Blockchain

ชอบนัก! พบวอลุ่มซื้อขาย LUNA ในไทย 70% เกิดขึ้นหลังเหรียญพัง!

Template Private 14.png

ก.ล.ต. เจาะพฤติกรรม 'ชาวไทย' ต่อกรณี LUNA พบปริมาณการซื้อขายกว่า 70% เกิดขึ้น 'หลังเหรียญพัง' และนักลงทุนมากถึง 96% ขาดทุน

วันที่ 14 กรกฎาคม 2565 สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์หรือ ก.ล.ต. ได้ออกมา กล่าวถึง เหตุการณ์สำคัญของตลาดสกุลเงินดิจิทัลในช่วงที่ผ่านมาอย่างการล่มสลายของบล็อกเชน Terra รวมไปถึงเหรียญดั้งเดิมของเครือข่าย LUNA และเหรียญ Stablecoin อย่าง UST

ก.ล.ต. วิเคราะห์พฤติกรรม 'ชาวไทย' ต่อเหตุการณ์

บทวิเคราะห์ในครั้งนี้จัดทำขึ้นโดย นายพงศธร ปริญญาวุฒิชัย ฝ่ายวิจัย สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ที่ได้ศึกษาถึงพฤติกรรมและลักษณะบัญชีของผู้ซื้อขาย LUNA ในไทยว่ามีพฤติกรรมเป็นอย่างไร?

จากผลการศึกษาระหว่างวันที่ 1 มกราคม 2565 – 22 พฤษภาคม 2565 โดยแบ่งออกเป็นเหตุการณ์สำคัญ 3 ช่วงโดยใช้ราคาของ LUNA เป็นจุดอ้างอิง ดังนี้

  1. Pre – stage หรือ ช่วงก่อนวันที่ 9 พฤษภาคม 2565 คือ ช่วงเวลาก่อนที่ราคาของเหรียญ UST กำลังจะหลุดจากการตรึงมูลค่ากับ USD 
  2. Fall – stage หรือ ช่วงระหว่างวันที่ 9 – 13 พฤษภาคม 2565 คือ ช่วงเวลาที่ราคาของเหรียญ UST หลุดจากการตรึงมูลค่ากับ USD 
  3. Bottom out – stage หรือ ช่วงหลังจากวันที่ 13 พฤษภาคม 2565 คือ ช่วงเวลาที่ราคาของเหรียญ  LUNA ร่วงหล่น ไปสู่จุดต่ำสุดและกระดานเทรดสกุลเงินดิจิทัลในประเทศไทยได้ประกาศระงับกิจกรรมการซื้อขายทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับเหรียญ  LUNA เป็นระยะเวลาชั่วคราว 1 วัน

โดยเมื่อดูภาพรวมของบัญชีที่เข้ามาซื้อขายในปี 2565 นั้นมีอยู่ทั้งหมด 315,077 บัญชี โดยมีสัดส่วนเป็นบัญชีผู้ลงทุนในประเทศประมาณ 99% และผู้ลงทุนประเภทอื่นๆ อีกประมาณ 1% ซึ่งจํานวนบัญชีส่วนใหญ่ที่เข้ามาซื้อขายนั้นมีขนาดพอร์ตอยู่ในช่วง 5,000 – 1,000,000 บาท และแบ่งจํานวนบัญชีตามช่วงเวลาที่ทําการศึกษาได้ดังนี้ 

  1. Pre – stage จำนวน 36,396 บัญชี คิดเป็น 11.55%
  2. Fall – stage จำนวน  57,300 บัญชี คิดเป็น 18.19%
  3. Bottom out – stage จำนวน 221,381 บัญชี คิดเป็น 70.26%
Screen Shot 2565 07 14 at 21.14.37 1024x388.png

จากข้อมูลจํานวนบัญชีที่เข้ามาซื้อขาย LUNA ทั้งหมดพบว่า มีบัญชีจํานวน 211,723 บัญชี โดยคิดเป็นสัดส่วนประมาณ 67% ที่มีประสบการณ์ซื้อขายเหรียญประเภทอื่นมาก่อน แต่ยังไม่เคยซื้อ LUNA และเพิ่งเริ่มเข้ามาซื้อขายในช่วง Bottom out รวมถึงกลุ่มบัญชีที่เข้ามาเพื่อเก็งกําไรในเหรียญ LUNA เพียงอย่างเดียวอยู่ที่ 9,658 บัญชี โดยคิดเป็นสัดส่วนประมาณ 3%

