ข้าราชการรัสเซียถูกบังคับให้ขาย Crypto ของพวกเขา
ข้าราชการชาวรัสเซียบางรายจำเป็นต้องเปิดเผยข้อมูลส่วนตัวด้านการถือครอง Crypto ของพวกเขา ในขณะที่ข้าราชการรายอื่นที่กลับถูกบังคับห้ามถือครอง Crypto ทุกประเภทอย่างเด็ดขาด โดยมาตรการกวาดล้างในครั้งนี้จะเริ่มต้นในวันที่ 1 เดือนเมษายน พร้อมกับกฎหมายที่ถูกบัญญัติฉบับใหม่
ข้าราชการชาวรัสเซียบางรายจำเป็นต้องเปิดเผยข้อมูลส่วนตัวด้านการถือครอง Crypto ของพวกเขา ในขณะที่ข้าราชการรายอื่นที่กลับถูกบังคับห้ามถือครอง Crypto ทุกประเภทอย่างเด็ดขาด โดยมาตรการกวาดล้างในครั้งนี้จะเริ่มต้นในวันที่ 1 เดือนเมษายน พร้อมกับกฎหมายที่ถูกบัญญัติฉบับใหม่
สหพันธรัฐรัสเซียได้เริ่มต้นใช้งานบทบัญญัติกฎหมายด้านสกุลเงินดิจิทัลของประเทศ หรือที่รู้จักกันในชื่อ “Digital Financial Asset (DFA)” โดยเพิ่งมีผลบังคับใช้ในวันที่ 1 มกราคมที่ผ่านมา แต่ทว่าปัญหาก็คือกฎหมายฉบับดังกล่าวค่อนข้างมีความกำกวม เนื่องด้วยมันไม่ได้ให้คำตอบโดยตรงสำหรับคำถามต่าง ๆ เช่น วิธีการที่ข้าราชการในประเทศต้องรับมือกับการถือครอง Crypto ของพวกเขา ซึ่งกฎหมายฉบับนี้ได้มีการกำหนดข้อบังคับอย่างน้อย 2 หัวข้อระบุให้เจ้าหน้าที่รัฐเปิดเผย หรือกำจัดสกุลเงินดิจิทัลในครอบครองของตนเองให้หมดภายในปี 2021
เหล่าเจ้าหน้าที่รัฐกำลังงุนงงกับความไม่ชัดเจน
โดยเมื่อวันที่ 10 ธันวาคมปี 2020 ประธานาธิบดี Vladimir Putin แห่งสหพันธรัฐรัสเซีย ได้ลงนามเพิ่มเติมบทบัญญัติในกฎหมาย DFA ฉบับนี้ ซึ่งเป็นข้อบังคับว่าด้วยการให้เหล่าข้าราชการเปิดเผยการถือครอง Crypto ของพวกเขาภายในวันที่ 30 เดือนมิถุนายน 2564
ตามข้อกำหนดทางกฎหมายระบุว่าข้าราชการชาวรัสเซีย หรือบุคคลที่ต้องการจะทำงานให้หน่วยงานรัฐบาลจำเป็นต้องเปิดเผยสินทรัพย์ดิจิทัลของพวกเขา แถมยังรวมไปถึงสินทรัพย์ดิจิทัลของคู่สมรส และบุตรด้วยเช่นเดียวกัน โดยสาเหตุที่ข้อบังคับเพิ่มเติมนี้ดูเหมือนว่าจะพุ่งเป้าไปยังหน่วยงานรัฐฯ ก็เพื่อให้ประชาชนทั้งหลายแน่ใจว่าทางเจ้าหน้าที่รัฐไม่มีสิทธิพิเศษ และต้องปฏิบัติตามกฏหมายด้านการเงินเช่นเดียวกันกับที่ประชาชนทั่วไปทุกคนต้องทำ
แต่ทว่ายังมีข้อบังคับอีกหนึ่งข้อที่ห้ามไม่ให้ข้าราชการชาวรัสเซียครอบครอง Crypto อย่างเด็ดขาด ซึ่งสอดคล้องกับมาตรการต่อต้านการทุจริตของประเทศ โดยเมื่อวันที่ 28 ธันวาคมปี 2020 กระทรวงแรงงาน และสวัสดิการสังคมแห่งสหพันธรัฐรัสเซียได้เผยแพร่จดหมายทางราชการฉบับหนึ่งเพื่อเตือนข้าราชการบางรายว่าพวกเขาจำเป็นต้องกำจัดสินทรัพย์ดิจิทัล และสกุลเงินดิจิทัลทุกประเภทภายในวันที่ 1 เมษายน ซึ่งจะเห็นได้ว่าข้อกฎหมายทั้งสองประการนั้นมีความขัดกันเป็นอย่างมาก และนั่นเป็นสาเหตุที่ทำให้หลายต่อหลายคนตั้งคำถาม จากความกำกวมที่กล่าวเอาไว้ข้างต้น
สรุปแล้วทางการรัสเซียต้องการอะไรกันแน่?
