อดีตเลขาฯ ก.ล.ต.ไทยชี้ปัญหาภาษีคริปโต 3 ข้อใหญ่
ทิศทางการกำกับดูแลคริปโตในไทยจะดำเนินต่อไปอย่างไร หลังอดีตเลขาฯก.ล.ต.ได้ออกมาชี้ทางออกแก้ไขปัญหาภาษีคริปโต 15% ให้กับกรมสรรพากร
ทิศทางการกำกับดูแลคริปโตในไทยจะดำเนินต่อไปอย่างไร หลังอดีตเลขาฯก.ล.ต.ได้ออกมาชี้ทางออกแก้ไขปัญหาภาษีคริปโต 15% ให้กับกรมสรรพากร
รายงานจากสำนักข่าว Nation ระบุว่า นางทิพยสุดา ถาวรามร กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ (ด้านเศรษฐกิจการเงิน) สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (ETDA) และอดีตรองเลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ออกมาตั้งคำถาม และแสดงความคิดเห็นต่อการตัดสินใจของกรมสรรพากรในระหว่างการหารือถึงข้อกำหนดเรียกเก็บภาษีคริปโตในไทย ระบุว่า
“ไม่ว่านโยบายดังกล่าวจะช่วยส่งเสริมอุตสาหกรรมการค้าได้หรือไม่ก็ตาม กรมสรรพากรควรเก็บภาษีประชาชนอย่างเป็นธรรมภาใต้หลักเกณฑ์ และแนวทางปฏิบัติที่ชัดเจน”
ทั้งนี้อดีตรองเลขาธิการก.ล.ต.ยังได้ชี้ให้เห็นถึงปัญหาภาษีคริปโต 3 ข้อสำคัญที่กรมสรรพากรแห่งประเทศไทย และประเทศอื่น ๆ ควรนำไปพัฒนา
ปัญหาภาษีคริปโต 3 ข้อใหญ่มีอะไรบ้าง?
อดีตรองเลขาฯ ก.ล.ต. ได้ออกมาโพสต์ลงบนเฟซบุ๊กส่วนตัวของเธอ พร้อมระบุถึงปัญหา 3 ข้อสำคัญที่กรมสรรพากรควรนำไปปรับปรุง ได้แก่ ภาษีกำไรจากการขาย (Capital gains tax), ภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) และ ภาษีจากการออกและเสนอขาย Token โดยเธอได้อธิบายถึงรายละเอียดของปัญหาต่าง ๆ ดังนี้
ปัญหาจากการเก็บภาษีกำไรจากการขาย (Capital gains tax)
การเรียกเก็บภาษีจากกำไรในการซื้อขายคริปโตของกรมสรรพากรที่เกิดชึ้นนั้นคุณทิพยสุดามองว่าเป็นไปอย่างไม่ยุติธรรม และนำไปใช้จริงไม่ได้ เนื่องด้วยแพลตฟอร์มแลกเปลี่ยนคริปโตนั้นเป็นเพียงสื่อกลางไม่ใช่ผู้รับผิดชอบในการจ่ายกำไรในการลงทุนให้แก่ลูกค้า นอกจากนี้เธอยังได้อธิบายถึงความยุ่งยากในการจัดเก็บภาษีในรูปแบบนี้ที่อาจส่งผลให้บริษัทผู้ให้บริการการชำระเงินด้วยคริปโตจำเป็นต้องเก็บภาษีจากกำไรผลกำไรจากส่วนต่างของราคาหลักทรัพย์ (Capital Gain) จากลูกค้าด้วยเช่นเดียวกัน ดังนั้นทางออกที่เหมาะสมสำหรับปัญหาในข้อนี้นั้นมีทั้งหมด 3 ทางด้วยกัน ได้แก่ ละเว้นการเก็บภาษีคริปโตเหมือนกับที่ละเว้นไม่เก็บภาษีจากการถือหุ้น, ควรเก็บภาษีจาก Net gain ทั้งปีเพื่อไม่ต้องทำการหักภาษี ณ ที่จ่าย และวิธีสุดท้ายคือการเก็บภาษีในรูปแบบ transaction tax จากมูลค่าการซื้อขายแทน
ปัญหาจากภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT)
