ตีแผ่คลื่นลูกใหม่ของวงการ DeFi กับ SushiSwap
ต่อเนื่องจากUniswap แพลตฟอร์ม Sushiswap เติบโตอย่างก้าวกระโดดหลังมูลค่า Pool แตะหลักพันล้านเรียบร้อยแล้ว
ต่อเนื่องจากUniswap แพลตฟอร์ม Sushiswap เติบโตอย่างก้าวกระโดดหลังมูลค่า Pool แตะหลักพันล้านเรียบร้อยแล้ว
กระแส DeFi
ในช่วงที่ผ่านมาคงปฎิเสธไม่ได้ว่ากระแสของเงินในวงการคริปโตนั้นได้ไหลเข้าสู่วงการ DeFi อย่างรวดเร็วตามการเติมโตของโครงการต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นผลิตภัณฑ์ทาการเงิน เช่น การปล่อยกู้เป็นคริปโต หรือแม้แต่บริการที่คุ้นหูอย่าง Yield Farming หรือ Liquidity Farming ซึ่งเป็นการใช้ประโยชน์จากคริปโตที่ถือไว้โดยการนำเข้าสู่แพลตฟอร์มในการใช้ประโยชน์จากเหรียญที่ลงไว้ในระบบและคืนกำไรให้กับนักลงทุน ล่าสุดนั้น Sushiswap นั้นมีมูลค่าสินทรัพย์ใน Pool แตะหลักพันล้านดอลลาร์เรียบร้อยแล้ว
รู้จักกับ Uniswap ก่อน
เพื่อที่จะเข้าใจกระแสการเติบโตของวงการ DeFi มากขึ้นโดยเฉพาะกระแสล่าสุดของแพลตฟอร์มอย่าง Sushiswap เราจำเป็นที่จะต้องทำความเข้าใจกับแพลตฟอร์มต้นฉบับอย่าง Uniswap ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มการซื้อขายแลกเปลี่ยนแบบ decentralized ซึ่งดำเนินการอยู่บนเครือข่าย Blockchain ก่อน
โดย Uniswap ซึ่งถูกสร้างบน Ethereum นั้นใช้งานโปรโตคอลการจับคู่การซื้อขายแบบ automated market-making (AMM) ซึ่งแตกต่างจากการจัดการแบบ Order Book อย่างที่ใช้บน Binance ระบบ AMM ซึ่งใช้บน Uniswap นั้นแตกต่างจากระบบ Order Book ตรงที่ระบบดังกล่าวนั้นจะเริ่มต้นจากการที่ผู้ถือเหรียญ/นักลงทุนนั้นใส่สินทรัพย์หรือเหรียญของตัวเองลงใน liquidity Pool ของแพลตฟอร์มเพือรับค่าธรรมเนียมหรือแลกเปลี่ยนเป็นสินทรัพย์ประเภทอื่นกลับมานั่นเอง
กระแส SushiSwap
Sushiswap เป็นการพัฒนาแยกออกมาจากแนวคิดเดิมของ Uniswap โดยที่โปรโตคอลของ Sushiswap นั้นมีจุดเด่นอยู่ที่การให้นังลงทุนผู้ถือเหรียญของแพลตฟอร์มอย่างเหรียญ SUSHI นั้นได้สิทธิในการเป็นเจ้าของแพลตฟอร์มและได้รับค่าธรรมเนียมการดำเนินการที่เกิดขึ้นบนแพลตฟอร์ม อีกทั้งผู้ถือเหรียญยังสามารถสามารถที่จะส่งข้อเสนอแนะทิศทางในการพัฒนาแพลตฟอร์มได้อีกด้วย ซึ่งจุดเด่นทางด้านการบริหารแพลตฟอร์ม (Governance) นี้ทำให้ Sushiswap โดดเด่นขึ้นมาท่ามกลางผู้เล่นจำนวนมากในตลาด
เหรียญ SUSHI นั้นจะถูกแจกจ่ายไปยังผู้เข้าร่วม Liquidity Mining บนแพลตฟอร์มเพื่อเพิ่มขนาดให้แก่ Liquidity Pool (LP) และรักษาเสถียรภาพในการแลกเปลี่ยนเหรียญในระบบแบบ AMM โดยผู้ที่ลงทุนใน Pool บางประเภทบน Uniswap นั้นจะได้รับเหรียญ Uniswap LP ที่สามารถนำไปลงในแพลตฟอร์ม Sushiswap เพื่อได้รับเหรียญ SUSHI ออกมาได้นั่นเอง ยิ่งไปกว่านั้น Pool ของเหรียญ SUSHI อย่าง SUSHI-ETH นั้นยังมีนโยบายเพิ่มรางวัลแก่ผู้ลงทุนมากกว่า Pool อื่นๆถึงสองเท่าอีกด้วย
ก้าวต่อไปของ Sushiswap
เนื่องจากการออกเหรียญเริ่มแรกของแพลตฟอร์ม Sushiswap นั้นออกบน Ethereum ผ่านทาง Uniswap ดังนั้นเหรียญดังกล่าวจึงต้องได้มาผ่านการ Swap ใน Liquidity Pool ของทาง Uniswap ก่อน แต่ทั้งนี้เหรียญดังกล่าวนั้นกำลังอยู่ในขั้นตอนการย้ายแพลตฟอร์ม ซึ่งเมื่อพ้นช่วงสองสัปดาห์แรกไปแล้วเหรียญที่อยู่ใน Pool เดิมนั้นจะถูกย้ายมาอยู่บนแพลตฟอร์มของ Sushiswap ทั้งหมด ส่งผลให้แพลตฟอร์มสามารถดำเนินการเป็น Exchange ได้อย่างสมบูรณ์นั่นเอง
อย่างไรก็ตามในปัจจุบันนี้ แพลตฟอร์ม Sushiswap นั้นยังเป็นโครงการที่ยังไม่ได้รับการตรวจสอบแต่อย่างใด อีกทั้งยังมีข้อสังเกตหลายประการทั้งในเรื่องของ Wallet ซึ่งใช้ในการดำเนินการเบื้องหลังนั้นเป็น Wallet ส่วนตัวของผู้ดูแลระบบ หรือแม้แต่ความเสี่ยงที่มาพร้อมกับข้อผิดพลาดในระบบ Smart Contract อีกด้วย นอกจากนี้การที่แพลตฟอร์มดังกล่าวอยู่บนเครือข่าย Ethereum ทำให้การดำเนินการต่างๆได้รับผลกระทบจากค่าธรรมเนียมระบบหรือ Gas Fee ที่สูงมากอีกด้วย
ทาง Cryptosiam จะนำเสนอข่าวและบทความเกี่ยวกับกระแสการเติบโตของวงการ DeFi เพิ่มเติมในรายละเอียดเร็ว ๆ นี้ หากสนใจสามารถติดตามได้ทางหน้าเว็บไซต์ Cryptosiam.com