General

ประเทศไทยจะควบคุมการชำระเงินด้วยคริปโตอย่างเป็นทางการ

The Rise of Bitcoin and Cryptocurrency in Thailand.jpg

ล่าสุดธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) และกระทรวงการคลังระบุว่า การใช้คริปโตในการชำระเงินอาจเป็นภัยคุกคามต่อภาคการเงินของประเทศ

หน่วยงานกำกับดูแลภาคการเงินของประเทศไทยกำลังวางแผนที่จะควบคุมการชำระเงินโดยใช้คริปโตเคอร์เรนซี

ล่าสุดธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) และกระทรวงการคลังระบุว่า การใช้สกุลเงินดิจิทัลในการชำระเงินอาจเป็นภัยคุกคามต่อภาคการเงินของประเทศ

ทุกวันนี้แม้ว่าบริษัทและร้านค้าต่างๆ จะยอมรับการใช้สกุลเงินดิจิทัลอย่างแพร่หลายในฐานะรูปแบบการชำระเงิน แต่หน่วยงานกำกับดูแลเผยว่า จำเป็นต้องให้ความสำคัญกับการปกป้องผู้บริโภค

นอกจากนี้ หน่วยงานกำกับดูแลยังระบุด้วยว่า พวกเขาได้ทบทวนข้อดีและข้อเสียของสกุลเงินดิจิทัลในการชำระเงิน และความเสี่ยงจากความผันผวนของราคา อาชญากรรมทางอินเทอร์เน็ต ความเป็นส่วนตัวของข้อมูล และการฟอกเงิน

แถลงการณ์ระบุว่า “เมื่อตระหนักถึงความเสี่ยงและผลกระทบดังกล่าวแล้ว หน่วยงานกำกับดูแลจะพิจารณาการใช้อำนาจตามกรอบกฎหมายที่เกี่ยวข้อง เพื่อจำกัดการใช้สินทรัพย์ดิจิทัลอย่างกว้างขวางเป็นวิธีการชำระเงินค่าสินค้าและบริการ”

รื่นวดี สุวรรณมงคล เลขาธิการ ก.ล.ต. เผยว่า นอกเหนือจากการควบคุมอุตสาหกรรมคริปโตแล้ว หน่วยงานยังมีภาระหน้าที่ในการส่งเสริมการพัฒนาธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล ควบคู่ไปกับการคุ้มครองผู้บริโภคด้วย อย่างไรก็ตาม หน่วยงานกำกับดูแลไม่ได้เปิดเผยว่าจะออกกฎระเบียบเมื่อใด

การเพิ่มกฎระเบียบของภาคคริปโตของประเทศไทย

ประเทศไทยถือว่าเป็นตลาดสกุลเงินดิจิทัลที่สำคัญ ด้วยเหตุนี้หย่วยงานกำกับดูแลจึงให้ความสำคัญกับการออกกฎหมายสำหรับภาคส่วนนี้มากขึ้น

เมื่อเร็ว ๆ นี้ กระทรวงการคลังวางแผนที่จะเก็บภาษี 15% สำหรับกำไรจากการซื้อขายสกุลเงินดิจิตอล

เมื่อเดือนธันวาคมที่ผ่านมา ธปท. ยังได้เตือนธนาคารไม่ให้มีส่วนร่วมโดยตรงกับแพลตฟอร์มการซื้อขายสกุลเงินดิจิทัล ธนาคารอ้างถึงความเสี่ยงต่าง ๆ เช่น ความผันผวนของตลาด

เมื่อเดือนพฤศจิกายน 2021 ที่ผ่านมา สำนักงาน ก.ล.ต. ระบุว่า ธุรกรรมสกุลเงินดิจิทัลในประเทศมีมูลค่าถึง 205 ล้านบาท หรือ 6 ล้านดอลลาห์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเดือนดังกล่าว ราคาบิทคอยน์ ทำสถิติสูงสุดเป็นประวัติการณ์เกือบ 68,000 ดอลลาห์

ธปท. ยังระบุอีกว่า สินทรัพย์ดิจิทัลกลุ่มแรก ๆ ที่อาจจะมีการอนุญาตให้นำมาชำระสินค้าและบริการได้ในอนาคตคือ Stablecoins ที่ถูกหนุนด้วยเงินบาท เพราะมีความผันผวนน้อยและมีความใกล้เคียงกับ E-Money ซึ่งหน่วยงานจะออกกฎเกณฑ์เพื่อควบคุม Stablecoins อีกครั้ง

ติดตาม CryptoSiam
เพื่อให้ไม่พลาด ทุกข่าวสาร วงการคริปโต
ข่าวต่อไป

บทความที่เกี่ยวข้อง

นักวิเคราะห์ดัง เผย! Cardano มีแนวโน้มขึ้นไปทำ All Time High ใหม่ได้!
พบ 'วาฬ' Arbitrum เริ่มโยกเหรียญกว่า 34 ล้านโทเค็น เข้าสู่กระดานเทรด
Nayib Bukele ประกาศโยก Bitcoin ทั้งหมดของประเทศเข้า 'Cold Wallet'