Hardware Wallet คืออะไร? ฮาร์ดแวร์วอลเล็ท ยี่ห้อไหนดี? ปี 2022

รู้จักกับ Hardware Wallet คืออะไร? ความแตกต่างระหว่าง Hardware Wallet VS Software Wallet ข้อดี-ข้อเสีย และ Hardware Wallet ยี่ห้อไหนดี? ติดตามที่นี่!

อย่างที่เราทราบกันดีอยู่แล้วว่า สิ่งของที่มีมูลค่าทุกประเภท ควรมีการเก็บรักษาในพื้นที่ที่ปลอดภัยเพื่อความอุ่นใจ และสามารถนำออกมาใช้งานได้ตามที่ต้องการ เช่นเดียวกับการฝากคริปโตที่ในปัจจุบันสามารถฝากไว้กับ Exchange หรือ Hardware Wallet ได้ตามที่ต้องการ แต่คงจะไม่มีวิธีการไหนที่ปลอดภัยไปมากกว่าการเก็บคริปโตไว้กับ Hardware Wallet ส่วนตัวอีกแล้ว คริปโตสยามได้รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับ Hardware Wallet คืออะไร? ความแตกต่างระหว่าง Hardware Wallet VS Software Wallet ข้อดี-ข้อเสีย และ Hardware Wallet ยี่ห้อไหนดี? ปี 2022 ศึกษาเพิ่มเติมได้ในบทความนี้!

Hardware wallet คืออะไร?

ฮาร์ดแวร์วอลเล็ท หรือ Hardware Wallet คือ อุปกรณ์สำหรับการจัดเก็บคริปโตแบบออฟไลน์ที่มีขนาดเล็ก และสามารถพกพาได้ โดยถูกพัฒนาขึ้นมาเพื่อทำหน้าที่ในการจัดการ และเก็บรักษาคริปโตให้ปลอดภัยด้วยวิธีการเข้ารหัสไปยังชิปที่ฝังอยู่ในตัวอุปกรณ์ ดังนั้นการเข้าใช้งานวอลเล็ตประเภทนี้ จึงต้องมีการเชื่อมต่อกับคอมพิวเตอร์ โทรศัพท์ หรือแท็บเล็ตก่อน จากนั้นจึงจะสามารถเข้าถึงข้อมูลภายในได้

Hardware Wallet เป็นวอลเล็ทที่มีความปลอดภัยสูง เชื่อถือได้ และใช้งานได้สะดวกสบายมากที่สุด ด้วยลักษณะของการเข้าใช้งานที่จะต้องผ่านการเข้ารหัสก่อนทุกครั้ง ต้องมีการทำธุรกรรมจากอุปกรณ์ที่เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต และเมื่อใช้งานเสร็จแล้วก็จะกลายเป็นอุปกรณ์แบบออฟไลน์ (Cold Wallet หรือ Cold Storage) ที่บุคคลภายนอกไม่สามารถทำการเข้าถึงได้ทันที

นอกจากนี้วอลเล็ตประเภทนี้ ยังมีการจัดเก็บ Private Key (ซึ่งใช้ยืนยันความเป็นเจ้าของ และใช้ลงนามในการทำธุรกรรม) แยกออกมาจากอุปกรณ์ที่ต้องใช้ในการเชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ต จึงลดโอกาสในการเข้าถึงข้อมูลโดยบุคคลที่สาม และสามารถป้องกันการโจรกรรมจากช่องโหว่ทางเทคนิคได้

ถึงแม้ว่าการจัดเก็บคริปโตใน Hardware Wallet ซึ่งเป็นรูปแบบออฟไลน์ อาจจะมีความซับซ้อนทางเทคนิคมากกว่าวอลเล็ตประเภทอื่น ๆ แต่หากต้องการใช้งานก็สามารถทำธุรกรรมแบบออนไลน์บนบล็อกเชนได้อย่างง่ายดาย และมีความปลอดภัยอีกด้วย

ตัวอย่าง Hardware Wallet ยี่ห้อต่าง ๆ
ตัวอย่าง Hardware Wallet ยี่ห้อต่าง ๆ

ประโยชน์ของ Hardware Wallets

  • ใช้เป็นพื้นที่จัดเก็บคริปโต เหรียญ หรือโทเค็นให้ปลอดภัย
  • สามารถจัดการสินทรัพย์ทั้งหมดได้ภายในที่เดียว
  • ใช้ Address สาธารณะของวอลเล็ทเพื่อทำธุรกรรมรับ, ส่ง, โอนได้อย่างอิสระ โดยต้องได้รับการยืนยันจากคุณ ซึ่งเป็นเจ้าของสินทรัพย์ผ่าน Private Key และการลงนามดิจิทัลก่อน
  • สามารถสร้างรายได้แบบ Passive ผ่านวอลเล็ทด้วยการ Stake หรือให้ยืม (Lend) ได้
  • ใช้ Public key, Address ฯลฯ ก็สามารถเข้าถึง DApps (แอปพลิเคชัน decentralized) เช่น DeFi, ตลาด NFT บนบล็อกเชนอื่น หรือ Decentralized exchange ต่าง ๆ ได้
  • สามารถใช้งานร่วมกับ Software Wallet เพื่อให้ใช้งานได้ง่ายขึ้น และให้สามารถรองรับได้หลายสกุลเงินมากขึ้นนั่นเอง

