เปิดใจ ‘หนึ่ง ปรมินทร์’ หลังขายกิจการ Satang Pro ให้ KBANK
แกะบทสัมภาษณ์! ‘หนึ่ง ปรมินทร์ เผยสาเหตุที่ขายกิจการ 'Satang Pro' ให้ KBANK - พร้อมอีก 5 คำตอบจากคำถามที่น่าสนใจ
แกะบทสัมภาษณ์! ‘หนึ่ง ปรมินทร์ เผยสาเหตุที่ขายกิจการ 'Satang Pro' ให้ KBANK - พร้อมอีก 5 คำตอบจากคำถามที่น่าสนใจ
Table of contents
วันที่ 1 พฤศจิกายน ‘ปรมินทร์ อินโสม’ หรือ ‘หนึ่ง ปรมินทร์’ ได้ออกมาให้สัมภาษณ์กับรายการ ทันโลกกับ Trader KP พร้อมตอบคำถามหลังจากที่มีการปิดดีลระหว่าง บริษัท 'Unita Capital' ของธนาคารกสิกรไทย ในการเข้าซื้อหุ้นบริษัท สตางค์ คอร์ปอเรชั่น จำกัด ถึง 97%
โดยในรายการ หนึ่ง ปรมินทร์ ได้ตอบหลายคำถามที่น่าใจอย่างมาก ทั้งนี้ทาง CryptoSiam จึงได้และยกเอา 6 คำถามจากการสัมภาษณ์ครั้งนี้มาให้อ่านกัน
1. สาเหตุของการขาย
หนึ่ง ปรมินทร์ กล่าวว่าตนเองนั้นได้มีการคุยกับ ธนาคารกสิกร มาระยะหนึ่งแล้ว เพื่อปรับปรุงเพื่อให้เป็นไปมาตรฐานที่ผู้ควบคุมกำหนดเพื่อที่จะสามารถซื้อขายได้
โดยสาเหตุในการขายมาจากการแข่งขันที่เพิ่มมากขึ้นในตลาด โดยกล่าวว่าได้ตัดสินใจขายในช่วงที่ตลาดกำลังเป็นขาขึ้นเสียด้วยซ้ำ เพราะมองว่าอาจมีผู้เล่นรายใหญ่เข้ามาแข่งขันในตลาดอีกมาก ไม่ได้เกี่ยวข้องกับ Crypto Winter แต่อย่างใด
จากดีลครั้งนี้ KBANK จะได้รับธุรกิจของบริษัท สตางค์ คอร์ปอเรชั่น จำกัด รวมถึงสินทรัพย์ไปทั้งหมด แต่จะไม่ได้ในส่วนของบริษัท Satang Technology และ Satang Space ซึ่งเป็นบริษัทที่แยกกันอยู่แล้ว
2. จัดการทรัพย์สินใน Satang Pro อย่างไรต่อจากนี้?
หนึ่ง ปรมินทร์ เผยว่าในปัจจุบัน ยังไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลงภายในระบบใน Satang Pro แต่อย่างใด ผู้ใช้งานเก่าสามารถ Login ได้เหมือนเดิมด้วย Username กับ Password อันเดียว เช่นเดียวกับ Address ในการฝากถอน จนกว่าจะมีประกาศใหม่ออกมา ซึ่งมองคงจะไม่ใช่ในเร็วๆนี้ เพราะหากจะมีการเปลี่ยนแปลงในส่วนของ Address เกิดขึ้น จะมีการแจ้งล่วงหน้าก่อนขั้นต่ำ 1 เดือน
3. โปรเจคใหม่ที่กำลังสนใจ
ผมมองว่าบล็อกเชนที่มีอยู่ในโลก ณ ปัจจุบัน นั้นรับ 'มรดก' มาจาก Bitcoin ที่จะต้องมีเหรียญของภายในระบบบล็อกเชนของตัวเอง ในมุมมองของผม เห็นว่ามันไม่จำเป็นจะต้องเป็นเช่นนั้น ในทางกลับกันมันควรจะเป็นอีกแบบหนึ่งไปด้วยซ้ำ โดยไอเดียนี้ค่อนข้างเปลี่ยนแนวคิดพื้นฐานของบล็อกเชนทั่วโลกไปเลย ซึ่งในตอนนี้ผมกำลัง Expolre ในเรื่องนี้อยู่
4. การแข่งขันของ Startup กับ ธนาคาร?
