Meta เล็งเปิดตัว AI ที่เร็วที่สุดในโลกกลางปีนี้
บริษัทโซเชียลมีเดียรายใหญ่ Meta เล็งเปิดตัว AI ในชื่อ RSC ซึ่งเป็น Supercomputer ตัวใหม่คาดเร็วที่สุดในโลกพร้อมเปิดให้ใช้งานได้อย่างสมบูรณ์ภายในกลางปีนี้
บริษัทโซเชียลมีเดียรายใหญ่ Meta เล็งเปิดตัว AI ในชื่อ RSC ซึ่งเป็น Supercomputer ตัวใหม่คาดเร็วที่สุดในโลกพร้อมเปิดให้ใช้งานได้อย่างสมบูรณ์ภายในกลางปีนี้
บริษัทแม่ Facebook อย่าง Meta เล็งเปิดตัว AI หรือ ปัญญาประดิษฐ์ตัวใหม่เพื่อปูทางไปสู่การสร้าง Metaverse ในชื่อ Research SuperCluster (RSC) เมื่อวันจันทร์ที่ 24 มกราคม ที่ผ่านมา โดยทางองค์กรเชื่อมั่นว่า RSC จะเป็นหนึ่งใน Supercomputer ที่ทำงานได้เร็วที่สุดในโลก และจะสามารถก้าวขึ้นไปเป็นนวัตกรรมอันดับ 1 หลังเปิดให้บริการอย่างสมบูรณ์ในช่วงกลางปี 2022 ที่จะถึงนี้อย่างแน่นอน ซึ่งการพัฒนา AI ระดับสูงเพื่อขึ้นไปยืนยังจุดสูงสุดนั้นจำเป็นต้องใช้คอมพิวเตอร์เครื่องใหม่ที่ทรงพลังมากพอที่จะทำงานได้มากกว่า 10 ล้านครั้งต่อวินาทีขึ้นไป อย่างไรก็ตามทางบริษัทได้ระบุไว้ในคำแถลงการณ์ว่า
“ในที่สุดการพัฒนา RSC ที่เสร็จสมบูรณ์เป็นที่เรียบร้อยก็จะช่วยปูทางไปสู่การสร้างเทคโนโลยีสำหรับแพลตฟอร์มประมวลผลอย่าง Metaverse ที่แอปพลิเคชัน และผลิตภัณฑ์ AI จะเข้ามามีบทบาทสำคัญในการดำเนินการครั้งนี้เป็นอย่างมากนั่นเอง”
Meta เล็งเปิดตัว AI ที่สามารถทำงานบน Metaverse ได้อย่างราบรื่น
ทางด้าน Mark Zuckerberg ซีอีโอแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียชื่อดังได้ออกมาโพสต์ข้อความผ่าน Facebook ในวันอังคารที่ 25 มกราคม ระบุว่านวัตกรรมใหม่ชิ้นนี้จำเป็นต้องใช้พลังงานมหาศาลในการประมวลผล ซึ่ง RSC จะช่วยให้โมเดล AI ระดับสูงเรียนรู้ภาษาที่แตกต่างกันออกไปกว่า 100 รายการ เพื่อนำไปปรับใช้ในระบบจำแนกสิ่งของผ่านการวิเคราะห์ภาพ และวิดีโอ (Computer Vision), ระบบประมวลภาษา (Natural Language Processing) และระบบรู้จำคำพูด (Speech Recognition) ได้นั่นเอง
“องค์กรของเราหวังว่า RSC จะช่วยสร้างระบบ AI ขึ้นมาใหม่ทั้งหมด ให้มีศักยภาพในด้านต่าง ๆ เช่น การแปลเสียงแบบ Real-time ให้กับคนกลุ่มใหญ่ที่พูดกันคนละภาษา เพื่อให้สามารถทำงานร่วมกันในโครงการวิจัย หรือเล่นเกม AR ร่วมกันได้อย่างราบรื่น”
นักวิเคราะห์ชี้ AI ของ Meta อาจไม่ได้เจ๋งอย่างที่คิด
อย่างไรก็ตาม ทาง Meta ไม่ได้ออกมาเปิดเผยว่าคอมพิวเตอร์ดังกล่าวจะถูกติดตั้งไว้ในสถานที่ใด หรือแม้กระทั่งมูลค่าของต้นทุนที่ใช้ในการพัฒนา และสร้างนวัตกรรมชิ้นนี้ขึ้นมา ทางด้าน Camila Russo นักวิเคราะห์ผู้เชี่ยวชาญระบบ DeFi ก็ได้ออกมาเปรียบเทียบว่านวัตกรรมตัวใหม่ของ Meta นั้นถูกสร้างขึ้นมาในพื้นที่ส่วนตัวเพื่อหารายได้จากข้อมูลของผู้ใช้งานบน Metaverse ของตนเอง เทียบกับเครือข่าย Ethereum ที่สร้างคอมพิวเตอร์ระดับโลกในที่สาธารณะเพื่อช่วยให้ผู้ใช้งานควบคุมข้อมูลของตนบน Metaverse ได้
ในเดือนธันวาคม ปี 2021 Raja Koduri รองประธานฝ่ายระบบประมวลผล และกราฟิกแห่ง Intel กล่าวว่าโครงสร้างพื้นฐานด้านคอมพิวเตอร์ในปัจจุบันยังคงต้องได้รับการพัฒนาเพิ่มขึ้นอีกเป็น 1,000 เท่าให้สามารถนำไปใช้ขับเคลื่อน Metaverse ได้ ทั้งนี้ Koduri ได้กล่าวกับ Quartz ในขณะนั้นว่า
“คุณต้องประมวลผลให้ได้เท่ากับ Petaflops (เท่ากับ 1,000 teraflops) ซึ่งจะใช้เวลาน้อยกว่า 10 มิลลิวินาทีในการทำงานแบบ Real-time”