รีวิว DApp ฉบับรวบรัดตอน 1 : Uniswap
รู้จักกับกระดานซื้อขายเหรียญคริปโตแบบ Decentralized ค่าธรรมเนียมต่ำแถมควบคุมเหรียญได้ดั่งใจ พร้อมระบบ Staking
รู้จักกับกระดานซื้อขายเหรียญคริปโตแบบ Decentralized ค่าธรรมเนียมต่ำแถมควบคุมเหรียญได้ดั่งใจ พร้อมระบบ Staking
“Decentralized Application”
แอพลิเคชั่นบนเครือข่าย Blockchain หรือ Decentralized Application (DApp) นั้นเป็นการใช้งานแพลตฟอร์มเหรียญที่สามารถเขียน Smart Contract ได้เช่น Ethereum หรือ Stellar ในการสร้างสรรคแอพลิเคชั่นที่สามารถดำเนินการได้ด้วยตัวโปรแกรมเองบนเครือข่าย Blockchain ตามที่ได้เขียนโปรแกรมไว้
โค้ดของโปรแกรมเหล่านี้สามารถเข้าถึงได้จากทุกคนในเครือข่าย และด้วยข้อดีของระบบ Decentralized ทำให้การเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นบนระบบนั้นต้องอาศัยความยินยอมหรือ Consensusจากทุกคนบนเครือข่ายที่เกี่ยวข้องนั่นเอง ดังนั้นบทความนี้ตั้งใจที่จะพาผู้อ่านมาทำความรู้จักกับแอพลิเคชั่นบน Blockchain หรือ DApp ที่ได้รับความนิยมอย่าง Uniswap
Uniswap
แพลตฟอร์ม Uniswap นั้นเป็นแพลตฟอร์มการซื้อขายแลกเปลี่ยนสกุลเงินคริปโต (Decentralized Exchange หรือ DEX ) ที่ได้รับการพูดถึงในบทความของ Cryptosiam ไปก่อนหน้าหลายครั้ง โดยความน่าสนใจของแอพพลิเคชั่นดังกล่าวนี้คือการที่ Uniswap นั้นอาศัยข้อดีของ Blockchain ในการสร้างระบบPool สำหรับการซื้อขายแลกเปลี่ยนเหรียญคริปโตต่างสกุลขึ้นมาเพื่อแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นกับ Exchange ทั่วไปอย่างปัญหาด้านสภาพคล่องที่ต่ำ และค่าธรรมเนียมที่สูง รวมทั้งเวลาที่ใช้ในการจับคู่ซื้อขายซึ่งเกิดขึ้นทันทีอีกด้วย
การทำงานของระบบ Liquidity Pool นั้นเป็นการที่เจ้าของเหรียญซึ่งยังไม่ต้องการซื้อขายแลกเปลี่ยนเหรียญนั้นได้ฝากเหรียญไว้ใน Pool ของเหรียญประเภทนั้นๆ เพื่อการ Staking โดยเหรียญที่ถูกใส่ลงไปนั้นจะเข้าไปช่วยเพิ่มสภาพคล่องของแพลตฟอร์ม DEX โดยแลกกับรางวัลเป็นเหรียญ UNI ในฐานะค่าธรรมเนียมนั่นเอง โดยฟังชั่งดังกล่าวนั้นแยกออกจากการซื้อขายที่เกิดขึ้นเพียงแค่การเชื่อมต่อ Ethereum Wallet ของตนกับ Uniswap เท่านั้น
พื้นฐานของ Uniswap
แพลตฟอร์ม Uniswap นั้นถูกสร้างขึ้นบนเครือข่าย Ethereum ซึ่งใช้มาตรฐาน ERC-20 ดังนั้นแล้วเหรียญที่ถูกสร้างเพื่อใช้งานเป็นทั้ง Governance Token และ Utility Token อย่าง UNI ของแพลตฟอร์มเองจึงเป็นเหรียญที่ถูกสร้างขึ้นบนมาตรฐานเดียวกันด้วย ดังนั้นการที่จะมีการใช้งานซื้อขายผ่านแพลตฟอร์มนี้ได้จึงต้องเป็นเหรียญที่ถูกสร้างไว้บนเครือข่าย Ethereum นั่นเอง
โดยปกติแล้ว Governance Token จะไม่มีมูลค่าในตัวเองโดยเน้นการเป็นเหรียญที่ให้ “สิทธิ”ผู้ถือในการมีส่วนรวมในการบริหารจัดการระบบ ไม่ว่าจะเป็นการโหวตหรือการในอีกด้านหนึ่ง Utility Token นั้นจะเป็นเหรียญที่มีมูลค่าเพื่อการใช้งานบนแพลตฟอร์ม ซึ่งมูลค่าดังกล่าวนี้อาจเป็นมูลค่าที่เปลี่ยนแปลงตามราคาตลาดหรือมูลค่าซึ่งผู้สร้างได้ใส่ไว้เพื่อจุดประสงค์บางประการเช่นเป็นแต้มสะสมสำหรับการใช้สิทธิพิเศษ เป็นต้น ทั้งนี้เหรียญ UNI นั้นกลับทำหน้าที่ทั้งสองประเภทซึ่งส่งผลให้เกิดปัญหาด้านราคานั่นเอง