Estée Lauder หัวใส! ผนวกอุตสาหกรรมความงาม เข้ากับ Blockchain
Estée Lauder ผู้ผลิตสินค้าด้านความงามอันเลื่องชื่อ ได้หันมาใช้เทคโนโลยี Blockchain เพื่อช่วยเพิ่มความสามารถในการบริหารจัดการและติดตามห่วงโซ่อุปทานได้อย่างใกล้ชิด
Estée Lauder ผู้ผลิตสินค้าด้านความงามอันเลื่องชื่อ ได้หันมาใช้เทคโนโลยี Blockchain เพื่อช่วยเพิ่มความสามารถในการบริหารจัดการและติดตามห่วงโซ่อุปทานได้อย่างใกล้ชิด
Estée Lauder Companies (ELC) บริษัทสัญชาติอเมริกันยักษ์ใหญ่ผู้ผลิต และดูแลการตลาดให้กับผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางค์, ผลิตภัณฑ์ดูแลผิว, น้ำหอม และผลิตภัณฑ์ดูแลเส้นผมได้ติดตั้งแพลตฟอร์ม Blockchain ในการตามหาแหล่งที่มาของส่วนผสมที่มีอยู่ในผลิตภัณฑ์ดูแลผิวอย่าง “Madagascan Vanilla”
วานิลลาเป็นเครื่องเทศชนิดหนึ่งที่ถือกำเนิดขึ้นจากต้นกล้วยไม้ และมักถูกนำมาใช้เป็นน้ำมันหอมระเหยในผลิตภัณฑ์ความงาม โดย Estée Lauder ใช้วานิลลาเป็นส่วนผสมในผลิตภัณฑ์ของ Aveda แบรนด์จัดจำหน่ายเครื่องสำอางค์จากธรรมชาติที่โด่งดังในหมู่บริษัทผลิตภัณฑ์ความงามขององค์กร
ความเข้าใจในห่วงโซ่อุปทานที่เป็นไปในทิศทางที่ดีขึ้น
การทดลองนำระบบ Blockchain มาใช้นั้น มีสาเหตุมาจากการที่ทางบริษัท ELC พยายามปรับปรุงวิธีการตรวจสอบความถูกต้อง และคุณภาพของวานิลลาที่ใช้เป็นส่วนผสมในผลิตภัณฑ์ ด้วยเหตุนี้จึงทำให้ทางองค์กรเกิดความเข้าใจถึงสิ่งต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นภายในห่วงโซ่อุปทานของพวกเขาได้ดียิ่งขึ้น
โดยทาง Estée Lauder Companies ได้ระบุไว้ในคำแถลงการณ์ ว่า
“Tracking Technology ช่วยให้ทางองค์กรสามารถตรวจสอบการปฏิบัติงานตามมาตรฐานจรรยาบรรณคู่ค้า (Supplier Code of Conduct), สร้างการบันทึกข้อมูลของห่วงโซ่ที่ไม่สามารถแก้ไขได้”
นอกจานี้ทางผู้ผลิตรายดังกล่าวยังมองว่าโครงการนำร่อง Blockchain ในครั้งนี้จะเป็นตัวแปรสำคัญที่เข้ามาเปลี่ยนแปลงอุตสาหกรรมความงามไปโดยสิ้นเชิง มากไปกว่านั้นโครงการดังกล่าวยังเป็นก้าวสำคัญในการบรรลุวัตถุประสงค์ด้านการพัฒนาแผนปฏิบัติการทางสังคมที่แข็งแกร่ง และความหลากหลายทางชีวภาพสำหรับส่วนผสมที่มีความละเอียดอ่อนต่อห่วงโซ่อุปทานภายในปี 2025 อีกด้วย
ความซับซ้นของวานิลลาในห่วงโซ่อุปทาน
ELC ยอมรับว่าการสรรหาวานิลลานั้นไม่ใช่เพียงแค่เดินเข้าไปในสวนแล้วจะได้วัตถุดิบเหล่านั้นมา แต่มันยังต้องเผชิญกับปัญหาอื่น ๆ ที่ตามมา เช่น เกษตรประณีต (Intensive Farming) หรือการเกษตรที่ต้องการผลผลิตต่อหน่วยพื้นที่ในอัตราสูงด้วยการใช้วิชาการทางวิทยาศาสตร์เข้าช่วย ซึ่งหมายถึงความต้องการในการปลูกพืชในพื้นที่เดิม ๆ ซ้ำได้หลายต่อหลายครั้ง นอกจากนี้ยังมีประเด็นด้านความท้าทายทางสภาพอากาศ และความผันผวนของราคา
ดังนั้น ทางบริษัทจึงมองว่าระบบตรวจสอบย้อนหลังแบบดิจิทัลที่อยู่ในรูปแบบแพลตฟอร์ม Blockchain เปรียบเสมือนแนวทางการแก้ไขปัญหาที่เป็นมิตร เพื่อให้ผู้ปฏิบัติงานได้ขยายมุมมองที่จำเป็นให้ชัดเจนขึ้นเพื่อช่วยอำนวยความสะดวกให้กับการบริหารจัดการ
โครงการนี้ได้เริ่มดำเนินการไปแล้ว โดยมีเกษตรกรรายย่อยชาวมาดากัสการ์กว่า 450 รายที่เข้าร่วมในโครงการดังกล่าว โครงการ Blockchain นั้นต้องการแค่เพียงใช้บัตรประจำตัวประชาชน และมอบแอปพลิเคชันบนมือถือให้กับเหล่าเกษตรกรเพื่อทำการติดตามผลผลิตเท่านั้น
เทคโนโลยีล้ำสมัยชิ้นนี้สามารถช่วยให้องค์กรตรวจสอบคุณภาพ และแหล่งที่มาของวานิลลาจากเกษตรกรไปจนถึงโรงงานผลิตในเมืองกราซ (Grasse) ประเทศฝรั่งเศส และโรงงานผลิตของแบรนด์ Aveda ในรัฐมินนิโซตา (Minnesota) ประเทศสหรัฐอเมริกา