การศึกษาพบว่าเครือข่าย Wireless 5G มีผลกระทบต่อสุขภาพ
มีเพียงไม่กี่คนเท่านั้นที่รู้ถึงผลกระทบทต่อสุขภาพที่อาจจะเกิดขึ้นจากการแผ่รังสีคลื่นวิทยุของเครือข่าย Wireless 5G
มีเพียงไม่กี่คนเท่านั้นที่รู้ถึงผลกระทบทต่อสุขภาพที่อาจจะเกิดขึ้นจากการแผ่รังสีคลื่นวิทยุของเครือข่าย Wireless 5G
งานวิจัยจากมหาวิทยาลัย Oregon State ได้ทำการศึกษาเกี่ยวกับผลกระทบของการแผ่รังสีคลื่นวิทยุที่เกิดจากการใช้งานเทคโนโลยีไร้สาย ซึ่งในอนาคตจะกลายมาเป็นมาตรฐานใหม่ของโทรศัพท์มือถือในไม่ช้า โดยระบุว่ามีผลกระทบต่อสุขภาพจริงแต่ก็ยังอยู่ในระดับที่เล็กน้อยเท่านั้น
เราอาจจะยังรู้จักเทคโนโลยีการสื่อสารชนิดนี้ไม่ดีพอ
Generation ที่ 5 ของการสื่อสาร หรือที่เรารู้จักกันดีในนามเทคโนโลยีไร้สาย 5G เริ่มถูกกระจายไปใช้งานอย่างแพร่หลายทั่วโลกตั้งแต่ปี 2019 ซึ่งผลของมันก็ดีจะให้บริการการเชื่อมต่อที่เร็วขึ้นและเพิ่มคลื่นความถี่ให้กว้างขึ้น เพื่อเพิ่มความเร็วในการดาวน์โหลดข้อมูลให้สูงขี้นนั่นเอง
แต่เนื่องจากเทคโนโลยี 5G นั้นยังเป็นเรื่องที่ค่อนข้างใหม่ จึงมีเพียงไม่กี่คนเท่านั้นที่รู้ถึงผลกระทบที่มีต่อสุขภาพจากการแผ่รังสีคลื่นวิทยุดังกล่าว ซึ่งมีค่าคลื่นความถี่สูงขึ้นกว่ามาตรฐานเดิมในอุตสาหกรรม 4G โดยงานวิจัยของมหาวิทยาลัย Oregon State ได้เริ่มพิสูจน์สิ่งเหล่านี้
ดีที่โชคยังเข้าข้าง
“จากการศึกษาพวกเราไม่คิดว่ารังสี 5G อันตรายขนาดนั้น”
นาย Subham Dasgupta ผู้ร่วมทำการวิจัยในห้องทดลองของ Robyn Tanguay ที่มหาวิทยาลัย Oregon State กล่าวว่า
“มันมีความปลอดภัยกว่าที่เราคาดการณ์ไว้"
นักวิจัยได้ทำการวิจัยโดยการใช้ตัวอ่อนของปลาม้าลาย ซึ่งเป็นสิ่งมีชีวิตที่มักนำมาใช้เป็นตัวอย่างในการทดลองเพื่อค้นหาปฏิสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยทางสิ่งแวดล้อมและชีววิทยาเชิงระบบ เนื่องจากปลาม้าลายและมนุษย์มีขั้นตอนการพัฒนาทางกายภาพที่คล้ายคลึงกันและยังมีความคล้ายกันในระดับพันธุกรรมอีกด้วย นั่นหมายความว่าการทำวิจัยในปลาม้าลายก็สามารถนำไปปรับใช้กับมนุษย์ได้อย่างง่ายดาย
งานวิจัยดังกล่าว ได้ถูกตีพิมพ์ในวันที่ 14 กรกฎาคม ปี 2020 ลงในวารสาร PLOS ONE ทางด้านนักวิจัยได้มีการเปิดเผยผลการทดลองตัวอ่อนของปลาม้าลายที่ใช้ชีวิตอยู่ในคลื่นความถี่ 3.5 GHz เป็นเวลาสองวัน ซึ่งโดยปกติแล้วคลื่นความถี่นี้มักใช้กับโทรศัพท์มือถือที่สามารถเปิดใช้งานในรูปแบบ 5G ได้
เหล่านักวิจัยค้นพบว่าไม่มีผลกระทบที่รุนแรงจนส่งผลให้เกิดการเสียชีวิต โดยวัดจากวิธีการเกิดของตัวอ่อนหรือการตอบสนองในเชิงพฤติกรรมของตัวอ่อนที่มีต่อแสง พวกเขายังค้นพบผลกระทบจากการทดลองเพียงเล็กน้อยที่ใช้ทดสอบตัวอ่อนในการตอบสนองต่อเสียงอย่างฉับพลัน ซึ่งพวกเขาจะทำการศึกษาเพิ่มเติมในภายหลัง
การวิจัยครั้งนี้ยังต้องดำเนินต่อไป
ในอนาคต งานวิจัยดังกล่าวจะทำการศึกษาในเรื่องผลกระทบจากรังสี 5G จากปลาม้าลายที่ถูกใช้ในการทดลองครั้งนี้และศึกษาพัฒนาการของปลาม้าลายจากตัวอ่อนไปสู่ตัวเต็มวัย โดยนาย Dasgupta ได้กล่าวไว้ว่า
นักวิจัยยังต้องการที่จะศึกษาผลกระทบของการเพิ่มค่าความถี่และเพิ่มระดับการความเข้มข้นของคลื่นเหล่านั้นกับเหล่าปลาม้าลายที่พวกเขาทดลองเพื่อให้ได้ผลการทดลองที่ทันกับการเปลี่ยนแปลงในอุตสาหกรรมโทรศัพท์มือถือที่กำลังดำเนินไปอย่างรวดเร็ว
การวิจัยในอนาคตจะใช้การตั้งค่าด้วยมาตรฐานเดียวกันกับงานวิจัยในปัจจุบัน โดยนำปลาม้าลายไปใส่ไว้บนถาดทดลองที่อยู่ภายในกล่องที่ทำจากทองแดง ซึ่งรังสีจะแผ่เข้าไปภายในกล่องผ่านสายอากาศและทองแดงที่อยู่ภายในกล่องนั้น