ปัญหาในหัวข้อนี้ คุณทิพยสุดา ได้ยกตัวอย่างการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT/GST) ให้กับนักลงทุนคริปโตในประเทศสิงคโปร์ และออสเตรเลีย เพื่อเรียกร้องให้กรมสรรพากรนำไปปรับใช้เพื่อส่งเสริมให้เกิดการยอมรับคริปโตในประเทศเพิ่มมากขึ้น เนื่องจากในปัจจุบันทางหน่วยงานยังคงมองว่าคริปโตเป็นสินค้าไม่ใช้สินทรัพย์ ซึงส่งผลกระทบร้ายแรงต่อธุรกิจคริปโตในวงกว้าง อาจทำให้บริษัทต่าง ๆ หนีไปจดทะเบียนตั้งบริษัทนอกประเทศก็เป็นได้
ปัญหาจากภาษีจากการออกและเสนอขาย Token
ทั้งนี้ในประเด็นสุดท้าย คุณทิพยสุดา เผยถึงการหารือกับกรมสรรพากรเมื่อ 3 ปีที่ผ่านมาถึงกรณีการออก Investment Token ที่ไม่ควรถือเป็นเงินได้ในการนำมาคำนวณภาษี แต่ทว่าจนถึงปัจจุบันทางหน่วยงานก็ยังไม่ได้มีการออกมาเปลี่ยนแปลงกฎระเบียบในประเด็นนี้แต่อย่างใด ซึ่งนั่นอาจสร้างความวุ่นวายครั้งใหญ่ให้กับอุตสาหกรรมคริปโตในอนาคตได้
อย่างไรก็ตามเธอได้กล่าวทิ้งท้ายการสรุปประเด็นทั้งหมดว่าทางกรมสรรพากรควรแยกแยะประเด็นให้ดี ไม่ควรนำไปปนกัน โดยให้คำนึงถึงประเด็นคำถามทั้ง 4 ช้อ ได้แก่ เป็นธรรมหรือไม่? (Fairness), ชัดเจนหรือไม่? (Clarity), ปฏิบัติได้หรือไม่? (Practicability) และส่งเสริมอุตสาหกรรมนี้หรือไม่? (Promotion)
ล่าสุดทางรัฐบาลไทยได้ออกมาเคลื่อนไหวต่อประเทศการเก็บภาษี 15% จากการซื้อขายคริปโต โดยผู้ประกอบการด้านการเงินทั้งในอดีต และปัจจุบันหลายรายต่างก็ออกมาช่วยชี้แนะถึงความกังวลของพวกเขาที่มีต่อปัญหาที่เกิดขึ้น โดยเมื่อวันที่ 16 มกราคม ที่ผ่านมา ดร.ภากร ปีตธวัชชัย กรรมการและผู้จัดการแห่งตลาดหลักทรัพย์ประเทศไทยก็ได้ออกมากล่าวว่าการเรียกเก็บภาษีคริปโตครั้งนี้จะบ่อนทำลายการเติบโตของตลาดสินทรัพย์ดิจิทัลอย่างแน่นอน
การขาดความรู้พื้นฐานอาจนำไปสู่การออกข้อกำหนดที่ไม่ชัดเจน
เป็นระยะเวลาหลายปีแล้วที่ประเด็นการยอมรับคริปโตให้กลายเป็นสินทรัพย์ที่ถูกกฎหมายนั้นต้องเผชิญกับอุปสรรคมากมาย ซึ่งดูเหมือนว่าอุปสรรคใหม่ที่เกิดขึ้นนั้นจะเกี่ยวข้องกับการเก็บภาษีคริปโต หลายประเทศทั่วโลกที่มุ่งเน้นจัดเก็บกำไรจากการซื้อขายคริปโตโดยส่วนใหญ่นั้นมักขาดความรู้พื้นฐานในตัวสินทรัพย์ดังกล่าว ส่งผลให้เกิดความยกลำบากในการกำหนดนโยบายการเก็บภาษีที่เป็นธรรม นอกจากประเทศไทยแล้ว ทางด้านสาธารณรัฐเกาหลี หรือ เกาหลีใต้ก็เป็นอีกหนึ่งประเทศที่มีการเสนอให้เก็บภาษีคริปโต 20% จากกำไรการเทรดคริปโตเช่นกัน อย่างไรก็ตามกฎระเบียบในข้อนี้ถูกลงมติให้เลื่อนกำหนดการปรับใช้ออกไปอีก 1 ปีเนื่องจากขาดความชัดเจน