NFT (Non-fungible Tokens) คืออะไร? เจาะลึกข้อมูล NFT

รวมข้อมูล NFT (Non-fungible Tokens) คืออะไร? NFT แตกต่างจากคริปโตอย่างไร? สามารถใช้ประโยชน์ด้านไหนบ้าง? อนาคต NFT จะเป็นอย่างไร? ติดตามได้ที่นี่!

NFT หรือ Non-fungible tokens หนึ่งในนวัตกรรมร่วมสมัยที่สำคัญที่สุดในด้านเทคโนโลยี และการเงินที่ตามหลังเทคโนโลยีบล็อกเชน และคริปโตเคอร์เรนซีมาติด ๆ นับได้ว่าเป็นปรากฏการณ์ที่สำคัญของโลกคริปโตที่ถูกขับเคลื่อนโดยนักลงทุนจำนวนมากจากการลงทุนหลาย ๆ แขนง วันนี้คริปโตสยามเลยได้รวมเอาข้อมูลเกี่ยวกับ NFT (Non-fungible Tokens) คืออะไร? NFT แตกต่างจากคริปโตอย่างไร? NFT มีประโยชน์หรือไม่? NFT มีข้อเสียไหม? และอนาคต NFT จะเป็นอย่างไร? ติดตามได้ในบทความนี้

NFT หรือ Non-fungible tokens คือ อะไร?

NFT หรือ Non-fungible tokens คือ สินทรัพย์ดิจิทัลประเภทหนึ่ง ซึ่งเป็นโทเคน หรือเหรียญที่มีลักษณะพิเศษเฉพาะตัว ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อแสดงกรรมสิทธิ์ในสินทรัพย์ และใช้แทนมูลค่า หรือสิ่งของบางอย่าง ซึ่ง NFT แต่ละรายการจะมีเนื้อหาที่ไม่ซ้ำกัน ไม่สามารถทำการคัดลอก หรือทำซ้ำ และไม่สามารถทำการแทนที่ด้วยเวอร์ชันที่เหมือนกันได้

ดังนั้นจึงสามารถเรียก NFT ได้ว่า เป็นสิ่งที่ ‘ไม่สามารถทดแทนกันได้’ หรือมีเพียงแค่ชิ้นเดียวในโลก การมีเอกลักษณ์เฉพาะตัว และอาจแสดงความเป็นเอกลักษณ์นั้นออกมา ทั้งในรูปแบบที่จับต้องได้ และจับต้องไม่ได้อย่างรูปแบบดิจิทัล เช่น งานศิลปะ ภาพวาด ภาพกราฟิก ของสะสม ของที่ระลึก วิดีโอ เพลง มีม ตัวละคร หรือไอเท็มในเกม รวมทั้งอสังหาริมทรัพย์ เป็นต้น นับได้ว่าเป็นวิธีการสากลสำหรับศิลปินในการแสดงความเป็นเจ้าของ ควบคุม และได้รับประโยชน์จากการสร้างสรรค์ผลงานออกมานั่นเอง

ตัวอย่าง NFT คอลเลคชั่น Bored Ape Yacht Club ภาพจาก Bored Ape Yacht Club
ตัวอย่าง NFT คอลเลคชั่น Bored Ape Yacht Club ภาพจาก Bored Ape Yacht Club

ความเป็นเอกลักษณ์ของ NFT

NFT เป็นนวัตกรรมที่โดดเด่น และมีคุณค่าที่เข้ามาเปลี่ยนแปลงโลก Digital art อย่างสิ้นเชิง ส่วนมากจะถูกสร้างขึ้นบนบล็อกเชน Ethereum โดยใช้มาตรฐาน ERC-721 และ ERC-1155 ด้วยฟีเจอร์เจ๋ง ๆ 3 อย่าง คือ

  1. Unique – NFT มีเอกลักษณ์ มีเพียงชิ้นเดียวในโลก NFT ทุกรายการจะมีข้อมูลระบุตัวตนโดยละเอียด เช่น วันเวลาที่สร้าง สร้างขึ้นโดยใคร มีธุรกรรมใดเกิดขึ้นบ้าง เป็นต้น ซึ่งข้อมูลเหล่านี้ช่วยพิสูจน์คุณค่า และความถูกต้องของงานศิลปะ หรือของสะสมทางกายภาพได้ 
  2. Rare – แม้ว่าเจ้าของ NFT จะทำการผลิตออกมาแบบไม่จำกัด แต่ทว่า NFT แต่ละรายการก็ไม่สามารถทดแทนกันได้ ยิ่งมีการจำกัดจำนวนของ NFT และอุปสงค์ที่สูงมากขึ้นเท่าไหร่ ก็ยิ่งทำให้ราคา NFT สูงขึ้นเท่านั้น จึงสามารถสร้างประโยชน์ให้กับผู้สร้างสรรค์ผลงานได้ ทั้งทางด้านมูลค่า และการแสดงความเป็นเจ้าของ
  3. Indivisible – NFT แต่ละรายการจะไม่สามารถแบ่งได้ แม้ว่าคุณจะเป็นเจ้าของ NFT นั้นก็ตาม ต้องซื้อขาย หรือครอบครองแบบเต็มจำนวนเท่านั้น โดยรายการการทำธุรกรรมทั้งหมดจะถูกบันทึกไว้บนบล็อกเชน (Blockchain) ซึ่งเป็นสาธารณะ แต่ไม่สามารถทำการลบ แก้ไข หรือดัดแปลงได้เลย

NFT แตกต่างจากคริปโตเคอร์เรนซีอย่างไร?

