บริษัทสัญชาติสิงคโปร์จับมือรัฐบาลจีนพัฒนาเมืองอัจฉริยะ Aerospace City
บริษัทผู้เชี่ยวชาญด้านบล็อกเชนแห่งเมืองค่าปรับกำลังสร้างระบบ 'Smart Brain' ที่ขับเคลื่อนด้วย Blockchain เพื่อควบคุม "เมืองอัจฉริยะ" ด้านการบิน และอวกาศแห่งใหม่ของประเทศจีน
บริษัทผู้เชี่ยวชาญด้านบล็อกเชนแห่งเมืองค่าปรับกำลังสร้างระบบ 'Smart Brain' ที่ขับเคลื่อนด้วย Blockchain เพื่อควบคุม "เมืองอัจฉริยะ" ด้านการบิน และอวกาศแห่งใหม่ของประเทศจีน
CyberVein บริษัทด้านบล็อกเชนในสิงคโปร์ ผู้ซึ่งเชี่ยวชาญงานเทคโนโลยีเพื่อการกระจายข้อมูล (Distributed Ledger Technology) เป็นพิเศษ ได้บรรลุข้อตกลงกับรัฐบาลแดนมังกร และกลายเป็น 1 ใน 12 บริษัทที่เข้าร่วมแผนการสร้างเมืองแห่งการบินและอวกาศนานาชาติ “Hainan Wenchang International Aerospace City” ของประเทศจีน
โดยบริษัทแห่งแดนค่าปรับมีหน้าที่รับผิดชอบในด้ารการสร้างระบบการกำกับดูแลที่ขับเคลื่อนด้วยบล็อกเชนสำหรับ "เมืองอัจฉริยะ" แห่งนี้
มังกรเติบโตด้วยการรวมพันธมิตร
CyberVein ไม่ใช่บริษัทระดับโลกรายเดียวที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับโปรเจคยักษ์ใหญ่ในครั้งนี้ เพราะอีก 11 หน่วยงานที่เหลือต่างก็เป็นบริษัทระดับแนวหน้าเช่นเดียวกัน ซึ่งรวมถึงบริษัทที่ติดอันดับ Fortune 500 อย่าง Huawei และ Kingsoft Cloud ด้วย
พวกเขาจะทำงานร่วมกันโดยใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีแห่งโลกอนาคต ไม่ว่าจะเป็น Blockchain ปัญญาประดิษฐ์ (AI) หรือแม้กระทั่งเทคโนโลยี Big Data เพื่อสนับสนุนการพัฒนาสถาบันวางแผนและออกแบบ “Smart Brain” หรือสมองอัจฉริยะที่ควบคุมเมืองแห่งนี้
สมองคือแกนหลักของทุกสรรพสิ่ง
Smart Brain ของ CyberVein นั้นจะเป็นโครงการหลักซึ่งเป็น "ระบบการกำกับดูแลที่ขับเคลื่อนด้วยข้อมูล" ซึ่งใช้เทคโนโลยีที่เป็นกรรมสิทธิ์ของบริษัทโดยเฉพาะและระบบจะสามารถจะประมวลผลข้อมูลได้แบบเรียลไทม์เพื่อ "จัดระเบียบทรัพยากรสาธารณะทั้งหมดภายในเมือง"
สถานที่ตั้งโครงการแห่งนี้ในอดีตเคยเป็นศูนย์ปล่อยดาวเทียมของประเทศจีน แต่ในปัจจุบันมันกำลังได้รับการขนานนามว่าเป็น “เมืองแห่งวัฒนธรรม และการท่องเที่ยวด้านการบิน และอวกาศแห่งแรกของจีน” ที่จะก้าวเข้ามาเป็นศูนย์กลางสำหรับการพัฒนาผลิตภัณฑ์ด้านการบิน และอวกาศ รวมไปถึงบริการสนับสนุนต่าง ๆ ที่มีไว้สำหรับใช้ในภารกิจส่งยานอวกาศ และดาวเทียมแห่งแดนมังกร ซึ่งการก่อสร้างนั้นเริ่มขึ้นตั้งแต่เมื่อเดือนที่แล้ว
ศูนย์ซูเปอร์คอมพิวเตอร์ด้านการบินและอวกาศแห่งแรกของประเทศนั้น จะใช้พื้นที่ขนาด 12 ล้านตารางเมตรเป็นที่ตั้ง และโครงการริเริ่มดังกล่าวจะมุ่งเน้นไปที่การพัฒนาพื้นที่เทคโนโลยีอีก 40 แห่ง รวมถึงการสร้างฐานข้อมูลขนาดใหญ่ การวางระบบตรวจจับระยะไกลด้วยดาวเทียมและเทคโนโลยีการระบุตำแหน่งที่มีความแม่นยำสูง
การพัฒนาเมืองนี้เป็นส่วนหนึ่งของโครงการริเริ่มการพัฒนา "ท่าเรือการค้าเสรี" แห่งมณฑลไหหลำซึ่งเป็นโครงการโครงสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่ที่ตั้งใจจะเปลี่ยนเกาะนี้ให้เป็นท่าเรือการค้าเสรีที่สำคัญระดับโลกภายในปี 2050