ธนาคารกลางทั่วโลก 9 ใน 10 เล็งเปิดตัว CBDC
ผลการศึกษาของ BIS ชี้ชัดธนาคารกลางจำนวนมากเล็งเปิดตัว CBDC ของตน ทั้งยังมองว่า CBDC จะช่วยผู้คนให้เข้าถึงระบบการเงินที่ดีได้มากขึ้น
ผลการศึกษาของ BIS ชี้ชัดธนาคารกลางจำนวนมากเล็งเปิดตัว CBDC ของตน ทั้งยังมองว่า CBDC จะช่วยผู้คนให้เข้าถึงระบบการเงินที่ดีได้มากขึ้น
ธนาคารารเพื่อการชำระหนี้ระหว่างประเทศ (Bank for International Settlement: BIS) ได้ออกมาเผยผลการศึกษาอันน่าทึ่ง ซึ่งระบุว่ากว่า 90% ของธนาคารกลางทั่วทุกมุมโลกมีความตั้งใจที่จะเปิดตัวสกุลเงินดิจิทัลของธนาคารกลาง หรือ Central Bank Digital Currencies (CBDCs)
แทบทุกประเทศเล็งเปิดตัว CBDC
การศึกษาครั้งนี้ของ BIS ได้สำรวจธนาคารกลางทั้งสิ้น 81 แห่ง โดยเน้นไปยังประเด็นของการมีส่วนร่วมในการสร้าง CBDC โดยเฉพาะ ซึ่งรวมไปถึงความตั้งใจ และแรงจูงใจในการออก CBDC ที่ซึ่งประเทศจีนได้พุ่งล้ำนำหน้าไปไกลด้วยหยวนดิจิทัลแล้ว
โดยภายในรายงานล่าสุดของธนาคารเพื่อการชำระหนี้ระหว่างประเทศ ได้ข้อสรุปว่า
“ธนาคารกลาง 9 ใน 10 แห่งกำลังทำการสำรวจการสร้างสกุลเงินดิจิทัลของธนาคารกลาง และมากกว่าครึ่งกำลังลงมือพัฒนาหรือดำเนินการทดลองที่เป็นรูปธรรมแล้ว”
อะไรทำให้ธนาคารกลางทั่วโลกสนใจ CBDC
ทาง BIS พบว่าการเกิดขึ้นของ Cryptocurrencies นานาชนิด ไม่เว้นแม้แต่เหล่า Stablecoin ผนวกเข้ากับการระบาดใหญ่ของ Covid-19 ที่สร้างวิถีการใช้ชีวิตใหม่แบบ New Normal ได้เป็นตัวเร่งชั้นดีที่ส่งผลในนานาประเทศเดินทัพขับเคลื่อนโครงการ CBDC ของพวกเขา โดยเฉพาะอย่างยิ่งประเทศชั้นแนวหน้าที่มีระบบเศรษฐกิจขั้นสูง นอกจากนี้ Retail CBDC นั้นก็ได้รับความสนใจมากขึ้นเรื่อย ๆ อีกด้วย
“มากกว่าสองในสามของธนาคารกลางทั่วโลกพิจารณาว่าพวกเขามีแนวโน้มที่จะหรืออาจจะออก Retail CBDC ในระยะสั้นหรือระยะกลาง”
ธนาคารกลางมองว่า CBCD คือยาชั้นดีสำหรับระบบการเงิน
เพราะว่า CBDC นั้นถูกออกแบบให้เป็นสินทรัพย์ดิจิทัลที่เชื่อมโยงกับสินทรัพย์ในโลกแห่งความเป็นจริง ซึ่งได้รับการสนับสนุนโดยตรงจากธนาคารกลาง นั่นก็หมายความว่า CBDC เหล่านี้ก็จะทั้งสามารถทำงานในลักษณะเดียวกันกับการใช้งานของธนบัตรที่ธนาคารกลางจะเป็นผู้ควบคุมอุปทานทั้งหมด แถมยังมีข้อดีเพิ่มเติมจากการท่องอยู่บนโลกดิจิทัลอีกด้วย
โดยการรายงานของ BIS ระบุว่า
“ธนาคารกลางจำนวนมากพิจารณาว่า CBDC สามารถบรรเทาความรุนแรงของปัญหาดั้งเดิมที่สำคัญลงไปได้ เช่น ชั่วโมงการทำงานที่จำกัดของระบบการชำระเงินปัจจุบัน และความยาวของห่วงโซ่ธุรกรรมปัจจุบัน”
ทั้งนี้เมื่อเปิดตัวแล้ว เหล่าธนาคารกลางทั้งหลายยังคาดการณ์เอาไว้ว่า CBDCs จะสามารถผลักดันการลดความเหลื่อมล้ำทางการเงิน (Financial Inclusion) ของผู้คนเกือบ 1.7 พันล้านคนที่เข้าไม่ถึงระบบธนาคารให้กลับมามีความสะดวกสบายมากขึ้น