ครม. มีมติ! อนุมัติมาตรการยกเว้นภาษีซ้ำซ้อน - เพื่อส่งเสริมโทเค็นดิจิทัล
ข่าวดี! ครม. มีมติอนุมัติมาตรการยกเว้นภาษีซ้ำซ้อน จากการลงทุนใน 'Investment Token' - เพื่อเพิ่มการระดมทุนภายในประเทศ
ข่าวดี! ครม. มีมติอนุมัติมาตรการยกเว้นภาษีซ้ำซ้อน จากการลงทุนใน 'Investment Token' - เพื่อเพิ่มการระดมทุนภายในประเทศ
ในวันที่ 12 มีนาคม ที่ผ่านมา ทางคณะรัฐมนตรีได้มีมติอนุมัติร่างพระราชกฤษฎีกา โทเคนดิจิทัล โดยกำหนดให้บุคคลที่ได้รับเงินได้ หุ้นส่วน กำไร หรือประโยชน์อื่นใด อันได้มาจากการถือหรือครอบครองโทเค็นดิจิทัลเพื่อการลงทุน (Investment Token) และถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย 15% อยู่แล้ว สำหรับเงินส่วนแบ่งของกำไรหรือผลประโยชน์อื่นใดที่ได้รับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2567 เป็นต้นไป จะไม่ต้องนำส่วนแบ่งกำไรหรือผลประโยชน์อื่นมาคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาอีก
ส่งเสริมโทเค็นดิจิทัล และการระดมทุนในประเทศ!
‘คารม พลพรกลาง’ รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่ามติดังกล่าวมีวัตถุประสงค์ในการส่งเสริมการระดมทุนผ่านโทเค็นการลงทุน, พัฒนาตลาดทุนดิจิทัล และดึงดูดนักลงทุน เพื่อให้สอดคล้องกับนโยบายส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล
ทั้งนี้ถึงแม้มาตรการดังกล่าว อาจส่งผลให้รัฐบาลสูญเสียรายได้ไปประมาณ 50 ล้านบาท แต่หากมองในระยะยาวจะพบถึงประโยชน์อีกมากจากการจ้างงานและการลงทุน พร้อมกับช่วยเพิ่มขีดความสามารถของประเทศไทยในการระดมทุน
โดย กุลยา ตันติเตมิท อธิบดีกรมสรรพากร ยังได้หยิบยกการคาดการณ์ของทางสำนักงาน ก.ล.ต. ที่คาดว่าในปีนี้ (2567) ประเทศไทยจะมีการระดมทุนผ่านโทเคนดิจิทัลเพื่อการลงทุน หรือ Investment Token มากถึง 18,500 ล้านบาท ซึ่งจะเป็นเงินที่ถูกลงทุนอยู่ในเศรษฐกิจของประเทศไทยต่อไป
ที่มา: Bangkokpost, Thaigov
ข้อจำกัดความรับผิดชอบ: การลงทุนมีความเสี่ยงสูง ดังนั้น ผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูลอย่างละเอียดก่อนการลงทุนทุกครั้ง
ข้อมูลในบทความนี้มีจุดประสงค์ในการให้ข้อมูลเท่านั้น Cryptosiam ไม่รับประกันความสมบูรณ์ ความถูกต้อง หรือความน่าเชื่อถือของข้อมูลดังกล่าว และไม่มีสิ่งใดในบทความนี้ที่ควรใช้เป็นคำแนะนำหรือชักชวน ให้ซื้อหรือขายคริปโต รวมทั้งการประเมินใดๆ ไม่มีข้อความใดในบทความที่ถือเป็นคำแนะนำทางกฎหมาย วิชาชีพ การลงทุน และ/หรือทางการเงิน และ/หรือคำนึงถึงความต้องการเฉพาะ และ/หรือข้อกำหนดของแต่ละบุคคล
Cryptosiam และบริษัทในเครือ ขอปฏิเสธความรับผิด หรือความรับผิดชอบทั้งหมดเกี่ยวกับเนื้อหาของบทความ และการดำเนินการใดๆ กับข้อมูลในบทความนั้น เป็นความเสี่ยงของผู้อ่าน และถือเป็นความเสี่ยงแต่เพียงผู้เดียว