ความแตกต่างของ Hardware Wallet VS Software Wallet

Hardware WalletSoftware Wallet
เป็นอุปกรณ์แบบออฟไลน์ (Cold Wallet) เป็นอุปกรณ์แบบกึ่งออนไลน์
เป็นอุปกรณ์ขนาดเล็กที่สามารถจับต้อง และพกพาได้เป็นโปรแกรม หรือแอปพลิเคชั่นบนอุปกรณ์เคลื่อนที่ที่ไม่สามารถจับต้องได้
เป็นอุปกรณ์ที่มีลักษณะเดียวกัน คือ มีหน้าจอแสดงผล และอาจมีปุ่มกด หรือไม่มีปุ่มกดก็ได้แบ่งออกเป็น 3 ประเภทหลัก ๆ คือ Web3 วอลเล็ท เช่น MetaMask, Binance Wallet, Rainbow Wallet วอลเล็ทบนเดสก์ท็อป เช่น Electrum, Exodus หรือวอลเล็ทบนมือถือ เช่น Trust Wallet, Coinbase Wallet, Blockchain.com เป็นต้น
มีการจัดเก็บ Private Key แยกออกมาจากอุปกรณ์ที่ใช้งานมีการจัดเก็บ Private Key บนอุปกรณ์ที่ใช้งาน
บุคคลที่สามไม่สามารถเข้าถึงได้ หากไม่มีการใช้งานอุปกรณ์แบบออนไลน์ จึงมีความปลอดภัยมากกว่าเนื่องจากเป็นวอลเล็ทแบบกึ่งออนไลน์ อาจเสี่ยงต่อการแฮกข้อมูลจากช่องโหว่ทางเทคนิคได้
Hardware Wallet
Hardware Wallet

ข้อดีและข้อเสียของ Hardware Wallet คือ

ข้อดีของ Hardware wallet คือ การเป็นเจ้าของสินทรัพย์ได้อย่างเต็มรูปแบบ สามารถทำการจัดการ จัดเก็บสินทรัพย์ หรือตั้งค่าความปลอดภัยได้ทุกเมื่อตามที่ต้องการ โดยต้องเชื่อมต่ออุปกรณ์เข้ากับอินเทอร์เน็ตเพื่อทำธุรกรรมผ่านการเข้ารหัสที่มีความปลอดภัยสูง ดังนั้นจึงไม่มีโอกาส หรือมีโอกาสน้อยมากที่จะถูกแฮ็กข้อมูล

ข้อเสียของ Hardware wallet คือ การเป็นเจ้าของสินทรัพย์ที่ต้องรับผิดชอบความผิดพลาดที่เกิดขึ้นเอง 100% รวมทั้งราคา และการใช้งานที่ยุ่งยากกว่าวอลเล็ทประเภทอื่น ต้องอาศัยความรู้ทางเทคโนโลยีระดับพื้นฐาน เทคนิคเฉพาะทาง และความรู้ด้านการเงินรูปแบบใหม่ในการใช้งาน

วิธีการใช้งาน Hardware Wallet

  • เมื่อนำฮาร์ดแวร์วอลเล็ทไปเชื่อมต่อเข้ากับอุปกรณ์แล้ว ข้อมูลที่สำคัญทั้งหมดจะแสดงผลบนหน้าจอ โดยจะแสดงวลีกู้คืน Recovery Phrase หรือ Seed Phrase (เป็นวลีคำ 12-24 คำที่สุ่มขึ้นมาโดยอุปกรณ์จากคำทั้งหมด 2,048 คำ เพื่อเป็นรหัสสำหรับการรักษาความปลอดภัยของสินทรัพย์ การกู้คืนข้อมูล และ Private Key) และรหัสผ่าน (PIN)
  • ให้คุณทำการจด Seed Phrase ลงบนกระดาษที่ได้รับมาเป็นชุดอยู่ในแพ็คเกจของ Hardware Wallet หรือจดไว้ยังที่ที่ปลอดภัยที่สุด เพราะหากอุปกรณ์ชำรุดเสียหาย หรือถูกขโมย คุณจะสามารถใช้ Seed Phrase นี้ในการกู้คืนข้อมูลได้อย่างง่ายดาย
  • คุณจะได้รับ Key สำคัญ 2 คู่ คือ
  • Private key หรือคีย์ส่วนตัว ใช้สำหรับยืนยันความเป็นเจ้าของ และใช้ลงนามในการทำธุรกรรม เปรียบเสมือนลายเซ็นดิจิทัลของคุณ หากผู้อื่นสามารถเข้าถึงส่วนนี้ได้ คุณอาจสูญเสียสินทรัพย์ทั้งหมดได้ ดังนั้นจึงควรมีการเก็บ Private key เป็นความลับ ห้ามแชร์กับผู้ใดโดยเด็ดขาด และ
  • Public key หรือคีย์สาธารณะที่สร้างมาจาก Private key ใช้สำหรับการสร้าง Address คริปโตแบบสาธารณะที่สามารถแชร์ สำหรับการทำธุรกรรมกับผู้อื่นได้
  • หลังจากการตั้งค่าฮาร์ดแวร์วอลเล็ทแล้ว Seed Phrase จะปรากฏขึ้นมาอีกครั้งบนอุปกรณ์เพื่อยืนยันข้อมูล

