🇹🇭 ข่าวในประเทศ

รมว.ดิจิทัล แถลงการณ์! เปิดนโยบาย เพื่อยกระดับประเทศไทย ไปสู่สังคมดิจิทัล

รมว.ดิจิทัล แถลงนโยบาย เพื่อพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัลในประเทศไทย

รมว.ดิจิทัล แถลงนโยบาย เพื่อพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัลในประเทศไทย - ยืนยันใช้เทคโนโลยี 'บล็อกเชน' สำหรับแจกเงินดิจิทัลแน่นอน

เมื่อวันที่ 12 กันยายน 2566 ระหว่างการแถลงนโยบายต่อรัฐสภา 'นายประเสริฐ จันทรรวงทอง' รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัล หรือ ดีอีเอส ได้กล่าวถึงความจำเป็นในการพัฒนาเทคโนโลยีโครงสร้างพื้นฐานทางดิจิทัล ไม่ว่าจะเป็น Digital Wallet, National Blockchian และ Digital Government เพื่อปรับปรุงระบบและบริการสาธารณะให้ดียิ่งขึ้น

นาย ประเสริฐ จันทรรวงทอง<br>รูปภาพ: พรรคเพื่อไทย
นาย ประเสริฐ จันทรรวงทอง
รูปภาพ: พรรคเพื่อไทย

ทั้งนี้ ในแถลงการณ์ นายประเสริฐ จันทรรวงทอง ได้กล่าวถึงอีกหลายโครงการที่ดีอีเอสจะพยายามผลักดันให้เกิดขึ้น ได้แก่

1. Go Cloud First

Go Cloud First เป็นเรื่องแรกที่อยู่ในแผนดำเนินการ การวางกรอบขยายคลาวด์ก็เป็นส่วนหนึ่งของแผนพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานให้ทั้งกับภาครัฐและเอกชน โดยเน้นการสร้าง Public Cloud และ Private Cloud ที่มีมาตรฐานในการดูแลข้อมูลภาครัฐ นอกจากนี้ จะมีการดึงบริษัทชั้นนำทั่วโลก ให้เข้ามาลงทุนในด้าน Cloud Data Center ในประเทศไทยอีกด้วย

2. Digital ID

ในส่วนของ Digital ID ปัจจุบันกฎหมายในประเทศไทยได้มีมาตรฐานรองรับเอาไว้แล้ว พร้อมบริการทั้ง ThaiID และ NDID(National Digital ID) สำหรับยืนยันตัวตนเวลาทำธุรกรรมออนไลน์ ซึ่ง ณ ปัจจุบันมีผู้ใช้งานแล้วกว่า 10 ล้านคน และกำลังอยู่ในระหว่างการขยายและเพิ่มผู้ใช้งานให้มากขึ้น 

3. Smart City

ในแถลงการณ์ ได้กล่าวถึงแผนการพัฒนา Smart City โดยการใช้ Big Data เพื่อพัฒนาเมืองอัจฉริยะ โดยการรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลเมืองผ่านแพลตฟอร์มข้อมูลเมือง (City Data Platform : CDP)

4. สุขภาพดิจิทัล

นายประเสริฐยังได้กล่าวถึง โครงการ Health Link โดยความร่วมมือระหว่างดีอีเอสกับกระทรวงสาธารณสุข ในการเชื่อมโยงประวัติการรักษาของประชาชนเพื่อให้บริการสาธารณสุขทั่วประเทศ ด้วยบัตรปะรชาชนเพียงใบเดียว

5.การท่องเที่ยวดิจิทัล

ในด้านการท่องเที่ยว ทางดีอีเอสได้กล่าวถึงโครงการ Travel Link ที่จะดำเนินการร่วมกับกับกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ในการพัฒนาแพลตฟอร์มเชื่อมโยงข้อมูลท่องเที่ยวระหว่างภาครัฐและเอกชน เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจท่องเที่ยวที่เป็นแหล่งรายได้สำคัญของประเทศ

6. IoT (Internet of Things)

ในส่วนของ IoT ทางดีอีเอสจะทำงานระหว่างภาครัฐกับภาคเอกชน ร่วมกับบริษัท startup เพื่อพัฒนามาตรฐานของอุปกรณ์ต่างๆ เพื่อนำไปต่อยอด และปรับใช้ในโครงการต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการนำเทคโนโลยีดังกล่าวมาใช้ในโครงการ Smart City หรือเพื่อพัฒนาในด้านเกษตรกร อีกทั้งอาจนำไปช่วยแก้ไขปัญหาในการกำจัดขยะได้อีกด้วย

7. Blockchain

อย่างที่ทราบกันดีว่า นโยบายแจกเงิน 10,000 บาท ดิจิทัล เป็นประเด็นที่พูดถึงกันอย่างแพร่หลายในช่วงที่ผ่านมา โดยทางดีอีเอส ก็ยังยืนยันว่าจะมีการใ้ช้เทคโนโลยี บล็อกเชน ในการสร้างระบบการโอนเงินแบบใหม่อย่างแน่นอน อีกทั้งรัฐบาลยังจะนำเอาเทคโนโลยีดังกล่าวเข้ามาช่วงสร้างความโปร่งใสในการตรวจสอบภาครัฐได้หลายอย่าง และเพื่อขับเคลื่อนไปสู่การเป็ฯ Digital Government ต่อไป

ที่มา:  สำนักข่าว ฐานเศรษฐกิจ 

ติดตาม CryptoSiam
เพื่อให้ไม่พลาด ทุกข่าวสาร วงการคริปโต

ข้อจำกัดความรับผิดชอบ: การลงทุนมีความเสี่ยงสูง ดังนั้น ผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูลอย่างละเอียดก่อนการลงทุนทุกครั้ง

ข้อมูลในบทความนี้มีจุดประสงค์ในการให้ข้อมูลเท่านั้น Cryptosiam ไม่รับประกันความสมบูรณ์ ความถูกต้อง หรือความน่าเชื่อถือของข้อมูลดังกล่าว และไม่มีสิ่งใดในบทความนี้ที่ควรใช้เป็นคำแนะนำหรือชักชวน ให้ซื้อหรือขายคริปโต รวมทั้งการประเมินใดๆ ไม่มีข้อความใดในบทความที่ถือเป็นคำแนะนำทางกฎหมาย วิชาชีพ การลงทุน และ/หรือทางการเงิน และ/หรือคำนึงถึงความต้องการเฉพาะ และ/หรือข้อกำหนดของแต่ละบุคคล

Cryptosiam และบริษัทในเครือ ขอปฏิเสธความรับผิด หรือความรับผิดชอบทั้งหมดเกี่ยวกับเนื้อหาของบทความ และการดำเนินการใดๆ กับข้อมูลในบทความนั้น เป็นความเสี่ยงของผู้อ่าน และถือเป็นความเสี่ยงแต่เพียงผู้เดียว

แท็ก:
ข่าวต่อไป

บทความที่เกี่ยวข้อง