คริปโตเคอร์เรนซี (Cryptocurrencies) ตามหลักการทางเศรษฐศาสตร์แล้ว ถือว่าเป็นสินทรัพย์ที่สามารถทดแทนกันได้ รวมทั้งสกุลเงินเฟียต (Fiat currencies) ที่มีมากกว่าหนึ่งสกุลเงิน ซึ่งจะมีค่าเท่ากันเสมอ และสามารถทำการแลกเปลี่ยน ทดแทนกันได้

คริปโตเคอร์เรนซี และเงินเฟียตสกุลต่าง ๆ
คริปโตเคอร์เรนซี และเงินเฟียตสกุลต่าง ๆ

ส่วน NFT ที่ย่อมาจาก Non-fungible tokens นั้น คำว่า “Non-fungible” เป็นคำที่ใช้อธิบายถึงบางสิ่งบางอย่างที่ไม่เหมือนใคร และไม่สามารถแทนที่กันได้ ดังนั้น หากมีอุปสงค์ (Demand) หรือความต้องการครอบครองมากขึ้น ก็จะทำให้ NFT กลายเป็นสิ่งที่ค่ามากขึ้นทันที ด้วยปัจจัยนี้ ทำให้ NFT กลายเป็นของสะสมที่ล้ำค่า และเป็น Digital Art ที่มีบทบาทสำคัญในการผนวกงานศิลป์ และโลกออนไลน์เข้าไว้ด้วยกัน

กระบวนการทั่วไปของการสร้าง NFT บน Ethereum Blockchain ภาพจาก Medium
กระบวนการทั่วไปของการสร้าง NFT บน Ethereum Blockchain ภาพจาก Medium
คริปโตเคอร์เรนซี (Cryptocurrencies)NFT (Non-fungible tokens)
Fungible TokensNon-fungible tokens
ทุกเหรียญเหมือนกัน สามารถใช้แทนกันได้แต่ละเหรียญมีความแตกต่างกัน ไม่สามารถทดแทนกันได้ 
สามารถใช้แลกเปลี่ยน ซื้อสินค้า และบริการได้ไม่สามารถใช้แลกเปลี่ยน ซื้อสินค้า หรือบริการได้
นิยมใช้เป็นตัวกลางการชำระเงิน ทดแทนสกุลเงินเฟียตที่เป็นแบบ Centralized ดั้งเดิมเป็นที่นิยมในรูปแบบของของสะสม หรืองานศิลป์ สร้างมูลค่าได้ง่าย เพราะมีชิ้นเดียวในโลก 
สามารถแบ่งเป็นหน่วยย่อย หรือนำไปแบ่งขายได้เป็นการแสดงกรรมสิทธิ์ในการเป็นเจ้าของทรัพย์สิน ทำให้ไม่สามารถแบ่งเป็นหน่วยย่อย หรือนำไปแบ่งขายได้
ทุกเวอร์ชั่นที่ออกมา มีค่าเท่ากันเสมอยากต่อการคัดลอก ทำซ้ำ หรือปลอมแปลง ถึงแม้ว่าจะทำได้ แต่ก็ไม่เหมือนต้นฉบับ
สามารถทำการซื้อขายบนแพลตฟอร์มการเทรดคริปโตทั่วไปได้ต้องทำการซื้อขายบนแพลตฟอร์มสำหรับ NFT เท่านั้น เช่น Opensea, Raribel, Foundation, SuperRare เป็นต้น

ประโยชน์ของ NFT

Non-fungible tokens ชิ้นแรกอย่าง Rare Pepes ถูกสร้างขึ้นในปี 2014 บนบล็อกเชน Bitcoin แต่เพิ่งจะมีการนำ NFT มาใช้อย่างแท้จริงในปี 2017 บนบล็อกเชน Ethereum ซึ่งทำให้ Ethereum กลายเป็นตัวเลือกสำหรับการสร้างโครงสร้างพื้นฐาน และระบบนิเวศของ NFT ไปโดยปริยาย เนื่องจากฟังก์ชัน Smart Contracts จะช่วยสร้าง ตั้งโปรแกรม และจัดเก็บโทเค็นในตัวบล็อกเชนได้โดยตรง

Rare Pepes NFT ชิ้นแรกของโลกในปี 2014 ภาพจาก Rarepepes
Rare Pepes NFT ชิ้นแรกของโลกในปี 2014 ภาพจาก Rarepepes