Hardware wallet แห่งปี 2022 ยี่ห้อไหนดี?

Hardware wallet ยี่ห้อ Ledger

Hardware wallet ยี่ห้อ Ledger
Hardware wallet ยี่ห้อ Ledger

Ledger หรือเลดเจอร์เป็นบริษัทผู้ผลิตวอลเล็ทยักษ์ใหญ่ในวงการคริปโตตั้งแต่ปี 2014 ที่พัฒนา Hardware Wallet ออกมา 2 รุ่น คือ Ledger Nano X และ Ledger Nano S Plus เหมาะสำหรับนักลงทุนมืออาชีพ โดยมีคุณสมบัติที่โดดเด่น และระบบปฏิบัติการ BOLOS ที่เป็นเอกลักษณ์ โดยการรวมเอาชิปที่ปลอดภัย สำหรับบัญชีแยกประเภทเข้ากับ HSM นับว่าเป็นผู้พัฒนารายเดียวในตลาดที่ให้บริการเทคโนโลยีนี้ ถือว่าเป็นยี่ห้อที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในบรรดา Hardware wallet ทั้งหมด

Hardware wallet ยี่ห้อ Trezor

Hardware wallet ยี่ห้อ Trezor
Hardware wallet ยี่ห้อ Trezor

Trezor หรือเทรเซอร์ เป็นอีกหนึ่งบริษัทผู้ผลิตวอลเล็ทที่เริ่มดำเนินการมาตั้งแต่ปี 2013 ซึ่งได้พัฒนา Hardware Wallet ออกมาแล้ว 2 รุ่น คือ Trezor Model T และ Trezor Model One โดยมีแอปพลิเคชัน Trezor suite เพื่อให้ใช้งานได้ง่าย และสะดวกสบายมากยิ่งขึ้น นอกจากนี้ยังได้รับความนิยมจากนักลงทุนมืออาชีพไม่แพ้ยี่ห้ออื่น ๆ เลย

Hardware wallet ยี่ห้อ Ledger

Hardware wallet ยี่ห้อ SafePal
Hardware wallet ยี่ห้อ SafePal

SafePal หรือเซฟพาว บริษัทผู้พัฒนา และออกแบบ Hardware wallet สำหรับ DeFi ที่เริ่มดำเนินการมาตั้งแต่ปี 2018 โดยได้รับการสนับสนุนจาก Binance ด้วยกลไกการลงนามแบบ air-gapped แบบออฟไลน์ และสามารถรองรับแพลตฟอร์ม DeFi ดัง ๆ อย่าง Uniswap, Aave, Compound และ Curve

สรุป

การใช้งานฮาร์ดแวร์วอลเล็ทมีความสำคัญในการเก็บสินทรัพย์ประเภทคริปโต เหรียญคริปโต หรือโทเค็นในสกุลเงินต่าง ๆ แบบออฟไลน์อย่างเป็นหมวดหมู่ โดยสามารถจัดการสินทรัพย์ทั้งหมดได้ภายในที่เดียว ไม่ว่าจะเป็นการรับ ส่ง โอน หรือการใช้งานอื่น ๆ ตามที่ฟังก์ชั่นของอุปกรณ์รองรับ ซึ่งนักลงทุนมืออาชีพส่วนใหญ่ จะเลือกใช้ Hardware wallet ส่วนตัวที่เหมาะกับสไตล์การลงทุน และการใช้งานมากกว่า เพราะมีอำนาจในการจัดการแบบ 100% และมีความปลอดภัยสูง ในปัจจุบัน ยังคงไม่มีวิธีการอื่นใดที่สามารถเก็บคริปโตของคุณได้ปลอดภัยมากกว่าการเก็บไว้กับตัวคุณ จริงไหมล่ะ?