The New York Times เริ่มทดสอบนำ Blockchain เช็คที่มารูปภาพ
นิตยสารระดับโลก The New York Times กำลังทดลองโปรเจค Blockchain ไว้ใช้ทำวิจัยในเรื่องของการเช็คเครดิตรูปภาพ

นิตยสารระดับโลก The New York Times กำลังทดลองโปรเจค Blockchain ไว้ใช้ทำวิจัยในเรื่องของการเช็คเครดิตรูปภาพ
นิตยสารระดับโลก The New York Times กำลังทดลองโปรเจค Blockchain ไว้ใช้ทำวิจัยในเรื่องของการเช็คเครดิตความน่าเชื่อถือของรูปภาพที่ถูกกระจายไปยังโซเชียลมีเดียต่างๆเพื่อให้คนรับสารพิจารณาว่าข้อมูลที่ตนได้รับน่าเชื่อถือขนาดไหน
Blockchain กับการเครดิตรูปภาพ
จากประกาศ Medium ของผู้จัดการผลิตภัณฑ์ The New York Times ได้แนะนำโปรเจค News Provenance Project เป็นโปรเจคที่จะนำ Blockchain มาทำวิจัยเพื่อตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลที่ถูกเผยแพร่ไปยังสื่อออนไลน์
เนื่องด้วยโลกทุกวันนี้มีการเผยแพร่ข้อมูลโดยเฉพาะรูปภาพกันเยอะโดยไม่รู้ว่าภาพเหล่านั้นมันถูกบิดเบือนหรือไม่ มันอาจจะถูกตัดต่อหรือผ่านขั้นตอนแก้ไขรูปมาต่างๆนานา โดยที่ผู้รับสารก็ไม่ได้มารู้ด้วย ซึ่ง The New York Times ต้องการเข้ามาเปลี่ยนแปลงไม่ให้ผู้รับสารได้รับสารอย่างผิดๆ
บริษัทจึงได้สร้างโปรเจค The News Provenance Project เป็นโปรเจคที่นำ Blockchain มาช่วยทำวิจัยว่าผู้อ่านรู้สึกอย่างไรกับภาพที่พวกเขาเห็นบนโลกออนไลน์
“เราสร้างตัวต้นแบบ (Prototype) ที่ใช้ประโยชน์จาก Blockchain เพื่อแสดงข้อมูลเชิงบริบทของภาพถ่าย, ข่าวบนโซเชียลมีเดีย โดยเราจะทำการจำลองข้อมูลขึ้นมา เราต้องการดูว่าข้อมูลเชิงบริบทที่มองเห็นได้ เช่น ชื่อช่างภาพและตำแหน่งที่ปรากฎในภาพถ่ายสามารถช่วยให้ผู้อ่านรู้สึกว่าภาพถ่ายบนข่าวในฟีดโซเชียลของพวกเขาน่าเชื่อถือขึ้นหรือไม่”
ผู้จัดการผลิตภัณฑ์กล่าว
การบันทึกรูปภาพบน Blockchain
โปรเจคนี้ของ The New York Times ยังคงอยู่ในช่วงทดลอง สร้างขึ้นเพื่อทำการศึกษาเป็นหลัก ซึ่งจากโพสต์ Medium ก็เผยว่าบริษัทนั้นต้องการดูว่าบนภาพถ่ายมันสามารถบันทึกทุกๆอย่างได้ไหม เริ่มตั้งแต่ขั้นตอนการถ่ายภาพไปจนถึงการเผยแพร่ในรูปแบบของรูป metadata แล้วแสดงรายละเอียดข้อมูลเหล่านั้นบนแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียด้วย
ประสิทธิภาพของเทคโนโลยี Blockchain คือมันสามารถรักษาประวัติเต็มๆของรูปได้ แยกจากไฟล์รูปต่างหาก ทำให้มันเป็นเทคโนโลยีที่น่าเอามาใช้กับการตรวจสอบแหล่งที่มาของข้อมูล
หลังจากได้ทดสอบโปรเจคไป บริษัทก็ได้เปิดเผยว่ามันส่งผลต่อความน่าเชื่อถือของรูปภาพนั้นจริงๆ โดยพบว่ามันช่วยให้ผู้อ่านตัดสินใจเกี่ยวกับรูปภาพในฟีดโซเชียลมีเดียอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น แต่ก็ยังคงต้องมีการทำวิจัยต่ออีกมาก
สืบค้นเพิ่มเติมได้ที่ nytimes