Hyundai เผยไอเดีย Metamobility แห่งโลกอนาคต
Hyundai พร้อมเนรมิตไอเดีย Metamobility เป็นสะพานเชื่อมโลกแห่งความเป็นจริงเข้ากับ Metaverse มอบประสบการณ์การเดินทางสู่โลกใบใหม่อย่างไร้ขีดจำกัด
Hyundai พร้อมเนรมิตไอเดีย Metamobility เป็นสะพานเชื่อมโลกแห่งความเป็นจริงเข้ากับ Metaverse มอบประสบการณ์การเดินทางสู่โลกใบใหม่อย่างไร้ขีดจำกัด
Euisun Chung ประธานเจ้าหน้าที่บริหารแห่งบริษัท ฮุนได มอเตอร์ จำกัดได้ออกมาเผยถึงแนวความคิดแห่งโลกอนาคตผ่านงานแถลงข่าวในงาน Consumer Electronics Show ในลาสเวกัสเมื่อวันอังคารที่ 4 มกราคม ที่ผ่านมา โดยระบุว่า Hyundai พร้อมเนรมิตไอเดีย Metamobility หรือ หุ่นยนต์ที่สามารถให้บริการการขนส่งที่หลากหลายให้เกิดขึ้นได้จริงในอนาคต ไม่ว่าจะเป็นการขับเคลื่อนยานพาหนะส่วนบุคคลอัตโนมัติ ไปจนถึงการเข้าควบคุมหุ่นยนต์จากระยะไกลภายในโรงงานอัจฉริยะ (Smart Factory)
ไอเดีย Metamobility ของ Hyundai จะเชื่อมต่อกับโลก Metaverse
ผู้บริหาร Hyundai ได้ออกมาอธิบายว่า Metamobility จะเป็นสะพานที่ใช้ในการเชื่อมต่อโลกแห่งความจริงเข้ากับอาณาจักร Metaverse เพื่อมอบประสบการณ์รูปแบบใหม่ในการเดินทางที่ไร้ขีดจำกัดให้กับผู้คน ซึ่งผู้บริหาร Chung ยังได้กล่าวเสริมถึงสิ่งที่ผู้คนจะได้รับจากการพัฒนา Metamobility ว่า
“หุ่นยนต์ของพวกเราถูกพัฒนาขึ้นด้วยความหวังที่จะขยับขยายการเข้าถึงของมนุษย์ด้วยการก้าวข้ามขีดจำกัด, สร้างสรรค์สิ่งต่าง ๆ ที่อยู่เหนือจินตนาการ และ ขยายการเดินทางเข้าสู่โลกใบใหม่ด้วย Metamobility”
ทั้งนี้ Hyundai คาดว่าจะยกระดับความเชี่ยวชาญในด้านหุ่นยนต์ และ ปัญญาประดิษฐ์ขององค์กรเพิ่มขึ้น เพื่อสร้างเครือข่ายการสัญจรในอนาคตที่จะสามารถเชื่อมต่อมนุษย์ในโลกแห่งความจริงเข้ากับวัตถุ และ นวัตกรรมต่าง ๆ ในโลกเสมือน ซึ่งทางองค์กรได้นำเสนอตัวอย่างนวัตกรรมที่ถูกสร้างขึ้นจากแนวคิดดังกล่าว ได้แก่ โรงงานอัฉริยะ (Smart Factory) ที่มนุษย์สามาถเข้าควบคุมหุ่นยนต์ได้จากระยะไกลผ่านการโต้ตอบกับเครื่องยนต์ และ ผลิตภัณฑ์ ภายในโรงงาน หรือ ยานพาหนะขับเคลื่อนอัตโนมัติส่วนบุคคล หรือ ผู้พิการที่ต้องการรักษาระยะห่างทางสังคมในขณะเดินทาง เป็นต้น
Hyundai กำลังพัฒนาโมดูล PND เพื่อทำให้แนวคิดนี้เป็นจริง
เพื่อสานต่อความฝันขององค์กรทั้งหมดนี้ให้เกิดขึ้นได้จริง บริษัทผลิตรถยนต์รายใหญ่ระบุว่าขณะนี้กำลังสร้างระบบ Mobility of Things ที่สามารถเชื่อมโยงแพลตฟอร์มหุ่นยนต์แบบแยกส่วนเพื่อให้บริการด้านการสัญจรที่แตกต่างกันออกไป โดยโมดูลที่เรียกว่า Plug & Drive หรือ PnD เป็นแพลตฟอร์มหุ่นยนต์แบบ Single-wheel ที่จะผสานระบบขับเคลื่อนอัจฉริยะ,การเบรก และ ระบบกันสะเทือน เข้ากับระบบขับเคลื่อนไฟฟ้า, กล้อง และ เซนเซอร์ Lidar ที่ทำงานโดยอัตโนมัติ เพื่อนำมาใช้ในการพัฒนาผลงานด้านโลจิสติกส์ที่ยิ่งใหญ่ขึ้นกว่าเดิม และ บริการขนส่งต่าง ๆ เช่น การใช้แอปพลิเคชันเพื่อเชื่อมต่อเข้ากับหุ่นยนต์สี่ขาที่มีลักษณะคล้ายสุนัขในชื่อ Spot ซึ่งเป็นหนึ่งในโปรเจกต์ที่จะช่วยพัฒนาให้แนวความคิด Metamobility ขององค์กรเกิดขึ้นได้จริงในอนาคตอันใกล้นี้