Digital Yuan เตรียมลุยไปฮ่องกง
การเจรจาเบื้องต้นของภาครัฐแดนมังกร กับฮ่องกงกำลังเป็นไปอย่างราบรื่น โดยหลัก ๆ คือการดำเนินการเพื่อเริ่มทดสอบ e-CNY ในเขตปกครองพิเศษของฮ่องกง
การเจรจาเบื้องต้นของภาครัฐแดนมังกร กับฮ่องกงกำลังเป็นไปอย่างราบรื่น โดยหลัก ๆ คือการดำเนินการเพื่อเริ่มทดสอบ e-CNY ในเขตปกครองพิเศษของฮ่องกง
ธนาคารกลางของจีน และองค์การเงินตราฮ่องกง หรือ Hong Kong Monetary Authority (HKMA) ซึ่งเป็นธนาคารกลางโดยพฤตินัยของเขตบริหารพิเศษฮ่องกง โดยมีหน้าที่กำกับดูแลการพิมพ์ และออกเงินสกุลดอลลาร์ฮ่องกง กำลังอยู่ในขั้นตอนเบื้องต้นของการนำเงินหยวนดิจิทัล (Digital Yuan หรือ e-CNY) ไปใช้งานจริงสำหรับการชำระเงินข้ามพรมแดน ถือเป็นการตอกย้ำถึงพัฒนาการสำคัญอีกประการในการเปิดตัวสกุลเงินดิจิทัลของธนาคารกลางหรือ CBDCของแดนมังกรที่ล้ำหน้าไปกว่าใครเพื่อน
อ้างอิงจากสื่อที่ได้ทำการการเผยแพร่ผ่านทางเว็บไซต์หลักของ HKMA เมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา (4 ธันวาคม) Eddie Yue ประธานเจ้าหน้าที่บริหารองค์การเงินตราฮ่องกง ได้ให้ข้อมูลอัปเดตเกี่ยวกับงานที่พวกเขากำลังดำเนินอยู่เกี่ยวกับการชำระเงินข้ามพรมแดน โดยเขาระบุว่า HKMA นั้นอยู่ระหว่างการเจรจากับ People’s Bank of China หรือ PBoC เพื่อเริ่มทดลองใช้ e-CNY
Yue กล่าวว่า
“HKMA และ สถาบันสกุลเงินดิจิทัลของ People’s Bank of China (PBoC) กำลังหารือเกี่ยวกับการทดสอบนำร่องทางเทคนิคของการใช้ e-CNY ซึ่งเป็นเงินหยวนดิจิทัลที่ออกโดย PBoC สำหรับการชำระเงินข้ามพรมแดน และกำลังเตรียมการทางเทคนิคที่สอดคล้องกัน”
ประโยชน์อย่างมหาศาลของทั้งสองพรหมแดน
ประเทศจีนยังคงอยู่ในระดับแนวหน้าของการพัฒนา CBDC โดยโครงการนำร่องครั้งล่าสุดของดิจิทัลหยวนได้ดำเนินธุรกรรมมูลค่า 300 ล้านดอลลาร์ มาแล้ว ณ ต้นเดือนพฤศจิกายน และหากย้อนไปถึงโครงการนำร่องครั้งแรกของพวกเขาในเดือนเมษายน เราก็จะพบเห็นถึงการดำเนินการใน 4เมืองใหญ่ก่อนที่จะขยายไปยังเขตเมืองใหญ่ทั้งสิ้น 9แห่ง
โดยการผนวก Digital Yuan เข้ากับเขตปกครองพิเศษของฮ่องกง จะทำให้นักท่องเที่ยวชาวฮ่องกง และพลเมืองชาวจีนแผ่นดินใหญ่นั้นได้รับประโยชน์อย่างยิ่งยวดจากการมาถึงของ e-CNY เนื่องจากสกุลเงินดังกล่าวแสดงถึงมูลค่าเดียวกันกับเงินสดที่หมุนเวียนอยู่แล้ว และจากการที่มีการใช้เงินหยวนในฮ่องกงอยู่แล้วการเปลี่ยนแปลงให้กลายเป็นดิจิทัลจึงเป็นเรื่องของการเพิ่มความสะดวกสบายนั่นเอง
ฮ่องกงเองก็ตื่นตัวกับ CBDC ไม่ใช่น้อย
สำหรับเขตปกครองพิเศษของฮ่องกงได้ทำการสำรวจกรณีการใช้งานที่เป็นไปได้สำหรับ CBDC มาแล้วเป็นเวลาอย่างน้อยสามปีที่ผ่านมา โดย Yue กล่าวไว้ว่า HKMA ได้เปิดตัวโครงการวิจัยร่วมกับธนาคารแห่งประเทศไทยในปี 2562เพื่อจัดการกับข้อกังวลต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการชำระเงินข้ามพรมแดน และสกุลเงินดิจิทัล ซึ่งโครงการนี้นัเนกำลังเข้าสู่ “ขั้นตอนที่สอง” โดยเป็นนการพิจารณาถึงความสามารถในการทำงาน และความสามารถในการปรับขนาดของการมีส่วนร่วม CBDC ข้ามพรมแดน
และในระยะยาว Yue กล่าวว่า เป้าหมายของ HKMA คือ การสร้างแพลตฟอร์มการชำระเงินข้ามพรมแดนแบบบูรณาการสำหรับภูมิภาค
"จากมุมมองในระยะยาวเรามีโอกาสที่ดีในการสร้างแพลตฟอร์มการชำระเงินข้ามพรมแดนในระดับภูมิภาคโดยอาศัยกระแสโลกในการเสริมสร้างความร่วมมือในการชำระเงินข้ามพรมแดน"