General

เกินตัวไปไหม!? Twitter ก็สนใจซื้อ TikTok เช่นเดียวกัน

Photo 1594321120022 7649850959bb.jpg

สำนักงานข่าว Reuters รายงานว่า Twitter นั้นมีความสนใจในการเข้าซื้อ TikTok ในสหรัฐอเมริกา แม้มูลค่าบริษัทของพวกเขาจะน้อยกว่าหลายขุมก็ตาม

Reuters สำนักข่าวเลื่องชื่อรายงานว่าทางผู้บริหารของ Twitter ได้ทำการติดต่อไปยัง ByteDance Stratup ระดับ Unicorn เบอร์ 1 ของโลกผู้ซึ่งเป็นบริษัทแม่ของ TikTok โดยแสดงความสนใจที่จะเข้าซื้อกิจการ TikTok ในสหรัฐฯ และกำลังอยู่ในขั้นตอนการเจรจาเบื้องต้น

ดีลที่ยากเกินจะจินตนาการ

ผู้เชี่ยวชาญด้านการเงินหลายคนได้ตั้งข้อสงสัยเกี่ยวกับความสามารถในการจัดหาเงินทุนของ Twitter เพื่อเข้าซื้อ TikTok ในครั้งนี้ แม้จะมีหนึ่งในผู้ถือหุ้นของ Twitter ได้ให้คำมั่นสัญญาว่าเขาจะช่วยจัดหาเงินทุนให้กับข้อเสนอในครั้งก็ตาม เนื่องด้วยสาเหตุที่ว่า Twitter นั้นมีมูลค่าบริษัทเพียง 2.9 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือราว ๆ 9.17 แสนล้านบาทเท่านั้น แต่เฉพาะกิจการ TikTok (ไม่รวมกิจการอื่นของ ByteDance) ถูกประเมินมูลค่าอยู่ที่ 5 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือ 1.5 ล้านล้านบาทเข้าไปแล้ว ซึ่งหมายความว่า TikTok นั้นมีมูลค่ามากกว่า Twitter เกือบ 70% ดังนนั้นจึงแทบจะเป็นไปได้ยากมากที่ Twitter ทำการเข้าเข้าซื้อแพลตฟอร์มวิดีโอแดนมังกรรายนี้ได้

Microsoft เป็นต่อ Twitter อยู่มาก

Microsoft บริษัทยักษ์ใหญ่ด้านเทคโนโลยีมีมูลค่าบริษัทอยู่ที่ 1.6 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ ทั้งยังมีเงินสดและเงินลงทุนระยะสั้นรวมกันอยู่กว่า 1.36 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือ 4.2ล้านล้านบาท เป็นจำนวนเงินที่สามารถเข้าซื้อกิจการของ TikTok ได้สบาย ๆ ถ้า ByteDance ยอมรับข้อตกลง และท่านประธานาธิบดีต้นเรื่องอย่างโดนัลด์ ทรัมป์อนุมัติ

อย่างไรก็ตาม ถ้า ByteDance ยอมขายเฉพาะกิจการ TikTok ที่ดำเนินการในสหรัฐฯ ซึ่งราคาซื้อขายกิจการอาจต่ำกว่า 5 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ Twitter เองก็มีโอกาสเข้าซื้อกิจการอยู่ แม้เพียงน้อยนิดก็ตาม โดยบริษัทอาจไปขอระดุมเพิ่มจากนักลงทุน, ออกหุ้นกู้ หรือกู้เงินจากสถาบันการเงิน แต่ก็จะทำให้บริษัทมีภาระหนี้ก้อนโตซึ่งจะเป็นที่หน้าหนักใจมิใช่น้อย

แม้จะมีทั้งเรื่องเงินทุนและข้อจำกัดหลาย ๆ อย่างก็ตาม แต่หาก ByteDance จะตกลงยอมขาย TikTok ในสหรัฐฯ แต่ท้ายที่สุดแล้วจากกลไกธรรมชาติของการดำเนินงานด้านแอปพลิเคชั่นจะทำให้เราเห็นว่าเรื่องนี้แทบจะเป็นไปไม่ได้ เพราะการแบ่งแยกแพลตฟอร์มให้เป็นของประเทศใดประเทศหนึ่งนั้นทำได้ยากมากในทางปฏิบัติเว้นเสียแต่ว่าจะสร้างแพลตฟอร์มแยกออกมาต่างหาก ยกตัวอย่างเช่น Douyin ซึ่งเป็นแอป TikTok ที่ให้บริการในจีนโดยเฉพาะ เป็นต้น

ติดตาม CryptoSiam
เพื่อให้ไม่พลาด ทุกข่าวสาร วงการคริปโต
ข่าวต่อไป

บทความที่เกี่ยวข้อง