โดยเมื่อมองภาพรวมของผู้ซื้อขายเหรียญ LUNA พบว่า มีนักลงทุนที่ขาดทุนกว่า 96% และข้อมูลยังระบุอีกว่า จํานวนบัญชีส่วนใหญ่ที่ขาดทุนนั้นเป็นบัญชีที่เพิ่งสมัครและเริ่มเข้ามาซื้อขายในช่วง Bottom-out เท่านั้น

Screen Shot 2565 07 14 at 21.14.24 1024x436.png

และเมื่อสรุปผลกําไร/ขาดทุนของบัญชีผู้ซื้อขายแต่ละกลุ่มการศึกษาในกระดานเทรดสกุลเงินดิจิทัลในประเทศไทย พบว่า มีผลขาดทุนสุทธิอยู่ที่ประมาณ 980 ล้านบาท ซึ่งพบว่าส่วนใหญ่เป็นบัญชีปของบุคคลภายในประเทศ โดยบัญชีส่วนใหญ่นั้นเข้ามาในช่วงที่เกิดการลดลงอย่างมหาศาลหรือ Fall ซึ่งเป็นกลุ่มบัญชีที่มีการขาดทุนมากที่สุด

Screen Shot 2565 07 14 at 21.14.15 1024x457.png

บทวิเคราะห์ฉบับเต็มจากสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ => LINK

ผลกระทบจากการล่มสลายของ LUNA และ UST ต่อตลาดคริปโต

ผลกระทบจากการล่มสลายของ LUNA และ UST ต่อตลาดคริปโต

  1. Three Arrows Capital หรือ 3AC  เป็นบริษัทที่ได้ฝาก UST จำนวนมากใน Anchor Protocol เพื่อหวังที่จะได้รับดอกเบี้ยกว่า 20% ที่แพลตฟอร์มจะมอบให้ และจากเหตุการณ์การโจมตี UST และการลดลงของ LUNA ที่เกิดขึ้น ทำให้บริษัทขาดทุนอย่างมหาศาลกว่า 200 ล้านดอลลาร์ และยังส่งผลให้ 3AC ต้องผิดนัดชำระหนี้ซึ่งต้องจ่าย Bitcoin จำนวน 15,250 เหรียญและ USDC อีกจำนวน 350 ล้านเหรียญ ให้กับ Voyager Digital ทำให้ 3AC นั้นต้องเผชิญกับวิกฤตทางการเงินครั้งสำคัญและยื่นฟ้องล้มละลายเมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม 2565 ที่ผ่านมา
  2. Voyager Digital ก็เป๋นอีกหนึ่งในบริษัทที่ได้รับผลพวงจากเหตุการณ์ในครั้งนี้ บริษัทได้รังความเสียหายอย่างหนักจากการเทขายและการผิดนัดชำระหนี้ ทำให้บริษัทได้ยื่นฟ้องล้มละลาย เมื่อวันที่ 6 กรกฎาคม 2565 ตามหลัง 3AC มาติดๆ
  3. Uprise สตาร์ทอัพที่ให้บริการในการรับฝากและเป็นแพลตฟอร์มการซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัลสูญเสียทรัพย์สินประมาณ 99% Uprise สตาร์ทอัพในเกาหลีใต้ขาดทุนกว่า 20 ล้านดอลลาร์ จากการเปิด Short LUNA จากการชำระบัญชีในครั้งนั้นก็ส่งผลให้เกิดความเสียหายต่อสินทรัพย์ของลูกค้ากว่า 20 ล้านดอลลาร์ ซึ่งทำให้Uprise นั้นสูญเสียทรัพย์สินไปกว่า 99%
  4. และล่าสุดคือ Celsius Network ที่แม้จะใช้หนี้กับ Compound, Aave และ MakerDAO ไปอย่างมหาศาล แต่บริษัทก็ไม่สามารถยื้อเหตุการณ์ทางการเงินที่ร้ายแรงซึ่งเกิดขึ้นกับบริษัทได้ไว้ และในที่สุดก็ได้ยื่นล้มละลายในวันที่ 11 กรกฎาคม 2565 

ไม่เพียงเท่านั้น การลดลงในครั้งนี้ยังสร้างความหวาดกลัวและความวิตกกังวลให้นักลงทุนภายในตลาดสกุลเงินดิจิทัลเป็นอย่างมาก ซึ่งส่งผลให้ราคาของ Bitcoin และสกุลเงินดิจิทัลลดลงอย่างต่อเนื่องเป็นเวลาหลายเดือน ซึ่งถือว่าเป็นตลาดหมีที่ยาวนานและโหดร้ายที่สุดครั้งหนึ่งที่เคยเกิดขึ้นในตลาดสกุลเงินดิจิทัลกันเลยทีเดียว

Terra Blockchain คืออะไร?

