอร์
ตองกากำลังจะประกาศให้บิทคอยน์ถูกกฎหมาย
จากทวีตล่าสุด Lord Fusitu'a พูดเป็นนัยถึงการประกาศให้ Bitcoin เป็นเครื่องมือการชำระเงินที่ถูกต้องตามกฎหมายในประเทศ อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรกล่าวว่า ประเทศอาจใช้สกุลเงินดิจิทัลได้ภายในเดือนพฤศจิกายนปีนี้ โดยร่างกฎหมายดังกล่าวจะถูกส่งไปยังสภาภายในเดือนกันยายนถึงตุลาคม
มีรายงานว่า Lord Fusitu'a กำลังทำงานร่วมกับ Jack Mallers ซีอีโอของบริษัท Strike และสถาปนิกของโปรเจ็ค Bitcoin ของเอลซัลวาดอร์ เพื่อนำกรอบกฎหมาย BTC มาสู่ตองกา
เขาเป็นแกนนำคนสำคัญในอุตสาหกรรมนี้ และได้ยืนยันครั้งแล้วครั้งเล่าว่าประเทศสามารถได้เปรียบทางการแข่งขันและร่ำรวยได้มากขึ้น หากยอมรับสกุลเงินดิจิทัล ความสนใจของเขาอยู่ที่ข้อได้เปรียบในการโอนเงินของ BTC เสนอ ซึ่งอาจเป็นประโยชน์ต่อประชาชน เกี่ยวกับการออมเงินในระยะยาว
อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรได้เผยว่า
“ระบบเศรษฐกิจหมุนเวียนที่ใช้บิทคอยน์นี้ จะมีการชำระเงินในทุกขั้นตอนของห่วงโซ่อุปทาน นับตั้งแต่การจ่ายเงินสำหรับรากมันสำปะหลังและวัวควายเป็น BTC จากซัพพลายเออร์ทางการเกษตรไปจนถึงพนักงานเสิร์ฟที่เสิร์ฟสเต็กให้คุณที่ และทุกขั้นตอนเป็น BTC”
เมื่อปีที่แล้ว Nayib Bukele ประธานาธิบดีแห่งประเทศเอลซัลกวาดอร์ได้สร้างประวัติศาสตร์ โดยการผลักดันให้ Bitcoin เป็นเงินที่ถูกกฎหมายประเทศแรกของโลก อย่างไรก็ตาม การกระทำของเขาถูกผู้เชี่ยวชาญบางคนเตือน ซึ่งเชื่อว่าเขาอาจต้องเสียค่าใช้จ่ายในประเทศ 10 ล้านดอลลาร์ ท่ามกลางการร่วงลงอย่างหนักของตลาดคริปโต
นอกจากนี้ผู้นำโลกหลายคน รวมถึงกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) ก็แสดงความกังวลต่อประเทศต่างๆ ที่อาจทำตามเอลซัลวาดอร์ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นประเทศกำลังพัฒนา และกำลังเผชิญกับแรงกดดันด้านเงินเฟ้อ เช่น ตองกา เป็นต้น