Bithumb เล็งสร้างตลาด NFT แห่งใหม่ในแดนกิมจิ
ข่าวลือแดนกิมจิเผย Bithumb เล็งสร้างตลาด NFT กำหนดวางแผนเปิดตัวในปี 2022 นี้ โดยมี LG CNS บริษัทในเครือ LG ร่วมพัฒนาด้วย
ข่าวลือแดนกิมจิเผย Bithumb เล็งสร้างตลาด NFT กำหนดวางแผนเปิดตัวในปี 2022 นี้ โดยมี LG CNS บริษัทในเครือ LG ร่วมพัฒนาด้วย
ซีอีโอ Heo Baek-young ได้ออกมายืนยันผ่านการให้สัมภาษณ์เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 13 มกราคม ที่ผ่านมาระบุว่าแพลตฟอร์มแลกเปลี่ยนคริปโตแดนกิมจิอย่าง Bithumb เล็งสร้างตลาด NFT หรือ Non-Fungible Token ที่สามารถขึ้นแท่นเป็นคู่แข่งกับแพลตฟอร์มแลกเปลี่ยนชั้นนำในประเทศอีก 2 แห่งอย่าง Korbit และ Upbit ได้ โดยเขากล่าวว่า
“ตลาด NFT จะมีบทบาทสำคัญในการช่วยโปรโมทคอนเทนต์ Blockchain ที่จะกลายเป็นแรงผลักดันสำคัญให้กับองค์กรในอนาคต”
ข่าวลือ Bithumb เล็งสร้างตลาด NFT ร่วมกับ LG ยังไม่สามารถยืนยันได้
สื่อหลายแห่งในเกาหลีใต้ยังได้รายงานเพิ่มเติมถึงข่าวลือที่ทาง Bithumb ได้ร่วมมือกับ LG CNS องค์กรด้านเทคโนโลยีรายใหญ่เพื่อช่วยกันพัฒนาตลาด NFT ของทางองค์กรเมื่อวันจันทร์ที่ 17 มกราคม ที่ผ่านมา แต่ทว่าทางแพลตฟอร์มแลกเปลี่ยนก็ได้ออกมาปฏิเสธประเด็นข้างต้น พร้อมกล่าวว่า ณ ขณะนี้ทางบริษัทยังไม่สามารถยืนยันได้ว่า LG CNS หรือ บริษัทอื่น ๆ จะได้เข้ามามีส่วนร่วมในโปรเจกต์นี้หรือไม่
การเปิดตัวตลาดแลกเปลี่ยน NFT จะช่วยให้ Bithumb สามารถลงแข่งขันในตลาดได้ โดยปัจจุบันแพลตฟอร์มรายนี้ถูกจัดให้เป็นแพลตฟอร์มที่มีปริมาณการซื้อขายสูงที่สุดเป็นอันดับ 2 อยู่ที่ 730 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ตามหลังเพียงแค่แพลตฟอร์ม Upbit ที่มีปริมาณการซื้อขายภายใน 24 ชั่วโมงอยู่กว่า 1.7 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ
Bithumb ยังคงตามหลังคู่แข่งทั้ง 2 ราย
ก่อนหน้านี้ทางองค์กร Dunamu เจ้าของแพลตฟอร์ม Upbit ได้ออกมาประกาศร่วมมือกับ Hybe เปิดตัวตลาด NFT ของตนเองเมื่อเดือนพฤศจิกายน ปี 2021 ที่ผ่านมา หลังสามารถดึงกลุ่มศิลปิน K-Pop ชื่อดังอย่าง BTS ให้ร่วมลงนามในข้อตกลงเพื่อออก NFT พิเศษได้สำเร็จ
นอกจากนี้ทาง Nexon บริษัทเกมรายใหญ่เจ้าของแพลตฟอร์มแลกเปลี่ยนคริปโต Korbit ก็ได้เปิดตลาด NFT เป็นเจ้าแรกในประเทศเกาหลีใต้เมื่อเดือนมิถุนายนปี 2021 ที่ผ่านมา โดยปัจจุบัน Korbit ถูกจัดให้เป็นแพลตฟอร์มที่มีปริมาณการซื้อขายภายใน 24 ชั่วโมงมากที่สุดเป็นอันดับที่ 4 ซึ่งมีมูลค่าราว 7 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
ชาวเกาหลียังให้ความสนในตลาด Centralized มากกว่า
ในขณะที่นักเทรด NFT ทั่วโลกมีแนวโน้มที่จะมินต์ (Mint) และซื้อขาย NFT แบบ On-chain ผ่านแพลตฟอร์ม OpenSea แต่ทว่าสำหรับชาวเกาหลีนั้นมีแนวโน้มว่าจะยังคงใช้งานผ่านแพลตฟอร์มแบบ Centralized มากกว่า แม้ว่าเครือข่าย Blockchain ของ Klaytn จะได้รับการพัฒนาในประเทศเกาหลีใต้ และเป็นเพียงแพลตฟอร์ม 1 ใน 3 แห่งที่รองรับตลาด OpenSea ก็ตาม แต่ทว่าปริมาณการซื้อขายก็ยังคงตามหลังตลาดของ Polygon และ Ethereum อยู่