General

Solana อาจกลายเป็น Visa ของคริปโตในอนาคต

Solanavisa.png

นักยุทธศาสตร์ประจำ BofA คาด Solana อาจกลายเป็น Vias ของคริปโตแทนที่ Ethereum ได้ เนื่องจากสร้างประโยชน์ให้กับผู้ใช้งานได้มากกว่า

บันทึกการวิจัยเมื่อวันที่ 11 มกราคม ที่ผ่านมาของ Alkesh Shah นักยุทธศาสตร์ประจำธนาคารแห่งอเมริกา (Bank of America - BofA) คาดการณ์ว่าคู่แข่งรายสำคัญของ Ethereum อย่าง Solana อาจกลายเป็น Visa ของคริปโตได้

ข้อได้เปรียบที่ทำให้ Solana อาจกลายเป็น Visa ของคริปโต

Solana Shutterstock 4nov21.jpg

เครือข่าย Solana เริ่มเปิดตัวในปี 2020 และ ได้พัฒนาองค์กรเรื่อยมาจนทำให้สกุลเงินดิจิทัลขององค์กรขึ้นแท่นเป็นเหรียญที่มีมูลค่าตามราคาตลาดมากที่สุดอันดับที่ 5 ด้วยมูลค่ากว่า 47 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยความรวดเร็วของเครือข่ายที่ไวกว่า Ethereum อย่างมากนั้นส่งผลให้หลายองค์กรเลือกใช้ Solana เพื่อให้บริการการทำธุรกรรมมากกว่า 5 หมื่นล้านรายการ และ ดำเนินการแปลง (Mint) สินทรัพย์ให้กลายมาเป็น Non-Fungible Token (NFT) เกิด 5.7 ล้านรายการด้วยกัน

แม้ว่านักวิจารณ์บางรายออกมาแย้งว่าความรวดเร็วของเครือข่ายนั้นต้องแลกมากับต้นทุนในการสร้างระบบ Decentralized และ ความน่าเชื่อถือของผู้ใช้งานก็ตาม แต่ทว่า Shah กลับมองว่า Solana จะมอบประโยชน์ให้กับลูกค้ามากกว่าสร้างผลเสีย

“ความสามารถของ Solana ในการให้บริการการทำธุรกรรมได้ในปริมาณที่สูง, ต้นทุนที่ต่ำ และ ง่ายต่อการสร้าง Blockchain ที่เหมาะกับลูกค้าแต่ละราย ได้แก่ Micropayments, DeFi, NFTs, Web 3.0 และเกม เป็นต้น”

Ethereum อาจไม่ใช่คู่แข่งของ Solana อีกต่อไป

นักกลยุทธ์รายนี้ยังได้กล่าวเสริมว่า Solana กำลังเข้ามาแย่งส่วนแบ่งทางการตลาดของ Ethereum เนื่องจากสามารถให้บริการด้วยค่าธรรมเนียมที่ต่ำ, ใช้งานง่าย และ สามารถปรับขนาดได้ ในขณะที่ Ethereum อาจกลายเป็นทางเลือกที่นักลงทุนไม่ต้องการอีกต่อไป

“Ethereum ให้ความสำคัญในเรื่องของการกระจายอำนาจ และ การรักษาความปลอดภัยเป็นหลัก แต่ด้วยค่าใช้จ่ายในการปรับขยายขนาดของเครือข่าย ส่งผลให้เกิดความขัดข้อง และ ค่าธรรมเนียมในการทำธุรกรรมที่สูงเกินไป”

C1 Ce A4 C79 F5 C2 C F8 B925355512 B5922 DB D14 Cfe C33 D395 F E58 A176 a C0 Aac A59 a 1024x538.jpg

Visa สามารถประมวลผลการทำธุรกรรมได้เฉลี่ย 1,700 รายการต่อวินาที (Transactions per second - TPS) แต่ทว่าตามทฤษฎีแล้วระบบสามารถประมวลผลได้น้อยที่สุดเพียง 24,000 TPS เท่านั้น ซึ่งปัจจุบัน Ethereum สามารถจัดการธุรกรรมได้ราว 12 TPS บนเครือข่าย Mainnet ในขณะที่ Solana ได้ทุบสถิติด้วยการจำกัดการจัดการธุรกรรมได้กว่า 65,000 TPS

ต่อให้ดีแค่ไหนก็ยังมีข้อเสีย

Shah ยอมรับว่า Solana นั้นให้ความสำคัญกับการปรับขนาดเครือข่ายเป็นอันดับแรก แต่ทว่ากลับไม่ได้ให้ความสนใจในเรื่อง Decentralized และ ความปลอดภัยบน Blockchain มากนัก ซึ่งก็เป็นข้อเสียที่แสดงให้เห็นถึงจุดอ่อนด้านประสิทธิภาพของเครือข่ายหลายประการ

How to Tell if Your Business Is Suffering From a D Do S Attack.jpg

ทั้งนี้ Solana ยังได้เคยประสบกับปัญหาด้านประสิทธิภาพของเครือข่ายจำนวนมากในช่วงหลายเดือนที่ผ่านมา เช่น ปัญหาด้าการประกาศถอนตัวออกจากเครือข่ายของ Binance เมื่อวันที่ 12 มกราคม ที่ผ่านมา เนื่องจากประสิทธิภาพการทำงานบนเครือข่ายโซเชียลมีเดียในวันที่ 7 มกราคมที่ล่าช้า และ ดูเหมือนว่าล่าสุด Solana จะเจอเข้ากับการจู่โจมจาก DDos (Distributed Denial of Service) ที่ได้เข้ามาระงับการให้บริการของเครือข่ายในวันที่ 5 มกราคมที่ผ่านมา อย่างไรก็ตามทาง Solana ได้ออกมาปฏิเสธถึงประเด็นดังกล่าวแล้ว ซึ่ง Austin Federa ผู้บริหารฝ่าย Communication แห่ง Solana Labs กล่าวว่า ในตอนนี้เหล่าผู้พัฒนากำลังดำเนินการแก้ไขปัญหาดังกล่าวอยู่

ติดตาม CryptoSiam
เพื่อให้ไม่พลาด ทุกข่าวสาร วงการคริปโต
ข่าวต่อไป

บทความที่เกี่ยวข้อง

กสิกรไทยเปิดตัว Orbix Custodian ผู้รับฝากสินทรัพย์ดิจิทัลที่ได้รับใบอนุญาตรายแรกของประเทศไทย
Ripple ได้รับการอนุมัติเบื้องต้นสำหรับใบอนุญาตทางการเงินในดูไบ
Ham's Rectangle Template   2024 10 02 T172948.072
กองทุน Bitcoin ETF เผชิญการไหลออกมากที่สุดในรอบเดือน ท่ามกลางความตึงเครียดในตะวันออกกลาง