ผู้คนกว่า 1.2 ล้านแห่ชมศิลปะดิจิทัลบน NFT Bay
กระแสที่โด่งดังบนโลกออนไลน์ทำให้ผู้คนแห่เข้าชมศิลปะดิจิทัลบน NFT Bay จำนวนมาก โดยผู้สร้างต้องการให้ผู้คนเข้าถึง และ ดาวน์โหลดภาพดิจิทัลได้ก็เท่านั้น
กระแสที่โด่งดังบนโลกออนไลน์ทำให้ผู้คนแห่เข้าชมศิลปะดิจิทัลบน NFT Bay จำนวนมาก โดยผู้สร้างต้องการให้ผู้คนเข้าถึง และ ดาวน์โหลดภาพดิจิทัลได้ก็เท่านั้น
เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 18 พฤศจิกายน ที่ผ่านมาหลังจาก Geoffrey Huntley นักพัฒนาซอฟต์แวร์ชาวออสเตรเลียผู้ที่ผู้อยู่เบื้องหลังการจัดการแข่งขัน E-sports ในประเทศ และเคยเป็นเจ้าของธุรกิจเครือข่ายเกมคอมพิวเตอร์ได้เปิดตัวคลังสะสมสำเนาภาพศิลปะดิจิทัลบน NFT Bay ที่สามารถจุได้ถึง 17.96 เทระไบต์ขึ้น ทำให้มีผู้สนใจเข้ามาเยี่ยมชมผ่านแพลตฟอร์มดังกล่าวกว่า 1.2 ล้านครั้งด้วยกัน
NFT Bay เป็นเว็บไซต์มีลักษณะการจัดวาง และ โลโก้เช่นเดียวกันกับเว็บทอร์เรนต์สัญชาติสวีเดนอย่าง The Pirate Bay ซึ่งเป็นเว็บไซต์แชร์ไฟล์ชื่อดังที่ผู้ใช้งานสามารถดาวน์โหลดภาพยนตร์, วิดีโอเกม, เพลง และ สื่ออื่น ๆ นอกจากหน้าตาจะคล้ายกันแล้ว ทางผู้สร้างยังได้ออกแบบเว็บให้ผู้ใช้งานสามารถดาวน์โหลดภาพสำเนา NFT เก็บไว้ได้อีกด้วย ซึ่งล่าสุดมันได้สร้างรายได้ให้กับเขากว่า 200 ดอลลาร์ออสเตรเลียต่อเดือน หรือ ราว 4,740 บาท
จุดประสงค์ที่แท้จริงของการเผยแพร่งานศิลปะดิจิทัลบน NFT Bay
ในคำแถลงการณ์ของผู้สร้างชาวออสเตรเลียรายนี้ระบุว่าการแกล้งกันในลักษณะนี้มีจุดประสงค์ที่ต้องการให้ผู้คนสามารถเข้ามาศึกษาผลงานศิลปะ เพื่อให้เกิดความเข้าใจ และ ไตร่ตรองให้ดีอีกครั้งว่าแท้ที่จริงแล้ว พวกเขากำลังตัดสินใจจะซื้ออะไรอยู่กันแน่
เขาได้ให้สัมภาษณ์กับทางสำนักข่าวต่างประเทศรายหนึ่งว่า โดยทั่วไปผู้คนมักไม่เข้าใจว่า NFT คืออะไร และ เขาเชื่อว่าสิ่งที่พวกเขาซื้อไปคือภาพ JPEG ไม่ใช่โทเคนลักษณะเฉพาะที่ถูกสร้างขึ้นบนเครือข่าย Blockchain แต่อย่างใด นอกจากนี้เขายังได้กล่าวเสริมว่า
“ผู้คนกำลังฉวยโอกาสจากการขาดความรู้ และ ความประมาทต่อเทคโนโลยี ซึ่งถือว่าเป็นสิ่งที่ผิดอย่างมาก"
นอกจากนี้บรรดากลุ่ม Right-clickers และ ผู้หวาดระแวงใน NFT ต่างก็ออกมาชื่นชมต่อโปรเจกต์ดังกล่าวบนโซเชียลมีเดียกันเป็นจำนวนมาก ผู้พัฒนาซอฟต์แวร์ชาวอังกฤษอย่าง Drew Hess ได้ออกมาโพสต์ผ่านทวิตเตอร์ของเขาว่า “ท้ายที่สุดแล้วทอร์เรนต์เว็บไซต์นี้อาจเข้ามาทำลายความคิดของผู้คนที่คิด NFT มีคุณค่าไปได้โดยปริยาย”
Huntley ยังไม่ประทับใจใน NFT เท่าไหร่นัก
แม้ว่า Huntley ยอมรับว่าโปรเจกต์ Web 3.0 นั้นน่าทึ่งมากเพียงไหน แต่ทว่าหากลองมองตามโครงสร้างพื้นฐานทางด้านเทคโนโลยีแล้วนั้นโปรเจกต์ดังกล่าวอาจยังไม่น่าประทับใจสำหรับเขามากเท่าไหร่นัก
“รูปภาพเหล่านี้จะไม่ได้ถูกจัดเก็บบนเครือข่าย Blockchain และ ภาพส่วนใหญ่ที่ผมเห็นจะถูกฝากเอาไว้บนคลัง Web 2.0 ซึ่งมักจบลงด้วยข้อผิดพลาดบางอย่างอยู่เสมอ”
Steve Mitobe ซีอีโอ และผู้ก่อตั้งหน่วยงานพัฒนา NFT แห่ง West Coast NFT ได้ออกมาแย้งถึงเหตุการณ์ข้างต้นว่าโดยปกติแล้ว NFT ส่วนใหญ่จะถูกนำไปใช้กับเทคโนโลยีการเก็บรวบรวมข้อมูลบนเครือข่ายแบบกระจายศูนย์ (Decentralized) เช่น IPFS หรือ Arweave เป็นต้น ซึ่งการนำระบบเหล่านี้มาใช้จะช่วยทำให้ข้อมูล metadata และ รูปภาพต่าง ๆ สามารถกู้คืนกลับมาได้ และ ไม่ต้องประสบกับปัญหาข้อผิดพลาดในรูปแบบเดิมอีก
Mitobe กล่าวเสริมถึงความเข้าใจของ Huntley ว่าความเป็นจริงแล้ว โครงสร้าง Web 3.0 นั้นถูกสร้างขึ้นมาจากเทคโนโลยีหลายส่วนด้วยกัน รวมไปถึงการจัดเก็บแบบ Peer to Peer เช่น Arweave/IPFS ดังนั้นโครงสร้างดังกล่าวจึงไม่ได้ประกอบไปด้วยบล็อกเชนเพียงอย่างเดียวแต่กลับกลายเป็นว่าบล็อกเชนนั้นเป็นเพียงแค่ส่วนเล็ก ๆ ในโครงสร้างนี้ก็เท่านั้น