ก.ล.ต.เปิด Hearing กรณี Utility Token พร้อมใช้ ถึง 29 มิ.ย. นี้
ก.ล.ต. เปิด Hearing เพื่อปรับปรุงแนวทางกำกับดูแล ‘Utility Token พร้อมใช้’ แทนที่กฎหมายเก่าปี 61 พร้อมรับฟังความเห็นประชาชนแล้ววันนี้ ไปจนถึง 29 มิ.ย.

ก.ล.ต. เปิด Hearing เพื่อปรับปรุงแนวทางกำกับดูแล ‘Utility Token พร้อมใช้’ แทนที่กฎหมายเก่าปี 61 พร้อมรับฟังความเห็นประชาชนแล้ววันนี้ ไปจนถึง 29 มิ.ย.
สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) เปิดรับฟังความคิดเห็นเกี่ยวกับ การปรับปรุงแนวทางการกํากับดูแล “โทเคนดิจิทัลเพื่อการใช้ประโยชน์ที่มีลักษณะพร้อมใช้” (utility token พร้อมใช้) หวังแทนที่กฎหมายเก่าปี 2561 ที่ไม่สอดคล้องกับยุคสมัยปัจจุบัน
Utility Token พร้อมใช้ คืออะไร?
ตามกฎหมายของประเทศไทย Utility Token มี 2 ประเภท คือ ‘Utility Token พร้อมใช้’ และ ‘Utility Token ไม่พร้อมใช้’ สิ่งที่แตกต่างกันก็ตามชื่อของมันเลยก็คือความพร้อมในการใช้งานนั่นเอง
สำหรับ ‘Utility Token พร้อมใช้’ คือโทเคนที่เปิดตัวออกมาแล้วสามารถใช้งานได้ในทันที ไม่ว่าจะเป็นการใช้แลกสิทธิ์หรือบริการต่างๆ ไม่จำเป็นต้องรอวันเปิดใช้สิทธิ์ในอนาคต ตัวอย่างเช่น BNK Governance Token เป็นต้น
ตรงกันข้าม ‘Utility Token ไม่พร้อมใช้’ คือโทเคนที่ผู้ถือต้องรอวันเปิดใช้สิทธิ์ และจะยังไม่สามารถใช้สิทธิ์ได้ในทันทีหลังจากเปิดตัวโทเคนออกมา ทั้งนี้ยังไม่มีตัวอย่างการใช้งานที่ชัดเจนสำหรับโทเคนประเภทนี้เกิดขึ้นในไทย

หวังแทนกฎหมายเก่า พ.ร.ก. สินทรัพย์ดิจิทัลฯ ปี 61
ปฏิเสธไม่ได้เลยว่าหลังจาก ‘พระราชกําหนด การประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล พ.ศ. 2561’ (พ.ร.ก. สินทรัพย์ดิจิทัลฯ) ได้เปิดตัวมาแล้วกว่า 4 ปี แนวโน้มของตลาดสินทรัพย์ดิจิทัลในประเทศไทยและทั่วโลกได้เปลี่ยนไปอย่างมาก และข้อกฎหมายเดิมนั้นอาจจะไม่สอดคล้องกับยุคสมัยปัจจุบันแล้ว โดยเฉพาะกับเทคโนโลยีใหม่อย่างบล็อกเชน
ประกอบกับภาคเอกชนหลายราย ให้ความสนใจเสนอขาย “utility token พร้อมใช้” เพื่อใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีในการอํานวยความสะดวกให้กับ ผู้บริโภค รวมทั้งมีการใช้เพื่อการลงทุนและเก็งกําไร เมื่อช่วงเดือนมีนาคมที่ผ่านมา ทาง ก.ล.ต. จึงได้เคยหารือกับสมาคมการค้าผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์, ดิจิทัลไทย สมาคมสินทรัพย์ดิจิทัลไทย และผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในรูปแบบ focus group ไปแล้ว
ในครั้งนี้จึงเป็นคิวของประชาชน ที่ทาง ก.ล.ต. ต้องการรับฟังความคิดเห็นสำหรับปรับปรุงแก้ไขข้อกฎหมายให้สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน ซึ่งทาง ก.ล.ต. ก็ได้เปิดรับฟังความคิดเห็นแล้วตั้งแต่วันนี้ ไปจนถึงวันที่ 29 มิถุนายน 2665
สำหรับผู้ที่ต้องการจะร่วมแสดงความคิดเห็น สามารถแสดงความคิดเห็นและดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ท่ีเว็บไซต์ของสำนักงาน ก.ล.ต. โดยตรง