🇺🇸 United States

รู้ก่อนได้เปรียบ! ชวนทำความรู้จัก '3 ดัชนีสำคัญ' สำหรับนักลงทุน

CryptoSiam ชวนส่อง '3 Indicator สำคัญ'

นักลงทุนห้ามพลาด! CryptoSiam ชวนส่อง '3 Indicator สำคัญ' ไว้ใช้สำหรับเฝ้าระวังสภาวะเศรษฐกิจถดถอยในสหรัฐ !!

ดูเหมือนว่าสภาวะเงินเศรษฐกิจถดถอยในสหรัฐที่นักวิเคราะห์หลายรายได้ทำนายเอาไว้จะยังไม่เกิดขึ้น หลังจากที่ตัวเลขอัตราการเติบโตของตลาดทุนและตลาดแรงงานในประเทศกลับดีขึ้นอย่างน่าประหลาดใจ

แต่ถึงแม้ในขณะนี้เศรษฐกิจในสหรัฐจะดูดีขึ้นมากกว่าในช่วงต้นปี แต่ก็ไม่สามารถปฏิเสธได้ว่าวิกฤติดังกล่าวก็ยังไม่หายไปไหน เพียงแค่รอเวลาให้เกิดขึ้นเท่านั้น

ทั้งนี้การเตรียมพร้อมรับมือกับสถานการณ์ที่อาจเกิดขึ้นจึงเป็นเรื่องสำคัญสำหรับนักลงทุนทุกคน ทาง CryptoSiam จึงได้หยิบเอา 3 indicator alert หรือสามสัญญาณเตือนที่สำคัญสำหรับการเตรียมพร้อมรับมือวิกฤติเงินเฟ้อ จาก Cointelegraph มาแชร์ให้กับทุกท่าน

Inverted Yield Curve

Yield Curve แสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ระหว่างอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลแบบระยะสั้นและระยะยาว ซึ่งตามปกตินั้น Yiel Cuve จะอยู่ในลักษณะลาดชันขึ้น ซึ่งแสดงถึงอัตราผลตอบแทนระยะยาวที่สูงกว่าอัตราผลตอบแทนระยะสั้น เนื่องจากนักลงทุนจะต้องรับความเสี่ยงตามความยาวนานของระยะเวลาที่ถือ

ดังนั้นการที่เส้นดังกล่าวมีลักษณะลาดชันลงไปจนถึงแนวดิ่ง ย่อมแสดงให้เห็นว่าในขณะนี้นักลงทุนส่วนมากมองเห็นว่าสภาพเศรษฐกิจในระยะสั้นนั้นมีความเสี่ยงมากกว่า จึงย้ายเงินจำนวนมากไปลงทุนในอนาคตมากกว่า

Leading economic indicators (LEI)

Leading economic indicators หรือ ดัชนีชี้นำภาวะเศรษฐกิจ ที่จัดทำขึ้นโดย The Conference Board (ในสหรัฐ)  ซึ่ง LEI เป็นดัชนีที่รวบรวมดัชนีหลายอย่าง เช่น ดัชนีจำนวนพื้นที่ที่ได้รับอนุญาตให้มีการก่อสร้างใหม่, ดัชนีราคาหุ้นตลาดหลักทรัพย์ฯ, ดัชนีมูลค่าการส่งออก และอื่นๆอีกมากมาย รวมเข้ามาเพื่อคำนวนหาแน้วโน้มการเติบโตและถดถอยของเศรษฐกิจในประเทศโดยรวม

<i>ภาพรวมดัชนี LEI ในเดือนมิถุนายน<br>รูปภาพ:&nbsp;The Conference Board </i>
ภาพรวมดัชนี LEI ในเดือนมิถุนายน
รูปภาพ: The Conference Board

ดังนั้น การที่เส้นดัชนี LEI เริ่มกลับตัวไปในเชิงลบหรือมีลักษณะดิ่งลง อาจสื่อได้ถึงสัญญาณของภาวะเศรษฐกิจที่กำลังถดถอยมากขึ้น แต่อย่างไรก็ตาม การติดตามแค่ผลสรุป LEI อย่างเดียวอาจจะความล่าช้ามากกว่าการติดตามดัชนีอื่นๆที่ถูกนำมาคำนวน

Purchasing Managers’ Index (PMI)

PMI หรือ Purchasing Managers’ Index เป็นดัชนีที่แสดงให้เห็นถึงสภาวะทางเศรษฐกิจภาคการผลิตและบริการในสหรัฐ หรือพูดง่ายๆคือดัชนีที่วัดสุขภาพทางเศรษฐกิจในประเทศ โดยที่จะมีการแยกย่อยออกไปเป็นอีกหลายดัชนีตามข้อมูลที่ได้รับมาจากการทำแบบสำรวจ  อย่างเช่น ยอดสั่งซื้อใหม่, ปริมาณสินค้าคงคลัง, ภาคการผลิต, การบริการ และการจ้างงาน เป็นต้น

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง: ISM Manufacturing Index และ ISM Services Index (PMI)

โดยในเดือนกรกฏาคมที่ผ่านมา ค่า Manufacturing PMI จาก The S&P Global U.S ตกลงมาจาก 46.9 เมื่อเดือนมิถุนายน มาอยู่ที่ร้อยละ 46.0 แสดให้เห็นถึงการเติบโตทางเศรษฐกิจที่กำลังเริ่มช้าลง ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อความต้องการทางด้านการส่งออกในประเทศ

ติดตาม CryptoSiam
เพื่อให้ไม่พลาด ทุกข่าวสาร วงการคริปโต

ข้อจำกัดความรับผิดชอบ: การลงทุนมีความเสี่ยงสูง ดังนั้น ผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูลอย่างละเอียดก่อนการลงทุนทุกครั้ง

ข้อมูลในบทความนี้มีจุดประสงค์ในการให้ข้อมูลเท่านั้น Cryptosiam ไม่รับประกันความสมบูรณ์ ความถูกต้อง หรือความน่าเชื่อถือของข้อมูลดังกล่าว และไม่มีสิ่งใดในบทความนี้ที่ควรใช้เป็นคำแนะนำหรือชักชวน ให้ซื้อหรือขายคริปโต รวมทั้งการประเมินใดๆ ไม่มีข้อความใดในบทความที่ถือเป็นคำแนะนำทางกฎหมาย วิชาชีพ การลงทุน และ/หรือทางการเงิน และ/หรือคำนึงถึงความต้องการเฉพาะ และ/หรือข้อกำหนดของแต่ละบุคคล

Cryptosiam และบริษัทในเครือ ขอปฏิเสธความรับผิด หรือความรับผิดชอบทั้งหมดเกี่ยวกับเนื้อหาของบทความ และการดำเนินการใดๆ กับข้อมูลในบทความนั้น เป็นความเสี่ยงของผู้อ่าน และถือเป็นความเสี่ยงแต่เพียงผู้เดียว

แท็ก:
ข่าวต่อไป

บทความที่เกี่ยวข้อง

เปิดลิสต์ 6 คริปโตเหรียญดัง RSI เข้าใกล้สัญญาณขาย พร้อมอีก 2 เหรียญเข้าสู่ ‘Oversold’ เรียบร้อย
ชวนส่อง! 1 เหรียญ Altcoin ที่กำลังถูกเหล่า 'วาฬ' จับตาอย่างใกล้ชิด
พ่อรวย ตอกกลับ! แทนที่จะอยากรู้ราคา 'ตลาดในอนาคต' ว่าจะเป็นอย่างไร
สำเนาของ Rectangle Template   2023 09 19 T111904.117