จากคำถามที่ว่าด้วยในสภาวะปัจจุบัน นั้นส่งผลให้บริษัท Startup หลายเจ้าสูญเสียความสามารถในการแข่งขันหรือไม่นั้น? หนึ่ง ปรมินทร์ มองว่าทั้งสององค์กรนี้มีจุดดีจุดได้ต่างกัน ธนาคาร จะมีจุดดีในด้านของความน่าเชื่อถือ และเสถียรภาพมากกว่าหากเปรียบเทียบกับ Startup ที่เกิดขึ้นได้ไม่นาน แต่ในส่วนของ Startup จะได้เปรียบในความรวดเร็วในการทำงานมากกว่า และปรับตัวตามตลาดได้เร็วกว่า
ก็ต้องมาดูว่า ณ ช่วงเวลานี้ ในส่วนของตลาด Exchange นั้นค่อนข้างที่จะ Stable จากการอยู่ภายใต้ Regulator อีกทีหนึ่ง ซึ่งทำให้เกิดคำถามว่าจุดเด่นของ Startup นั้นจะหายไปได้มากน้อยแค่ไหน เพราะหากฝ่าย regulator นั้นมีการกำหนดข้อบังคับและวิธีปฏิบัติอย่างชัดเจนแล้ว อาจทำให้ Startup เสียจุดเด่นในด้านการขยับขยายหรือปรับเปลี่ยนอะไรได้ไม่เร็วมากเหมือนแต่ก่อน
5. ความเห็นเกี่ยวกับ Bitcoin ETF
หนึ่ง ปรมินทร์ กล่าวว่าถึงแม้ส่วนตัวก็ต้องการให้ Approve เร็วๆเหมือนกัน แต่ก็ยังมองว่าหากจะให้การ Approve นั้นมีประโยชน์หรือผลกระทบด้านบวกให้ได้มากที่สุด จะต้อง Approve ในช่วงหลังจากเกิดการ Halving ผ่านไปแล้วสักระยะหนึ่งมากกว่า เพราะจะสร้าง Demand ต่อ Bitcoin ได้มากกว่า และเนื่องจากในปัจจุบันที่ยังมีสภาวะสงคราม การขึ้นของคริปโตอาจไม่ได้หวือหวามากเท่าใดนัก หรือโดยสรุปก็คือมองว่าเป็นเทรนขาขึ้นหาก Bitcoin ETF ได้รับอนุมัติในเร็วๆนี้ แต่อาจจะไม่ได้ขึ้นเยอะมาก
6. เตรียมตัวรับมือกับ/คำแนะนำในการลงทุน
หนึ่ง ปรมินทร์ ยังยืนยันว่าการลงทุนใน Cryptocurrency นั้นเป็นการลงทุนที่มีความเสี่ยงสูง และอย่างที่เห็นไปแล้วจากราคาของคริปโต หลายเจ้าที่ลงไปถึง 80%-90% จาก all time high เพราะฉะนั้นสิ่งที่จะต้องมั่นใจก่อนว่าหากเงินทุนของเราขายไปถึง 80%-90% เราจะไม่ได้เดือดร้อนกับเงินทุนนี้
ข้อจำกัดความรับผิดชอบ: การลงทุนมีความเสี่ยงสูง ดังนั้น ผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูลอย่างละเอียดก่อนการลงทุนทุกครั้ง
ข้อมูลในบทความนี้มีจุดประสงค์ในการให้ข้อมูลเท่านั้น Cryptosiam ไม่รับประกันความสมบูรณ์ ความถูกต้อง หรือความน่าเชื่อถือของข้อมูลดังกล่าว และไม่มีสิ่งใดในบทความนี้ที่ควรใช้เป็นคำแนะนำหรือชักชวน ให้ซื้อหรือขายคริปโต รวมทั้งการประเมินใดๆ ไม่มีข้อความใดในบทความที่ถือเป็นคำแนะนำทางกฎหมาย วิชาชีพ การลงทุน และ/หรือทางการเงิน และ/หรือคำนึงถึงความต้องการเฉพาะ และ/หรือข้อกำหนดของแต่ละบุคคล
Cryptosiam และบริษัทในเครือ ขอปฏิเสธความรับผิด หรือความรับผิดชอบทั้งหมดเกี่ยวกับเนื้อหาของบทความ และการดำเนินการใดๆ กับข้อมูลในบทความนั้น เป็นความเสี่ยงของผู้อ่าน และถือเป็นความเสี่ยงแต่เพียงผู้เดียว