กระทรวงการคลังสหรัฐฯ เสนอกฎระเบียบใหม่ เล็งกระทบผู้ใช้ Bitcoin
สหรัฐฯ มีการเสนอให้ผู้ถือวอลเล็ทเก็บ Bitcoin ต้องทำ KYC คาดเพื่อให้รัฐสามารถติดตามธุรกรรมได้ง่ายขึ้น

สหรัฐฯ มีการเสนอให้ผู้ถือวอลเล็ทเก็บ Bitcoin ต้องทำ KYC คาดเพื่อให้รัฐสามารถติดตามธุรกรรมได้ง่ายขึ้น
CEO ของ Coinbase นาย Brian Armstrong ได้เปิดเผยว่าทางการสหรัฐกำลังเตรียมที่จะสร้างกฎระเบียบที่อาจส่งผลกระทบต่อ Bitcoin ในอนาคต เนื่องจากล่าสุดทางฝ่ายบริหารของ Trump กำลังวางแผนที่จะใช้กฎ KYC บังคับสำหรับผู้ที่มีวอลเล็ทเก็บ Bitcoin
ผู้ใช้งานวอลเล็ทต้องยืนยันตัวตน
วอลเล็ทดิจิทัลที่ผู้ใช้งานเอาไว้ใช้ถือเหรียญคริปโตเองนั้นรวมถึงกระเป๋าเงินดิจิทัลแบบโอเพนซอร์สเช่น Bitcoin Core และ Metamask ด้วย รวมถึงแพลตฟอร์ม DeFi อุปกรณ์ฮาร์ดแวร์และ paper wallets (วอลเล็ทในรูปแบบกระดาษ) ด้วย ซึ่งด้าน CE ของ Coinbase ก็ได้โพสต์ทวิตเตอร์ถึงเรื่องนี้
“เราคิดว่ากฎระเบียบดังกล่าวต้องการให้สถาบันการเงินเช่น Coinbase ตรวจสอบผู้รับ / เจ้าของกระเป๋าเงินโดยรวบรวมข้อมูลการระบุตัวตนของฝ่ายนั้นก่อนที่จะสามารถส่งการถอนเงินออกจากวอลเล็ทดิจิทัลของตัวเองได้”
ในเดือนมิถุนายน 2019 Financial Action Task Force (FATF) ได้ออกไกด์ไลน์สำหรับผู้ให้บริการสินทรัพย์เสมือน (VASP) ซึ่งกำหนดให้ธุรกิจคริปโตต้องขอข้อมูลส่วนบุคคลของผู้ใช้ก่อนจึงจะสามารถส่งและรับสินทรัพย์ดิจิทัลได้
ทั้งนี้กฎระเบียบด้าน KYC และ AML นี้มีการนำไปใช้อย่างกว้างขวางทั่วทั้งอุตสาหกรรม Bitcoin และ Cryptocurrency รัฐบาลได้บังคับให้บริษัท Exchange ด้านคริปโตหลายแห่งบังคับให้ผู้ใช้งานต้อง KYC ต้องลงทะเบียนเพื่อที่จะทำให้สามารถเข้าถึงรายละเอียดการทำธุรกรรมของผู้ใช้บริษัท Exchange เหล่านั้นได้
อย่างไรก็ตามสำหรับกระเป๋าเงินดิจิทัลที่เอาไว้ถือ Bitcoin หรือเหรียญคริปโตอื่น ๆ ยังไม่จำเป็นต้อง KYC ซึ่งเวลาที่เจ้าหน้าที่จะติดตามทำธุรกรรมนั้นก็เป็นไปค่อนข้างยาก
หน่วยงานกำกับดูแลต้องการการปฏิบัติตามแนวทาง FATF อย่างชัดเจนมากขึ้นโดยต้องการข้อมูลเกี่ยวกับกระเป๋าเงินดิจิทัลเก็บคริปโตทั้งงหมดไม่ใช่เฉพาะของแพลตฟอร์มเช่น Coinbase
เนเธอร์แลนด์ได้บังคับใช้กฎคล้าย ๆ กันโดยอ้างถึงความสำคัญของกฎหมาย Sanction Act ปี 1970
ข้อกังวลด้านกฎข้อบังคับส่งผลกระทบต่อราคาตลาดคริปโต
หลังจากมีประกาศดังกล่าวขึ้นมาก็มีผู้คนกลุ่มหนึ่งรู้สึกกังวลเนื่องจากหากกฎระเบียบนี้ถูกนำไปบังคับใช้ ความเป็นส่วนตัวและการไม่เปิดเผยตัวตนของ Bitcoin ก็เป็นอันจบสิ้น
ด้านนักลงทุนคุณ Balaji Srinivasan เรียกร้องให้ต่อต้านข้อเสนอร่างกฎระเบียบดังกล่าว เขากล่าวว่า:
“กฎระเบียบต่อต้านคริปโตที่เสนอโดย Steven Mnuchin ถือเป็นการตัดสิทธิทางการเงินอีกรูปแบบหนึ่ง มันเป็นภัยต่อผู้ที่ไม่มี ID และมันมีช่องโหว่ที่ทำให้นักแฮ็กสามารถเข้าถึงข้อมูลได้มากขึ้น”
หลังมีข่าวนี้เกิดขึ้น ตลาดคริปโตก็ราคาร่วง ซึ่งบางคนก็เชื่อว่าข่าวนี้ส่งผลกระทบต่อราคาของ Bitcoin ทำให้มันร่วงไปที่ระดับ 16,320 ดอลลาร์ อย่างไรก็ตามในเวลาที่เขียนบทความนี้ราคา Bitcoin ก็สามารถพลิกกลับมาได้แล้วโดยมาอยู่ที่ระดับ 17,182 ดอลลาร์ อ้างอิงจาก CoinGecko