คณะรัฐมนตรีได้ออกมาแสดงความชัดเจน โดยระบุว่ากลุ่มผู้ที่ถูกบังคับไม่ให้ถือครองเงินทุนของพวกเขาจากต่างประเทศ หรือใช้เครื่องมือทางการเงินจากชาวต่างชาติเช่นเดียวกัน นั้นถูกบัญญัติไว้ตั้งแต่วันที่ 7 พฤษภาคม ปี 2013 แล้ว โดยในรายชื่อดังกล่าวประกอบไปด้วยผู้ที่ดำรงตำแหน่งในรัฐบาลจำนวนมาก รวมไปถึงผู้ปฏิบัติหน้าที่ และดำรงตำแหน่งเป็นสมาชิกสภาสามัญ, คณะกรรมการบอร์ดบริหารแห่งธนาคารกลางแห่งรัสเซีย, บริษัทมหาชนต่าง ๆ ที่รัฐบาลรัสเซียเป็นเจ้าของ และผู้นำการปกครองเขตต่าง ๆ และตำแหน่งอื่น ๆ อีกมากมาย
แม้การออกมาเปิดเผยข้อมูลข้างต้นจะไม่ได้สร้างความกระจ่างต่อผู้คนมากนัก แต่ทั้งนี้ก็ยังมีข้าวดีสำหรับข้าราชการบางกลุ่ม เพราะหากอาชีพที่เขาทำไม่ได้ปรากฏอยู่ในกฎหมายข้อบังคับฉบับนี้ไม่จำเป็นต้องปฏิบัติตามข้อจำกัดดังกล่าว แม้ว่าพวกเขาจะยังต้องเปิดเผยข้อมูลสินทรัพย์ดิจิทัลของตนตามกฎหมายที่ประธานาธิบดี Putin ได้ลงนามไว้ก็ตาม
Maria Stankevich หนึ่งในคณะกรรมการแห่ง Russian Committee on Blockchain Technologies and Cryptoeconomics ตั้งคำถามถึงความเป็นไปได้ที่จะนำเทคโนโลยี และกฎหมายมาใช้กับกฎหมายข้อบังคับข้างต้น
“ข้อจำกัดเหล่านั้นถูกบังคับใช้กับบุคคลบางกลุ่มที่ครอบครองสกุลเงินดิจิทัลนั้นนับเป็นวิธีการที่สมเหตุสมผลในการหยุดยั้งคอร์รัปชั่น ... ถือเป็นสัญญาณที่ชัดเจนสำหรับข้าราชการทุกคน โดยในตอนนี้รัฐบาลมีวิธีการจัดการในรูปแบบใหม่เพื่อแสดงให้เห็นถึงพลังอำนาจของพวกเขาในยามจำเป็น อย่างไรก็ตามคำถามหลักก็คือรัฐบาลจะตรวจสอบการปฏิบัติเหล่านั้นได้อย่างไร เนื่องจากยังไม่มีกฎหมายใด หรือขั้นตอนใดที่ถูกระบุไว้”