🇺🇸 United States

Brian Armstrong เผย! นโยบายต่อต้านคริปโต ถือเป็น 'กลยุทธ์' การหาเสียงที่แย่ที่สุด

สำเนาของ Rectangle Template   2023 12 20 T180606.872

ซีอีโอ Coinbase โพสต์เดือด! ชี้ 'นโยบายต่อต้านคริปโต'ถือเป็น 'กลยุทธ์ทางการเมือง' ที่แย่มากสำหรับการหาเสียงในปี 2024 - พร้อม 4 เหตุผลประกอบ

วันที่ 19 ธันวาคม Brian Armstrong ซีอีโอ Coinbase ได้มีการออกมาแสดงความเห็นเกี่ยวกับนโยบายต่อต้านคริปโต ของนักการเมืองบางคน ว่าเป็นกลยุทธ์ทางการเมืองทีแย่มาก สำหรับนำมาใช้ในการหาเสียงเลือกตั้งในปี 2024 นี้

นอกจากนี้ ภายในโพสต์ดังกล่าว เขายังได้ทำการแชร์วีดีโอแถลงการณ์หาเสียงของวุฒิสมาชิก Roger Marshall ที่พูดถึงนโยบายการ ออกกฎหมายแบนคริปโต พร้อมให้ความเห็นว่า

กลยุทธ์การล็อบบี้ธนาคารยักษ์ใหญ่ของทั้งสองวุฒิสมาชิก Warren และ Marshall เพื่อชูนโยบายการ 'แบน' สกุลเงินดิจิทัล นั้นถือเป็นกลยุทธ์การเมืองในปี 2024 ที่แย่ที่สุด

4 เหตุผลสำคัญ

นอกจากนี้ Brian Armstrong ยังได้ให้เหตุผล ที่ทำไมนโยบายต่อต้านคริปโต นั้นเป็นสิ่งที่ไม่ควรนำมาใช้ในการหาเสียงมากที่สุด โดยแบ่งเป็น 4 เหตุผลได้แก่

  1. ในปัจจุบัน มีประชากรอเมริกันกว่า 52 ล้านคนที่กำลังใช้คริปโต
  2. คนหนุ่มสาวกว่า 38% ในประเทศต่างพูดเป็นเสียงเดียวกัน ว่าคริปโตจะช่วยเสริมสร้างโอกาสทางเศรษฐกิจให้กับประเทศ
  3. มีชาวอเมริกันเพียง 9% เท่านั้นที่ยังพึงพอใจกับระบบการเงินในปัจจุบัน
  4. ราคาคริปโตเพิ่มขึ้นถึง 90% ภายใน 1 ปี

ถึงแม้ในโพสต์ Brian Armstrong จะไม่ได้มีแหล่งอ้างอิงข้อมูลอย่างชัดเจนมากนัก แต่คาดว่าข้อมูลที่เขานำมาพูดนั้น ส่วนใหญ่มาจากรายงานของ Coinbase เมื่อเดือนตุลาคม 2023 ที่ประกอบไปด้วยผลสำรวจของสำนักงาน Morning Consult

ครั้งนี้คงต้องรอดูกันต่อไป ว่าท้ายที่สุดแล้ว ชาวอเมริกันส่วนใหญ่ จะตัดสินใจเลือกผู้นำที่สนับสนุนหรือต่อต้านคริปโต ให้เข้ามาบริหารประเทศ ต่อไปอีก 2 ปี

ที่มา: Cointelegraph

ติดตาม CryptoSiam
เพื่อให้ไม่พลาด ทุกข่าวสาร วงการคริปโต
ข่าวต่อไป

บทความที่เกี่ยวข้อง

เหรียญคริปโตกลุ่ม AI และ Big Data พุ่งทะยาน 131% ท่ามกลางกระแสขาขึ้นของ Bitcoin
Bitcoin พลิกเกม! MicroStrategy กำไรพุ่งทะลุเพดาน แซงหน้า Apple, Amazon
Sky เปิดตัว USDS Stablecoin ตัวใหม่! บน Solana พร้อมอัดฉีดสภาพคล่องกว่า 5 แสนดอลลาร์
BlackRock Bitcoin ETF Options สร้างสถิติใหม่! มียอดซื้อขายวันแรกทะลุ 1.9 หมื่นล้านดอลลาร์