หลังการระบาดใหญ่ของ COVID-19 ทำให้ผู้คนต้องอยู่ในโลกดิจิทัลมากขึ้น และเชื่อมต่อกันด้วยแพลตฟอร์มต่าง ๆ ในขณะนั้นมีการเกิดขึ้นของ Beeple หรือไมค์ วินเคิลมันน์ ศิลปินผู้สรรสร้างผลงาน NFT ที่ชื่อว่า Everydays: the First 5000 Days คนแรก ซึ่งผลการประมูล NFT ของเขา ปิดที่ราคา 69 ล้านดอลลาร์ นับแต่นั้นมาก็ถือว่าเป็นจุดเริ่มต้นของเทคโนโลยี NFT อื่น ๆ อย่าง Metaverse เช่น Decentraland และ CryptoVoxels และเกมบล็อกเชน เช่น Axie Infinity เป็นต้น

ดังนั้น NFT จึงถือว่าเป็นสินทรัพย์ยอดนิยมที่มีมูลค่าทางตลาดที่พุ่งสูงขึ้นอย่างรวดเร็วในเวลาอันสั้น ๆ ศิลปินที่มีชื่อเสียงสามารถขายผลงาน NFT Art ของตนเองได้ในมูลค่ามหาศาล เพราะเป็นของ Original ที่มีชิ้นเดียวในโลก ส่วนนักสะสมก็พึงพอใจในการได้สะสมผลงาน Original ของศิลปินที่ตนชื่นชอบเพียงผู้เดียว ไม่ว่าจะเป็นภาพวาด วิดีโอเกม เพลง การ์ดเกมต่าง ๆ ฯลฯ และไม่จำกัดเพียงแค่งานศิลป์เท่านั้น แต่ยังรวมไปถึงการเป็นทางเลือกใหม่ของการลงทุนที่สามารถซื้อขายโทเคน NFT เพื่อเก็งกำไรได้

นอกจากนี้ อุตสาหกรรมเกม Ply-to-Earn ก็ยังมีส่วนร่วมในการใช้ประโยชน์จาก NFT ด้วยเช่นกันอย่างอวาตาร์ สกิน หรือชุด อาวุธ เครื่องมือ และอุปกรณ์เสริมต่าง ๆ เพื่อให้ผู้เล่นมีความได้เปรียบ ถือว่าเป็นการสร้างแหล่งมูลค่าใหม่ ๆ ให้กับวงการเกมเป็นอย่างมาก

Beeple, Everydays – The First 5000 Days NFT Art ที่มีมูลค่ากว่า 69.3 ล้านดอลลาร์
Beeple, Everydays – The First 5000 Days NFT Art ที่มีมูลค่ากว่า 69.3 ล้านดอลลาร์

ข้อเสียของ NFT

  1. การขาย NFT ทำได้ค่อนข้างยากกว่า เพราะผู้คนต้องทำความเข้าใจในสิ่งใหม่ ๆ โดยเฉพาะด้านเทคโนโลยี เช่นเดียวกับเทคโนโลยีบล็อกเชนในช่วงแรก แต่ก็แสดงให้เห็นถึงศักยภาพของสกุลเงินดิจิทัลที่จะกลายเป็นส่วนหนึ่งของการเงินในชีวิตประจำวันของคนยุคใหม่อย่างแท้จริง
  2. ถึงแม้ว่าจะเป็นเทคโนโลยีใหม่ที่มีการพัฒนาอยู่เสมอ แต่ความนิยมของ NFT ก็ยังคงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องในระยะเวลาอันสั้น จึงต้องจับตามองว่า เทคโนโลยี NFT จะตอบสนองต่อฐานผู้ใช้งานได้อย่างไร และโครงสร้างพื้นฐานนั้นตอบโจทย์ของตลาดได้มากน้อยขนาดไหน
  3. NFT ส่วนใหญ่ทำงานบน Ethereum Blockchain ซึ่งทำให้เกิดความแออัด (Overwhelming Rate) เป็นสาเหตุของปัญหาการเข้าถึง NFT ที่ไม่ยุติธรรม อีกทั้งยังมีค่าธรรมเนียมการสร้าง NFT (Minting) ที่สูงมากด้วย

อนาคตของ NFT

ในอนาคตอันใกล้นี้ เราอาจจะได้เห็นผลิตภัณฑ์ที่ต่อยอดจาก NFT อย่างหลากหลาย และอุตสาหกรรมเติบโตด้วยเทคโนโลยีใหม่ ๆ ที่พัฒนาให้ใช้งานได้ง่ายขึ้น ทำให้มีความเป็น User friendly มากขึ้น แม้ว่าจะไม่มีความรู้ด้านเทคนิค หรือการเขียนโปรแกรม ซึ่งจะช่วยสร้างรายได้ (Passive Income) ให้กับผู้คน เช่นเดียวกับการลงทุนออมทรัพย์ หรือการฝากประจำดอกเบี้ยสูงนั่นเอง