OPEC มุ่งเน้นบูรณาการ Blockchain กับห่วงโซ่อุปทานน้ำมัน
องค์กรร่วมประเทศผู้ผลิตน้ำมันเพื่อการส่งออก หรือ OPEC ได้ออกมาเปิดเผยเกี่ยวกับ Videoconference Workshop ของพวกเขาที่กำลังจะเกิดขึ้นในเร็ววันนี้ว่าจะมีการนำเสนอการใช้งานเทคโนโลยี Blockchain เป็นหนึ่งในหัวข้อหลัก
องค์กรร่วมประเทศผู้ผลิตน้ำมันเพื่อการส่งออก หรือ OPEC ได้ออกมาเปิดเผยเกี่ยวกับ Videoconference Workshop ของพวกเขาที่กำลังจะเกิดขึ้นในเร็ววันนี้ว่าจะมีการนำเสนอการใช้งานเทคโนโลยี Blockchain เป็นหนึ่งในหัวข้อหลัก
Blockchain Workshop ในครั้งนี้ได้รับการสนับสนุนงบประมาณการดำเนินโครงการโดยผู้เชี่ยวชาญในด้านอุตสาหกรรมจำนวนมากจากประเทศสมาชิก OPEC รวมไปถึง แหล่งผลิต และตลาดซื้อขายน้ำมันของประเทศอื่น ๆ ที่ไม่ได้อยู่ในกลุ่มสมาชิกองค์กรร่วมประเทศผู้ผลิตน้ำมันเพื่อการส่งออก ทั้งยังมีองค์กรระหว่างประเทศและบริษัทชั้นนำต่าง ๆ เข้าร่วมอีกด้วย
โดยการจัดกิจกรรมในครั้งนี้ก็จะเป็นไปเพื่อการนำเสนอและแบ่งปันข้อมูลด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ซึ่ง Workshopนี้จะเกิดขึ้นในวันที่ 21 กันยายน ปี 2020
ไม่รู้จักเทคโนโลยี ก็จะตามไม่ทันโลก
กลุ่มประเทศสมาชิกของ OPEC ได้ตระหนักถึงความจำเป็นของการผสานรวมเทคโนโลยี Blockchain เข้ากับอุตสาหกรรมพลังงาน และมองว่ามันเป็น “ปัญหาเร่งด่วน” ที่ต้องรีบดำเนินกลยุทธ์ในเร็ววัน โดยพวกเขาคำนึงถึงความจำเป็นในการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดังกล่าวเพื่อยกระดับห่วงโซ่อุปทานในด้านอุตสาหกรรมน้ำมันเป็นหลัก
Mohammad Sanusi Barkindo เลขาธิการของ OPEC กล่าวในงานแถลงการณ์ว่า
“ผู้ดำเนินงานภายใต้อุตสาหกรรมพลังงานโดยเฉพาะอุตสาหกรรมน้ำมันนั้นมีความกระตือรือร้นที่จะนำเทคโนโลยีล้ำสมัยล่าสุดมาใช้ รวมถึงนำมาพัฒนาเพื่อปรับปรุงระบบการดำเนินงานให้มีประสิทธิภาพ และประสิทธิผลควบคู่ไปกับการดำเนินงานที่ตอบรับกับด้านสิ่งแวดล้อม”
“พวกเราที่ทำงานใน OPEC ได้ทำการตรวจสอบ และวิเคราะห์เทคโนโลยีล่าสุดที่เกิดขึ้นในอุตสาหกรรม ทั้งยังศึกษาด้านผลกระทบต่อภาคส่วนต่าง ๆ รวมไปถึงห่วงโซ่อุปทานของเราอย่างต่อเนื่อง ซึ่งเทคโนโลยีเหล่านี้ได้เปลี่ยนแปลงเราไปมาก และพวกเราหวังเป็นอย่างยิ่งว่าเทคโนโลยีเหล่านี้จะยังคงนำการเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีมาสู่พวกเราต่อ ๆ ไปในอนาคต”
นอกจากการใช้ Blockchain ในห่วงโซ่อุปทานแล้ว OPEC ยังตั้งข้อสังเกตว่าจะหารือเกี่ยวกับความปลอดภัยด้านไซเบอร์กับกลุ่มอื่น ๆ ด้วยเช่นกัน
Blockchain มีการใช้งานอย่างกว้างขวางอยู่แล้วในเครือข่ายห่วงโซ่อุปทาน
ก่อนที่จะมีการพิจารณาใช้เทคโนโลยี Blockchain สำหรับการจัดการห่วงโซ่อุปทานโดย OPEC มีอุตสาหกรรมอีกจำนวนมากที่เป็นผู้ริเริ่มใช้เทคโนโลยีดังกล่าว ยกตัวอย่างเช่น Coke One North America (CONA) ผู้เป็นหุ้นส่วนของบริษัท Coca-Cola ได้ออกมาประกาศเมื่อต้นเดือนสิงหาคมว่าจะใช้บริการแพลตฟอร์ม Ethereum Blockchain ซึ่งเป็น Baseline Protocol เพื่อเพิ่มความโปร่งใสและลดความขัดแย้งในการทำธุรกรรมภายในห่วงโซ่อุปทาน
ในขณะที่การใช้เทคโนโลยี Blockchain เป็นเครื่องมือติดตามห่วงโซ่อุปทานสำหรับผู้ค้าปลีกรายใหญ่ เช่น Coca-Cola ทางด้านบริษัทอื่น ๆ ไม่ว่าจะเป็น IBM หรือ KPMG เองก็ได้พัฒนาระบบติดตามห่วงโซ่อุปทานในรูปแบบการใช้งานที่ครอบคลุมโดยมี Blockchain เป็นพื้นฐาน