Tiktok กำลังจะมีสกุลเงินดิจิทัลเป็นของตัวเอง!
บริษัทเจ้าของ Tiktok กำลังหาทางเข้าสู่วงการธนาคารดิจิทัล

บริษัทเจ้าของ Tiktok กำลังหาทางเข้าสู่วงการธนาคารดิจิทัล
ByteDance บริษัทเทคโนโลยีข้ามชาติของจีนผู้อยู่เบื้องหลังแอปพลิเคชั่นยอดฮิตอย่าง Tiktok ได้วางแผนที่จะเพิ่มธุรกิจทางด้านธนาคารและขณะนี้กำลังมองหาใบอนุญาตประกอบกิจการธนาคารเสมือนจริงภายในประเทศสิงคโปร์เพื่อใช้เป็นช่องทางในการเข้าสู่ระบบการเงินดิจิทัล
มารู้จักกับ ByteDance ให้มากขึ้น
ByteDance เป็นบริษัทเทคโนโลยีสัญชาติจีนโดยแท้ ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี ค.ศ. 2012 โดย Zhang Yiming ซึ่งถือว่าเป็นม้ามืดแห่งวงการโลกออนไลน์เลยก็ว่าได้ เพราะสามารถผงาดขึ้นมาเป็นเจ้าแห่ง “ยูนิคอร์น” หรือกลุ่มบริษัท Startup ที่มีมูลค่าสูงกว่า 1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐไปได้ในระยะเวลาอันสั้น ซึ่งหากอยากเห็นภาพว่าการถูกเรียกขานว่าเป็นม้าในเทพนิยายตัวนี้นั้นยิ่งใหญ่แค่ไหน ก็ต้องมาดูตัวเลขว่าในปัจจุบันบริษัทที่เป็นยูนิคอร์นอยู่บนโลกไม่ถึง 500 ตัวเท่านั้นและ ByteDance คือเบอร์ 1

แล้ว ByteDance มีมูลค่าเท่าไร?
ในช่วงที่ผ่านมา ผลประกอบการของบริษัทเติบโตอย่างก้าวกระโดด โดยมีรายได้ในแต่ละปี ดังนี้
- ปี 2017 รายได้ 79,000 ล้านบาท
- ปี 2018 รายได้ 230,000 ล้านบาท
- ปี 2019 รายได้ 542,000 ล้านบาท
- ส่งผลให้ในการระดมทุนครั้งล่าสุด บริษัทถูกประเมินมูลค่าไว้ที่ 2.4 ล้านล้านบาท
ความดุเดือดในการแข่งขันพุ่งสูงขึ้น
ต้องยอมรับว่าการแข่งขันด้าน Fintech ในเอเชียกำลังเติบโตอย่างรวดเร็วและทวีความรุนแรงขึ้นมาก ByteDance เองก็มีแนวโน้มที่จะท้าชนกับยักษ์ใหญ่ด้านเทคโนโลยีรายอื่นๆ ในเอเชีย ซึ่งประกอบด้วย Ant Financial Services Group (Alipay) ของ Alibaba และผู้นำด้านเครื่องใช้ไฟฟ้าอย่าง Xiaomi เพื่อก้าวขึ้นมาเป็นบริษัทหนึ่งในห้าที่ครอบครองใบอนุญาตประกอบธุรกิจธนาคารเสมือนจริงที่การธนาคารแห่งประเทศสิงคโปร์ภายในปลายปีนี้
แต่หากคุณกำลังคิดจะท้า Alipay ก็ต้องทำการบ้านกันหนักเสียหน่อย เพราะในปัจจุบัน Alibaba ครอบครองพื้นที่การใช้งานส่วนมากของประเทศจีนไปแล้วและกำลังพยายามพลิกโฉมกิจการด้านการเงินดิจิทัลให้มากกว่าการแค่การชำระเงินหรือการดึงดูดใจพ่อค้าด้วยการนำรวมเทคโนโลยี Blockchain เข้ากับการบริการของธนาคาร ซึ่งถือเป็นเรื่องที่ยากจะตามได้ทันแต่ก็ใช่ว่าจะเป็นไปไม่ได้
พันธมิตรที่ดีเป็นเรื่องสำคัญ
แม้ว่า ByteDance จะมีมูลค่าอยู่ที่ 2.4 ล้านล้านบาทและมีประสิทธิภาพสูงกว่าองค์กรในตลาดรอง แต่ ByteDance ก็กำลังพิจารณาวางแผนที่จะร่วมเป็นพันธมิตรกับบริษัท Lees หนึ่งในตระกูลบริษัทที่ทรงอิทธิพลที่สุดของสิงคโปร์และเป็นเจ้าของบริษัทด้านการธนาคารต่างประเทศของจีน ซึ่งยูนิคอร์นตัวนี้ก็คงหวังเป็นอย่างยิ่งว่าพันธมิตรจะเพิ่มโอกาสให้สามารถได้ใบอนุญาตในการประกอบธุรกิจธนาคารเสมือนจริงมากยิ่งขึ้น
รู้ตัวรอดเป็นยอดดี
Financial Times ได้รายงานว่าการยื่นขออนุญาตในครั้งนี้ของ ByteDance ไม่ได้เพื่อจะสร้างธนาคารดิจิทัลในจีนแผ่นดินใหญ่ เพราะบริการทางการเงินเสมือนเหล่านี้ส่วนใหญ่ถูกครอบงำโดย Wechat ของ Tencent และ Alipay ของอาลีบาบาไปแล้ว แต่ ByteDance กำลังมองหาโอกาสจากประเทศอื่นๆที่ตนจะสามารถเข้าไปมีบทบาทได้มากกว่า โดยมีความเป็นไปได้สูงมากที่ตลาดนั้นจะเป็นประเทศฮ่องกง