Terra เป็นเครือข่ายบล็อกเชน Layer1 ที่มีเหรียญ LUNA เป็น Native Token และมี UST เป็นเหรียญ Stablecoin ของเครือข่ายที่มีหนุ่มชาวเกาหลีใต้อย่าง Do Kwon เป็นผู้อยู่เบื้องหลังและได้ก่อตั้งเครือข่ายขึ้นมาในปี 2018 

กระแสความนิยมของ Terra นั้นค่อยๆ เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องจากตลาดกระทิงครั้งล่าสุดที่พาให้ LUNA ขึ้นไปทำสถิติสูงสุด ประกอบกับ Anchor Protocol ที่สร้างความนิยมให้กับ UST ด้วยอัตราดอกเบี้ยเงินฝากที่สูงถึง 20% ต่อปี และด้วย Anchor Protocol นี่เองที่ทำให้เกิดเหตุการณ์ Death Spiral ซึ่งร้ายแรงและส่งผลให้ Terra บล็อกเชนล่มสลายลงในที่สุด

Sdkfm 1024x341.jpeg

เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นกับ LUNA และ UST

 ในปีที่ผ่านมา LUNA ซึ่งเป็นเหรียญดั้งเดิมของเครือข่าย Terra นั้นให้เพิ่มขึ้นกว่า 16,674% ขึ้นไปทําจุดสูงสุดตลอดกาลที่ 119.18 ดอลลาร์ในเดือนเมษายน 2565 แต่หลังจากที่เหรียญ UST ซึ่งเป็นเหรียญ Stablecoin ประจําเครือข่าย Terra ซึ่งที่มี Algorithm Stablecoin เป็นกลไกในการตรึงมูลค่ากับ USD (ดอลลาร์สหรัฐ) ซึ่งผูกอยู่กับเหรียญ LUNA ไม่สามารถตรึงมูลค่ากับ USD เอาไว้ได้ ทําให้เกิดการสูญเสียความเชื่อมั่นจากนักลงทุน ส่งผลให้เกิดเหตุการณ์ Death Spiral ที่มีการเทขายเหรียญ UST ออกมาอย่างต่อเนื่องจนกระทบต่อมูลค่าของเหรียญ LUNA ที่ร่วงหล่นจากระดับสูงสุดตลอดกาลมาเหลือเพียงไม่ถึงบาทภายในเวลาไม่กี่วัน

และเมื่อเหตุการณ์ต่างๆ จบลงด้วยสภาพของนักลงทุนที่ขาดทุนยับเยินและนอนจมกองเลือดกันทั่วทั้งตลาด สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ก็ได้ออกมาสรุปถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นและพฤติกรรมของนักลงทุนชาวไทยที่มีต่อเหตุการณ์ล่มสลายครั้งสำคัญของตลาดสกุลเงินดิจิทัลในครั้งนี้

DISCLAIMER: การลงทุนในสินทรัพย์ดิจิทัลมีความเสี่ยง และความผันผวนสูง มุมมองและความคิดเห็นจากผู้เขียนมีวัตถุประสงค์ในการให้ข้อมูลเท่านั้น ไม่ได้มีเจตนาที่จะชี้นำในการให้ข้อมูลทางการเงิน การลงทุน หรือคำแนะนำอื่น ๆ แต่อย่างใด นักลงทุนควรศึกษาปัจจัยต่าง ๆ ที่อาจส่งผลกระทบ รวมไปถึงควรดำเนินการควบคุมความเสี่ยงอยู่เสมอ 

ติดตาม CryptoSiam
เพื่อให้ไม่พลาด ทุกข่าวสาร วงการคริปโต
ข่าวต่อไป

บทความที่เกี่ยวข้อง

ตลาด Altcoin มีโอกาสเสี่ยงถูกปรับฐาน ในอีกไม่กี่เดือนข้างหน้า
วาฬในเครือข่าย Solana ใช้เงินกว่า 4.9 ล้านดอลลาร์ ในการเข้าซื้อเหรียญมีม PUPS
Bitkub เปิดตัว Open Beta ของ 'TSX by Astronize' โปรเจกต์เกมใหม่ล่าสุดบน Bitkub Chain
รายงาน ก.ล.ต. สรุปภาพรวมบัญชีมูลค่าการซื้อขายคริปโตในประเทศไทย (15/04/24)