กฎหมาย และประกาศ

สหภาพยุโรป หรือ EU ไฟเขียวตั้งหน่วยงานป้องกัน และปราบปรามการฟอกเงิน

3595351.jpg

เหล่าตัวแทนประเทศสมาชิกของสหภาพยุโรป หรือ EU ได้เห็นพ้องต้องกันว่าควรมีหน่วยงานที่รับผิดชอบกรณีด้านการป้องกัน และปราบปรามการฟอกเงินโดยเฉพาะ

คณะมนตรีแห่งสหภาพยุโรป (Council of the European Union) ซึ่งถือเป็นหนึ่งใน 3 เสาหลักของสหภาพยุโรป หรือ EU (European Union) ได้มีมิติในการร่างเงื่อนไขบางส่วนซึ่งจะเป็นหัวใจหลังของการจัดตั้งหน่วยงานต่อต้านการฟอกเงิน (AML) ซึ่งจะมีชื่อว่า “หน่วยงานต่อต้านการฟอกเงิน” (Anti-Money Laundering Authority - AMLA)

สหภาพยุโรป หรือ EU ให้ความสำคัญกับการป้องกันการก่อการร้าย

ในปัจจุบัน ความท้าทายเกี่ยวกับการละเมิดกฎหมาย และทำการการฟอกเงินนับเป็นภัยคุกคามที่แพร่หลายในทุกประเทศ แต่ถึงแม้หน่วยงานกำกับดูแลจะแสดงบทบาทเชิงรุก และเข้มงวดมากเพียงใด แต่อาชญากรไซเบอร์ก็มีความก้าวหน้าอย่างมากในแนวทางของพวกเขา ซึ่งยากที่จะวิ่งตามได้ทัน

อย่างไรก็ดี การจัดตั้งหน่วยงานต่อต้านการฟอกเงินใหม่ขึ้นมาของ EU ในครั้งนี้ ถือเป็นการส่งเสริมการทำงานอย่างมีประสิทธิภาพของแนวทางการรับมือการต่อต้านการฟอกเงินและการต่อต้านการให้เงินสนับสนุนการก่อการร้าย (AML/CTF) ของทางสหภาพฯ เอง

ส่วนหนึ่งของคำแถลงการณ์ระบุว่า:

“ด้วยลักษณะเฉพาะของการก่ออาชญากรรมแบบข้ามพรมแดน หน่วยงานใหม่แห่งนี้คาดว่าจะมีส่วนสนับสนุนที่แข็งแกร่ง และเป็นประโยชน์ในการต่อสู้กับการต่อต้านการฟอกเงิน และการจัดหาเงินทุนสำหรับการก่อการร้าย นอกจากนี้หน่วยงานดังกล่าวยังมีหน้าที่ในการสร้างการดำเนินงานประสานกันของเหล่าหน่วยงานกำกับดูแลในด้านการเงิน กับและหน่วยงานภายนอก”

สหภาพยุโรปไม่มีวันยอมแพ้

แม้ว่าการควบคุมความบ้าคลั่งของเหล่าอาชญากรไซเบอร์เหล่านี้อาจเป็นเรื่องยาก แต่ก็ใช่ว่าจะไร้ทางรับมือ เพราะหากเหล่าผู้ให้บริการด้านการเงินทั้งหลายสามารถวางมาตรการป้องกันเพื่อสกัดกั้นช่องโหว่ที่เป็นไปได้ทั้งหมดจากการฟอกเงิน และนักการเงินผู้ก่อการร้าย แล้วล่ะก็...  การจู่โจมจะมีโอกาสสำเร็จยากขึ้นเป็นเท่าทวีคูณ ซึ่งการเกิดขึ้นของ AMLA จะตั้งเป้าไปที่การปิดกั้นลู่ทางเหล่านั้นให้กับเหล่าบริษัทที่ดูแลอยู่ได้ในทุกประการ

AMLA จะได้รับอำนาจโดยตรงให้สามารถควบคุม กำกับ และดูแลสถาบันการเงิน หรือบริษัทสตาร์ทอัปในระบบนิเวศของสกุลเงินดิจิทัลในทันทีหากบริษัทเหล่านั้นถูกประเมินแล้วว่ากำลังตกอยู่ในความเสี่ยง

อย่างไรก็ตาม ด้วยข้อมูลในปัจจุบัน ขอบเขตความรับผิดชอบของ AMLA นั้นยังคงเป็นเพียงแค่บางส่วน และยังไม่ได้มีการตกลงกันอย่างเต็มรูปแบบ ซึ่งก็ต้องติดตามดูกันต่อว่า EU จะมีกลยุทธ์ในเรื่องนี้อย่างไร

ติดตาม CryptoSiam
เพื่อให้ไม่พลาด ทุกข่าวสาร วงการคริปโต
ข่าวต่อไป

บทความที่เกี่ยวข้อง