ผู้อำนวยการ IMF มองว่า สกุลเงินดิจิทัลมีความน่าเชื่อถือ
ผู้อำนวยการ IMF เริ่มมองแล้วว่า เงินดิจิทัลอาจมีความน่าเชื่อถือจากการที่หลายประเทศได้เดินหน้าทดสอบอย่างจริงจัง
ผู้อำนวยการ IMF เริ่มมองแล้วว่า เงินดิจิทัลอาจมีความน่าเชื่อถือจากการที่หลายประเทศได้เดินหน้าทดสอบอย่างจริงจัง
Kristalina Georgieva ผู้อำนวยการจัดการของกองทุนการเงินระหว่างประเทศหรือ IMF ได้ออกมาแสดงความเห็นเกี่ยวกับเรื่องของสกุลเงินดิจิทัลเอาไว้อย่างน่าสนใจ
ผู้อำนวยการ IMF มองเงินดิจิทัลกำลังทำให้มีความน่าเชื่อถือมากขึ้น
ในเรื่องของสกุลเงินดิจิทัลนั้น เธอมองว่าตอนนี้ธนาคารกลางหลายประเทศได้พยายามทำให้สกุลเงินดิจิทัลเป็นสกุลเงินที่น่าเชื่อถือ แต่ในขณะเดียวกันเธอคิดว่า เหรียญคริปโตคริปโตเคอร์เรนซี่อย่างเช่นบิทคอยน์นั้น เป็นเรื่องยากที่จะเทียบกับเงินสดได้
ประเทศหลายประเทศได้เข้ามาเป็นสมาชิกกับ IMF โดยที่ประเทศเหล่านี้กำลังเดินหน้าการก่อตั้งธนาคารสกุลเงินดิจิทัลหรือ CBDC ขึ้นมา ทำให้ Kristalina ต้องออกมาพูดถึงเรื่องนี้ในงานที่จัดขึ้นในมหาวิทยาลัย Bocconi ของประเทศอิตาลีว่า ถือเป็นเรื่องที่มีความท้าทายมากสำหรับเจ้าหน้าที่ดูแลการเงินในการผลักดันร่วมมือกันสร้างสกุลเงินดิจิทัลขึ้นมา
เมื่อมาวิเคราะห์แล้วเธอคิดว่า ประเทศต่าง ๆ ที่ผลักดันสกุลเงินดิจิทัลนั้น ส่วนหนึ่งมาจากความไว้เนื้อเชื่อใจของประชาชนในประเทศ คำถามอื่น ๆ ที่ทางผู้ร่างนโยบายจะต้องค้นหาคำตอบก็คือ ธนาคาร CBDC ช่วยในการเสริมสร้างเสถียรภาพทางเศรษฐกิจได้หรือไม่ และช่วยวางโครงสร้างควบคุมกำกับการเงินระหว่างประเทศเหมือนกับธนาคารเพื่อการชำระบัญชีระหว่างประเทศหรือ BIS ได้หรือไม่
หลายประเทศเริ่มมีการเดินหน้าทดสอบ
โดยธนาคาร BIS ได้เดินหน้าทดสอบโครงการต่าง ๆ มากมายที่เกี่ยวกับสกุลเงินดิจิทัล อย่างเช่นการทำธุรกรรมการเงินระหว่างประเทศ โดยมีการให้ความร่วมมือกันระหว่างธนาคารทุนสำรองของประเทศออสเตรเลีย, ธนาคารเนการามาเลเซีย, หน่วยงานกำกับการเงินของประเทศสิงคโปร์และธนาคารทุนสำรองของประเทศแอฟริกาใต้
เช่นเดียวกับหลายประเทศที่กำลังเดินหน้าทดสอบสกุลเงินดิจิทัลอย่างเช่นประเทศจีน, ฮ่องกง, ไทยและสหรัฐอาหรับเอมิเรสต์ โดยที่ธนาคารแห่งชาติสวิตเซอร์แลนด์เองก็เดินหน้าทดสอบด้วยเช่นกัน
ความเคลื่อนไหวตรงนี้เธอมองว่าเป็นเรื่องน่ายินดีอย่างยิ่งที่ธนาคารกลางเริ่มมีการยกระดับเดินหน้าพัฒนาสกุลเงินดิจิทัลอย่างรวดเร็ว และเสริมสร้างความเชื่อมั่นในการใช้เงินและยกระดับเศรษฐกิจได้เมื่อเทียบกับความเสี่ยงที่ได้รับ